ประชาสัมพันธ์

PEA แนะติดตั้ง "เครื่องตัดไฟรั่ว" (RCD) ป้องกันอันตรายจากเครื่องใช้ไฟฟ้า

PEA แนะติดตั้ง "เครื่องตัดไฟรั่ว" (RCD) ป้องกันอันตรายจากเครื่องใช้ไฟฟ้า

08 ธ.ค. 2564

อันตรายที่เกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถทำให้ถึงแก่ชีวิต PEA แนะนำให้ติดตั้ง RCD (ResidualCurrentDevice) เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

เครื่องใช้ไฟฟ้าคือสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันแต่อันตรายที่เกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถทำให้ถึงแก่ชีวิต PEA แนะนำให้ติดตั้ง RCD เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

"เครื่องตัดไฟรั่ว" RCD (RCD - ResidualCurrentDevice)คือเครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติที่จะตัดวงจรเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านสายเฟสและสายนิวทรัลมีค่าไม่เท่ากันประโยชน์ของเครื่องตัดไฟรั่ว

  • ใช้เพื่อป้องกันอันตรายต่อบุคคลจากการถูกไฟฟ้าดูด
  • ใช้เพื่อป้องกันอัคคีภัยที่อาจเกิดจากไฟฟ้ารั่วในวงจรไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า
  • ใช้เพื่อตรวจสอบว่ามีจุดใดกระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน จะได้แก้ไขต่อไป

 

เครื่องตัดไฟรั่วมีทั้งหมด 2 ชนิด

1. RCBO (Residual current circuit breaker with overcurrent protection) :

สามารถใช้ตัดวงจรได้ทั้งกรณีเกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว, กระแสไฟฟ้าเกิน และกระแสไฟฟ้าลัดวงจร


2. RCCB (Residual current circuit breaker) :

สามารถใช้ตัดวงจรได้เฉพาะกรณีเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วอย่างเดียว จึงมักต้องติดตั้งร่วมกับฟิวส์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์เสมอ

ตำแหน่งในการติดตั้งใช้งาน

  •  ติดตั้งที่แผงเมนสวิตช์ เช่น ติดตั้ง RCBO แทนเซอร์กิตเบรกเกอร์เมน กรณีนี้จะมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันอัคคีภัยเป็นหลัก
  • ติดตั้งที่วงจรย่อย เช่น ติดตั้ง RCCB กรณีนี้จะมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันอันตรายต่อบุคคลจากการถูกไฟฟ้าดูดเป็นหลัก

 

เครื่องตัดไฟรั่วต้องเป็นไปตามข้อกำหนดดังนี้

1. ต้องผลิตและผ่านการทดสอบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เครื่องตัดไฟรั่วชนิด RCBO มอก. 909-2548 หรือ เครื่องตัดไฟรั่วชนิด RCCB มอก. 2425-2552
ต้องมีพิกัดกระแสไฟฟ้ารั่วไม่เกิน 30 มิลลิแอมแปร์ เพื่อป้องกันอันตรายต่อบุคคลจากการถูกไฟฟ้าดูด

 

2. ติดตั้งร่วมกับสายดิน เพราะสายดินจะช่วยนำไฟฟ้าที่รั่ว ไหลลงดินโดยไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อคนที่สัมผัส และช่วยให้อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน (เซอร์กิตเบรกเกอร์) รวมทั้ง RCD สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ติดตั้งในวงจรย่อยที่มีความเสี่ยง เช่น บริเวณที่เปียกชื้น ห้องน้ำ ห้องอาบน้ำ ห้องครัว ห้องใต้ดิน วงจรไฟฟ้าภายนอกอาคาร รวมถึงวงจรย่อยสำหรับ เครื่องทำน้ำอุ่น/อ่างอาบน้ำ

 

4. RCD ต้องมีพิกัดกระแสไม่น้อยกว่า พิกัดกระแสของเครื่องป้องกันกระแสเกินต้องเป็นชนิดที่ปลดสายไฟทุกเส้นออกจากวงจรรวมทั้งสายนิวทรัล ยกเว้นสายนิวทรัลนั้นมีการต่อลงดินโดยตรงแล้ว

 

5. กรณีต้องการป้องกันอัคคีภัย อาจติดตั้ง RCD ที่ตำแหน่งหลังจากเซอร์กิต เบรกเกอร์เมน โดยเลือก RCD ขนาดพิกัดกระแสรั่วมากกว่า 30 mA (เช่น 100 mA หรือ 300 mA) และควรเป็นชนิดหน่วงเวลา (type S)

 

6. ควรตรวจสอบการทำงานของ RCD อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยทุก 6 เดือน โดยกดที่ปุ่มทดสอบการทำงาน (Test Button) ที่ RCD