โคก หนอง นาโมเดล ทางรอดสู่ "ความยั่งยืน" ด้วย "ความพอเพียง"
กฟผ. จัดตั้งศูนย์ศึกษาและพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ชุมชนได้เรียนรู้และลงมือทำจริงเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน
ในวันที่ทั่วโลกเผชิญกับการล็อคดาวน์อย่างหนัก ต้องกักตัวจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การดำเนินชีวิตประจำวันที่เคยเป็นเรื่องง่าย ๆ อย่างการออกไปหาซื้ออาหารก็กลับกลายเป็นเรื่องยุ่งยาก จนนำมาสู่จุดเปลี่ยนของใครหลายคนที่ต้องการหันมาพึ่งพาตนเองเพื่อเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นทางรอดในวันที่ทั่วโลกเผชิญกับการล็อคดาวน์อย่างหนัก ต้องกักตัวจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การดำเนินชีวิตประจำวันที่เคยเป็นเรื่องง่าย ๆ อย่างการออกไปหาซื้ออาหารก็กลับกลายเป็นเรื่องยุ่งยาก จนนำมาสู่จุดเปลี่ยนของใครหลายคนที่ต้องการหันมาพึ่งพาตนเองเพื่อเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นทางรอด
"โคก หนอง นา โมเดล" ถือเป็นแนวคิดในการออกแบบพื้นที่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งรัชกาลที่ 10 ทรงสืบสาน รักษา และต่อยอด โดยเป็นการทำเกษตรในพื้นที่จำกัด กักเก็บน้ำไว้ทั้งบนดินและใต้ดิน แต่สามารถสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นอย่างเห็นผล การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงจัดตั้งศูนย์ศึกษาและพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ 7 เขื่อนพระนาม 3 โรงไฟฟ้า ได้แก่ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ เขื่อนวชิราลงกรณ และเขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ และเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง โรงไฟฟ้าบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา และโรงไฟฟ้าวังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ "โคก หนอง นา โมเดล" ในการจัดสรรที่ดินสำหรับบริหารจัดการน้ำและพื้นที่ทำการเกษตร เปลี่ยนแนวคิดสู่การทำเกษตรอินทรีย์แบบไม่ใช้สารเคมี และสร้างความเข้าใจในการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมโดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง
สองตาดูหรือจะเท่าลงมือทำ
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ กฟผ. มุ่งเน้นให้ผู้ที่เข้ามาศึกษาได้เรียนรู้และลงมือทำจริงเพื่อให้เกิดความเข้าใจ สามารถนำไปต่อยอดประยุกต์ใช้ได้จริงในพื้นที่ของตัวเอง ยกตัวอย่างที่เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี ได้จำแนกฐานการเรียนรู้ออกเป็น 9 ฐาน แบ่งเป็น
ด้านอาหาร มีทั้งหมด 5 ฐาน ได้แก่ ฐานคนรักษ์แม่โพสพ เรียนรู้การการปลูกข้าวนาดอนโดยใช้ข้าวพื้นเมืองพันธุ์ซอคาและแยแหของกลุ่มกสิกรรมธรรมชาติบ้านปิล็อกคี่ ฐานไม้ผลท้องถิ่น จัดแสดงการปลูกไม้ผลท้องถิ่นของอำเภอทองผาภูมิ อาทิ เงาะทองผาภูมิ ทุเรียนก้านยาวทรงหวดทองผาภูมิ ฐานคนรักษ์ป่า เรียนรู้การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง และการปลูกไม้ 5 ระดับ ฐานคนรักษ์สุขภาพ เรียนรู้สรรพคุณของพืชสมุนไพร ฐานคนรักษ์แม่ธรณี เรียนรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพจากแนวคิด "เลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช" ช่วยให้การเพาะปลูกได้ผลผลิตดี
ด้านน้ำ จำนวน 2 ฐาน ได้แก่ ฐานคนรักษ์น้ำ เรียนรู้การจัดการน้ำโดยหลักธรรมชาติ อาทิ การขุดคลองไส้ไก่ การทำฝายน้ำล้น และฝายถาวร และฐานคนมีน้ำยา เรียนรู้วิธีการทำน้ำยาเอนกประสงค์จากจุลินทรีย์เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
ด้านพลังงาน จำนวน 2 ฐาน คือ ฐานคนมีไฟ เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้โซลาร์เซลล์สำหรับการเกษตร และฐานคนเอาถ่าน เรียนรู้การทำถ่านธรรมชาติและประโยชน์ของน้ำส้มควันไม้ในการไล่แมลง
"กฟผ. ตั้งใจขับเคลื่อนศูนย์ศึกษาและพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 10 แห่ง เพื่อให้ชุมชนได้เรียนรู้และลงมือทำจริง ก่อนที่จะนำไปพัฒนาต่อยอดในพื้นที่ของตนเอง ทำให้ชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยืน" ดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ กฟผ. กล่าวย้ำถึงความตั้งใจของ กฟผ.
เรียนรู้จากปราชญ์ท้องถิ่น ต่อยอดด้วยภูมิปัญญา
"โคก หนอง นา โมเดล เป็นทางรอด ไม่ใช่ทางเลือก" นี่คือคำพูดแรกที่ ทูคือ ยินดี ประธานกลุ่มกสิกรรมธรรมชาติปิล็อกคี่ช เพราะเดิมชาวปกาเกอะญอในหมู่บ้านปิล็อกคี่จะทำเกษตรเชิงเดี่ยวและใช้สารเคมี ทำให้ดินชเสื่อมโทรม ได้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควรเพราะขาดแคลนน้ำ ประกอบกับพื้นที่ในการเพาะปลูกมีอยู่อย่างจำกัด แต่เมื่อคนในชุมชนหันมาเรียนรู้หลักการโคก หนอง นาโมเดล จึงร่วมกันเอามื้อสามัคคีทำฝายชะลอน้ำ ขุดนาขั้นบันได ปลูกผักผลไม้ต่าง ๆ และเลิกใช้สารเคมีในการทำเกษตร
ปัจจุบันทูคือเป็นหนึ่งในปราชญ์ท้องถิ่นที่มาร่วมเป็นวิทยากรให้กับศูนย์ศึกษาและพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเขื่อนวชิราลงกรณเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับโคก หนอง นาโมเดลที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของ จ.กาญจนบุรี
"ผมเชื่อว่าการจัดตั้งศูนย์นี้ที่เขื่อนวชิราลงกรณจะเป็นประโยชน์กับคนในพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่มีบัตรประชาชนก็จะมีโอกาสเข้ามาเรียนรู้และได้ลงมือทำจริง" ทูคือ กล่าวทิ้งท้าย
การน้อมนำศาสตร์พระราชาตาม หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตจึงไม่เพียงทำให้คนในชุมชนสามารถกลับพึ่งพาตนเอง มีของกิน ของใช้ และที่อยู่อาศัยเท่านั้น หากแต่ยังทำให้สภาพแวดล้อมทั้งดินและน้ำดีขึ้น มีอากาศที่บริสุทธิ์ โดยทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ได้พื้นที่สังคมเมืองและสังคมชนบทเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน