ภารกิจพา สกสว. ก้าวสู่องค์กรภาครัฐแห่งอนาคต
ภารกิจพา สกสว. ก้าวสู่องค์กรภาครัฐแห่งอนาคต
ประเทศไทยมีหน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมนับตั้งแต่ 30ปีที่แล้วแต่ที่ผ่านมาหลายๆส่วนยังไม่มีการทำงานที่เป็นระบบ และยังไม่ไปในทิศทางเดียวกันมากนัก จนเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา จึงมีการปฏิรูปแบบระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศครั้งใหญ่ พร้อมกับการก่อตั้ง สกสว. หรือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและเพื่อให้การปฏิรูปครั้งนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สกสว. จึงต้องปฏิรูปองค์กรครั้งใหญ่เช่นกัน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไร มาทำความเข้าใจกับผศ. เชิญโชค ศรขวัญ รองผู้อำนวยการ สกสว. ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักบริหารและพัฒนาองค์กร ได้จากบทความนี้
ผศ. เชิญโชคได้กล่าวถึงสาเหตุที่ต้องปฏิรูปองค์กรว่า สิ่งสำคัญที่สุดคือเราอยากส่งมอบคุณค่าให้กับระบบ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศซึ่งการจะส่งมอบคุณค่าให้ได้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สุด ต้องอาศัยโครงสร้างขององค์กรเป็นพื้นฐานหลักแล้วนำสู่การปรับกลยุทธ์ใหม่ เมื่อมีโครงสร้างที่ดีก็จะสนับสนุนกลยุทธ์ที่ดีได้ในที่สุด
“การเปลี่ยนแปลงองค์กรภาครัฐ หลายคนอาจมองว่ายาก แต่จริง ๆ แล้วผมมองว่าคือความท้าทาย”
เราอาจไปยึดติดกับเรื่องของกฎระเบียบ ข้อบังคับ แต่สิ่งสำคัญคือเมื่อรู้เป้าหมาย เมื่อมีกลยุทธ์ที่ดีเพื่อตอบวิสัยทัศน์ที่ดีแล้วปรับโครงสร้างเมื่อมีอะไรติดขัดในแง่กฎระเบียบ ข้อบังคับ คงเป็นประเด็นที่สำคัญที่ต้องมีการปรับเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่าเอาเรื่องของกฎระเบียบ ข้อบังคับ มาเป็นตัวกั้น แต่ต้องเอาเป้าหมายเป็นจุดหลักเพราะสิ่งสำคัญคือการส่งมอบคุณค่า “ระบบ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” และ ทำให้เกิด Outcomeหรือ ผลลัพธ์ ให้ได้มากที่สุด สำหรับองค์กรภาครัฐทุก ๆ องค์กร ผมคิดว่าถ้าเราตั้งเป้าหมายเพื่อทำให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติแล้ว เรื่องกฎระเบียบข้อบังคับจะสามารถปรับปรุงได้อยู่เสมอ
ผศ. เชิญโชคได้กล่าวถึงการขับเคลื่อนองค์ภาครัฐว่า เราขับเคลื่อนไปสู่ระบบ Agile Organizationคำว่าAgile คือความคล่องตัว ปรับเปลี่ยนง่าย นี่คือสิ่งสำคัญ แต่เมื่อเราปรับเปลี่ยนอะไรแล้ว ย่อมจะกระทบอีกอย่างหนึ่งแน่นอน เวลาปรับเปลี่ยนเราจะต้องดูที่ 6 องค์ประกอบ คือ
1. Strategyหรือ กลยุทธ์
2. Structureหรือ โครงสร้าง
3. Systemหรือ ระบบ เราต้องปรับระบบให้รองรับกับโครงสร้าง
4. Staffหรือ บุคลากร เมื่อโครงสร้างและระบบดีแล้ว คนของเราก็ต้องพัฒนาด้วย
5. Styleดูเรื่องสไตล์ของการทำงานและบริหารจัดการ
6. Skillทักษะของผู้บริหารและบุคลากรจะต้องมีการปรับไปพร้อม ๆ กัน
สิ่งสำคัญที่ยึดโยง 6 องค์ประกอบไปพร้อม ๆ กัน คือ Share Value หรือ Core Valueค่านิยมร่วมขององค์กร และทำงานภายใต้ระบบ Matrix Organizationคือต้องทำงานร่วมกัน มีการบูรณาการ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างเป็นสำนักทำตามพันธกิจภารกิจเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ มีการทำงานประสานทุกสำนักร่วมกัน มีการส่งทีม ส่งคนเข้ามาทำงานร่วมกันให้เกิดการบูรณาการ มองไปที่เป้าหมายขององค์กร แล้วบอกว่าเป้าหมายนี้จะมีกลุ่มภารกิจ หรือสำนักไหน เข้ามาร่วมกันทำ หรือที่เรียกว่า Scrum Team เราจะทำงานแบบ Scrum ที่ไม่ใช่การรุมสกรัมแบบไม่มีทิศทาง แต่เราสกรัมแบบมีแพทเทิน มีทิศทางที่ดีลดการทำงานแบบไซโล เพิ่มการทำงานแบบบูรณาการให้มากขึ้น
แผนตอนนี้อยู่ในระยะแรก ด้านโครงสร้างเสร็จแล้ว ระยะที่สองกำลังดำเนินการในเรื่องของสตาฟสิ่งสำคัญที่สกสว. พยายามคือการสร้างคือShare Value หรือ Mindset เรากำลังทำการเทรนนิ่งเพื่อความเข้าใจในเรื่องการบริการจัดการแบบ Agile Organization มากขึ้น น่าจะเสร็จสมบูรณ์ประมาณเดือนกันยายน ระบบจะเป็นแบบไดมามิค ที่สามารถปรับตัวได้ตลอดเวลา
เมื่อ สกสว. ปรับเปลี่ยนระบบทั้งหมด จะเกิดประโยชน์อะไรขึ้นกับประเทศ?
ต้องย้อนกลับไปถามว่า ทำไมต้องมี สกสว. คำถามนี้สำคัญมากสกสว. มีขึ้นเพื่อนำนโยบายของประเทศและภาครัฐไปปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด ทั้งในแง่ของการใช้จ่ายงบประมาณ ในแง่ของการทำให้เกิดImpact กับ Outcome เพราะฉะนั้นการปรับโครงสร้างองค์กรก็ทำเพื่อตอบโจทย์ตรงนี้ เมื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างเรียบร้อย สกสว.จะสามารถเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูงในการทำให้นโยบายภาครัฐลงสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ทำให้ขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(ววน.) ได้อย่างมีคุณค่าสูงสุด นั่นคือเป้าหมายที่สกสว.ตั้งใจไว้
ผศ. เชิญโชคได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า ปัจจัยความสำเร็จสูงสุดของการปรับเปลี่ยนคือ Mindsetถ้าทุกอย่างดีหมด แต่ Mindsetคนยังยึดติดในระบบเดิม ในสิ่งที่เคยทำมา อันนี้ไม่มีทางสำเร็จการจะปรับMindsetได้ก็ต้องมีกระบวนการ ผมเชื่อว่าโดยธรรมชาติ คนเราเกิดมาอยากพัฒนา เพราะงั้นถ้าคนอยากพัฒนา เราสามารถไปชี้แจงได้ว่าสิ่งที่เรากำลังทำคือการพัฒนาทั้งตัวเขาเองรวมถึงองค์กรด้วย แบบนี้เขาพร้อมจะเปลี่ยน แต่ถ้าไปบังคับว่าต้องเปลี่ยนอันนี้คงยาก คนก็จะมองว่าทำไมต้องเปลี่ยนในเมื่อเราอยู่สบายใน Comfort Zone ของตัวเองอยู่แล้ว แต่ถ้าเราไปบอกเขาว่า เรากำลังจะก้าวไปจุดนี้ แล้วการก้าวไปจุดนี้คือการพัฒนาตัวคุณเองและองค์กรด้วยนะ ซึ่งเมื่อพวกเขามีความเชื่อเหล่านั้นแล้วก็จะทำให้องค์กรขับเคลื่อนไปตามเป้าหมายได้ในที่สุด