ประชาสัมพันธ์

สิงห์อาสา ร่วมกับ คณะเกษตรศาสตร์ มข. สร้างแหล่งน้ำชุมชม  บริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนภาคอีสาน เริ่มที่แรก จ.ขอนแก่น

สิงห์อาสา ร่วมกับ คณะเกษตรศาสตร์ มข. สร้างแหล่งน้ำชุมชม บริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนภาคอีสาน เริ่มที่แรก จ.ขอนแก่น

21 พ.ค. 2565

โครงการ “สิงห์อาสาสร้างแหล่งน้ำชุมชนอย่างยั่งยืน” สร้างบ่อน้ำเพื่อเป็นแหล่งน้ำให้ชาวบ้านไว้ใช้ตลอดทั้งปี

สิงห์อาสา ร่วมกับ คณะเกษตรศาสตร์ มข. สร้างแหล่งน้ำชุมชม  บริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนภาคอีสาน เริ่มที่แรก จ.ขอนแก่น

สิงห์อาสา โดย มูลนิธิพระยาภิรมย์ภักดี และ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ร่วมกับ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และบริษัท ขอนแก่นบริวเวอรี่ จำกัด บริษัทในเครือฯ พร้อมด้วยเครือข่ายนักศึกษาสิงห์อาสาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 สถาบัน จัดโครงการ “สิงห์อาสาสร้างแหล่งน้ำชุมชนอย่างยั่งยืน” สร้างบ่อน้ำเพื่อเป็นแหล่งน้ำให้ชาวบ้านไว้ใช้ตลอดทั้งปี พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการสร้างแหล่งน้ำชุมชนอย่างยั่งยืนให้แก่ชาวบ้าน เพื่อการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถมีน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภคทั้งในภาวะปกติและในช่วงหน้าแล้ง โดยในปีนี้จะทำแหล่งน้ำชุมชนต้นแบบที่จ.ขอนแก่นและมหาสารคาม เริ่มที่แรก ที่บ้านนาสีนวน  ต.ขัวเรียง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น เมื่อ 20 พ.ค.65

สิงห์อาสา ร่วมกับ คณะเกษตรศาสตร์ มข. สร้างแหล่งน้ำชุมชม  บริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนภาคอีสาน เริ่มที่แรก จ.ขอนแก่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์มัลลิกา ศรีสุธรรม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า “ที่ผ่านมาคณะเกษตรศาสตร์ ม.ขอนแก่น ได้ศึกษาพื้นที่ภาคอีสานว่ามีลักษณะเป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำและระบบโครงข่ายชลประทานที่ไม่สอดคล้องกับขนาดของพื้นที่ มีน้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค ทำการเกษตร กระบวนการเติมน้ำใต้ดินจึงเป็นแนวทางที่จะช่วยแก้ปัญหาน้ำแล้งได้อย่างยั่งยืน ซึ่งแบ่งออกเป็นรูปแบบบ่อเปิดและบ่อปิด ตามความเหมาะสมของพื้นที่ โดยบ่อเปิดจะเป็นแหล่งน้ำสาธารณะที่ทุกคนสามารถผันน้ำไปใช้ได้ตลอดทั้งปี ในขณะที่บ่อปิดจะใช้วิธีขุดให้ลึกถึงชั้นบาดาลแล้วฝังท่อลงไป เพื่อช่วยเติมความชุ่มชื้นให้แก่ดินโดยรอบ เมื่อมีน้ำเพียงพอ ดินมีความชุ่มชื้น การปลูกพืชก็จะได้ผล ซึ่งทางมข. ได้ส่งเสริมความรู้ให้เกษตรกรปลูกพืชที่ยึดเกาะดิน ป้องกันน้ำหลากและเป็นพืชเศรษฐกิจ 3 ชนิด ได้แก่ ต้นยางนา,ไผ่ซางหม่น และแฝกพันธุ์อินเดีย"

สิงห์อาสา ร่วมกับ คณะเกษตรศาสตร์ มข. สร้างแหล่งน้ำชุมชม  บริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนภาคอีสาน เริ่มที่แรก จ.ขอนแก่น

สิงห์อาสา ร่วมกับ คณะเกษตรศาสตร์ มข. สร้างแหล่งน้ำชุมชม  บริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนภาคอีสาน เริ่มที่แรก จ.ขอนแก่น

คุณฌานนท์ โปษยะจินดา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ขอนแก่นบริวเวอรี่จำกัด บริษัทในเครือบุญรอดฯ เปิดเผยว่า "บริษัท ขอนแก่นบริวเวอรี่ จำกัด เราเชื่อว่านอกเหนือจากการดำเนินงานและพัฒนาธุรกิจให้เติบโตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ภาคอีสานแล้ว เป้าหมายสูงสุดคือการได้เห็น “องค์กร ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความสุขร่วมกันอย่างยั่งยืน” ตลอดหลายปีที่ผ่านมา บริษัทฯ จึงมีนโยบายและโครงการต่างๆ มากมายเพื่อดูแลพี่น้องชาวขอนแก่นและพื้นที่ใกล้เคียง ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ สำหรับโครงการในครั้งนี้ก็หวังว่าจะช่วยให้พี่น้องชาวขอนแก่นมีแหล่งน้ำชุมชนไว้ใช้อย่างยั่งยืน และสามารถต่อยอดไปสู่การสร้างรายได้จากการใช้แหล่งน้ำนี้ในการประกอบอาชีพให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย"

 

สิงห์อาสา ร่วมกับ คณะเกษตรศาสตร์ มข. สร้างแหล่งน้ำชุมชม  บริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนภาคอีสาน เริ่มที่แรก จ.ขอนแก่น

 

คุณอรรถสิทธิ์ พรหมสุข ผู้จัดการฝ่ายงานกิจกรรมเพื่อสังคม บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด กล่าวว่า “เป็นระยะเวลากว่า 10 ปี ที่สิงห์อาสาพร้อมด้วยเครือข่ายนักศึกษาสิงห์อาสาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 สถาบันได้ลงพื้นที่บรรเทาความเดือดร้อนให้แก่พี่น้องภาคอีสานจากภัยแล้งมาอย่างต่อเนื่อง โดยภารกิจที่ผ่านมาเราได้แจกจ่ายน้ำสะอาดให้กับชาวบ้านหลายชุมชน ติดตั้งธนาคารน้ำสิงห์ ซึ่งเป็นแท้งค์น้ำให้ชาวบ้านได้มีน้ำกินน้ำใช้ รวมถึงทำท่อประปาเพื่อใช้เป็นเส้นทางลำเลียงน้ำจากภูเขาเข้าสู่หมู่บ้านในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งจะกระจายไปยังพื้นที่ประสบภัยแล้ง ทั่วทั้ง 20 จังหวัดในภาคอีสาน โดยในปีนี้ นอกเหนือจากการร่วมกับเครือข่ายนำน้ำไปช่วยเหลือชาวบ้าน สิงห์อาสาได้ร่วมกับเครือข่ายที่มีความเชี่ยวชาญอย่างคณะเกษตรศาสตร์ ม.ขอนแก่น นำองค์ความรู้เรื่องการเติมน้ำใต้ดินมาสร้างแหล่งน้ำชุมชนและถ่ายทอดให้ชาวบ้าน ให้มีน้ำกินน้ำใช้อย่างยั่งยืน”

สิงห์อาสา ร่วมกับ คณะเกษตรศาสตร์ มข. สร้างแหล่งน้ำชุมชม  บริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนภาคอีสาน เริ่มที่แรก จ.ขอนแก่น

สำหรับเครือข่ายนักศึกษาสิงห์อาสาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ,มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร,มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  จะดำเนินงานตามพันธกิจ สร้างแนวร่วมในการดูแลประเทศที่ประกาศไว้ โดยจะเฝ้าระวัง ลงพื้นที่สำรวจและเข้าช่วยเหลือบริเวณที่ประสบภัยแล้ง หรือประสบปัญหาอื่นๆใน 20 จังหวัดภาคอีสานต่อไป

 

ทั้งนี้ สิงห์อาสาจะช่วยสนับสนุนองค์ความรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้การสร้างแหล่งน้ำชุมชนขยายพื้นที่ครอบคลุมทั่วทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้ประชาชนและเกษตรกรผู้ใช้ได้มีโอกาสประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้อย่างเต็มที่ พร้อมเป็นกำลังใจให้แก่ชาวบ้านต่อไป เพื่อให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น