ประชาสัมพันธ์

"บิ๊กป้อม"เร่งรัดงานด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเน้นประชาชนมีส่วนร่วม

"บิ๊กป้อม"เร่งรัดงานด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเน้นประชาชนมีส่วนร่วม

04 ส.ค. 2565

"บิ๊กป้อม" เร่งรัดงานด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เน้นประชาชนมีส่วนร่วม "กรมทะเล" พร้อมยกระดับการทำงานแก้ไขปัญหาครบทุกมิติ

กลไกการขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ภายใต้คณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติช่วยเร่งรัดและยกระดับการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน 

 

ด้านพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ได้เร่งรัดติดตามการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการประชุมครั้งนี้ประเด็นการประกาศพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์จังหวัดตรังและพังงา และการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งตามระบบกลุ่มหาดเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ได้ผลักดันเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน พร้อมได้มอบแนวทางแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการปลูกป่าเพื่อประโยชน์คาร์บอนเครดิตบนฐานการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมขับเคลื่อนตามแนวนโยบายเพื่อความคงอยู่ของทรัพยากรอย่างมั่นคงและยั่งยืน

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ กล่าวภายหลังการเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฯครั้งที่ 2/2565 ว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติในวันนี้ (วันที่ 4 สิงหาคม 2565) มีวาระสำคัญเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการหลายเรื่อง โดยเฉพาะการกำหนดพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์
ในจังหวัดตรังและพังงา ซึ่งต้องเร่งรัดเสนอประกาศกฎกระทรวงต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อโปรดพิจารณา ต่อไป รวมถึงการจัดทำแผนที่ข้อมูลวิชาการของระบบกลุ่มหาดประเทศไทย เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทยอย่างยั่งยืน 

 

"ผมได้ย้ำกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งรัดบูรณาการดำเนินงานร่วมกันให้เป็นระบบ สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืนและไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่อื่น อย่างไรก็ตาม ผมได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคประชาชนที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ซึ่งผมได้มอบหมายให้ นายวราวุธ ศิลปอาชา ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และรองประธานคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ติดตามและกำกับการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด พร้อมสรุปรายงานเสนอต่อคณะกรรมการฯ อย่างต่อเนื่อง และอีกหนึ่งประเด็นที่สืบเนื่องจากการประชุมครั้งก่อนหน้าเกี่ยวกับการดำเนินการปลูกป่าชายเลน"พลเอกประวิตร กล่าว

\"บิ๊กป้อม\"เร่งรัดงานด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเน้นประชาชนมีส่วนร่วม

\"บิ๊กป้อม\"เร่งรัดงานด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเน้นประชาชนมีส่วนร่วม

"เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต ซึ่งผมได้ติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด เนื่องจากเป็นประเด็นที่รัฐบาลให้ความสำคัญและสนองตอบต่อนโยบายการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งยังช่วยสร้างรายได้ให้กับพี่น้องประชาชนได้อีกด้วย

 

นอกจากนี้ ผมได้ย้ำกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเร่งต่อยอดด้านการศึกษาวิจัยเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำหรับภาพรวมของการประชุมครั้งนี้ ตนได้เห็นถึงความร่วมมือของทุกหน่วยงานที่พยายามช่วยกันคิดแก้ไขปัญหาและหาทางในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของชาติให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน ต่อไป"พลเอกประวิตร กล่าว

 

นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า ที่ผ่านมานายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้สั่งการให้หน่วยงานภายใต้สังกัดเร่งบูรณาการหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกระทรวงให้ร่วมกันดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมอบหมายให้นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำกับและติดตามการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด

นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

 

"ซึ่งผลการดำเนินงานภายรวมที่ได้นำเสนอต่อที่ประชุมครั้งนี้ เป็นเพียงหนึ่งในความสำเร็จที่หลายฝ่ายได้ร่วมกันดำเนินงานไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาขยะทะเล การลดมลพิษทางทะเล การทำประมงอย่างยั่งยืน การแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมาย และการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลเชิงพื้นที่ ทั้งนี้ ความสำเร็จดังกล่าวไม่เพียงแค่เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมไทยเท่านั้น ยังถูกนำเสนอต่อประเทศรัฐสมาชิกสหประชาชาติ ในคราวการประชุม 2022 UN Ocean Conference ณ กรุงลิสบอน สาธารณรัฐโปรตุเกส ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ขึ้นกล่าวต่อที่ประชุมจนได้รับคำชื่นชมจากนานาประเทศ ถึงการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพของประเทศไทย"นายโสภณกล่าว 

\"บิ๊กป้อม\"เร่งรัดงานด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเน้นประชาชนมีส่วนร่วม

 


นายโสภณ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ตนจะได้เร่งรัดสานต่อแนวนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการของพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ โดยจะหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่อไป

 

"ทั้งนี้ สำหรับงานด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งยังคงมีอีกหลายประเด็นสำคัญที่ผมจะต้องเร่งรัดดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่ง การแก้ไขปัญหาขยะทะเลในฐานะผู้นำกลุ่มประเทศอาเซียน และการขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้ทศวรรษแห่งมหาสมุทรที่ประเทศไทยได้รับคัดเลือกเป็นที่ตั้งสำนักงานประสานทศวรรษแห่งมหาสมุทร ซึ่งผมจะได้กำกับและขับเคลื่อนการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ต่อไป"

\"บิ๊กป้อม\"เร่งรัดงานด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเน้นประชาชนมีส่วนร่วม

 

นายโสภณ กล่าวต่ออีกว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ในฐานะหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้พยายามยกระดับการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยในการประชุมครั้งนี้ ตนได้สรุปรายงานผลการดำเนินงานในหลายประเด็น รวมถึงการจัดกิจกรรมวันทะเลโลก ประจำปี 2565 และรายงานสรุปผลการประชุมสหประชาชาติด้านมหาสมุทร ค.ศ. 2022 (2022 United Nations Ocean Conference) ณ กรุงลิสบอน สาธารณรัฐโปรตุเกส สำหรับการดำเนินงานปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต ทช. ได้ดำเนินการปรับปรุงระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ว่าด้วยการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตที่ได้จากการปลูกและบำรุงป่าชายเลน สำหรับบุคคลภาคนอก พ.ศ.​2565 

 

"พร้อมจัดทำระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ว่าด้วยการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตที่ได้จากการปลูกและบำรุงป่าชายเลน สำหรับชุมชน พ.ศ. 2565 เสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการฯ ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)เพื่อโปรดพิจารณา ต่อไป"

 

"อย่างไรก็ตาม ทช. ได้เตรียมพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินการโครงการฯ เนื้อที่ 44,712.99 ไร่ สำหรับองค์กรและบุคคลภายนอก และสำหรับชุมชนชายฝั่ง เนื้อที่ 44,298.95 ไร่ อีกทั้งอยู่ระหว่างการศึกษาการใช้หญ้าทะเลเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตอีกด้วย นอกจากนี้ ทช. ได้เตรียมการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามผลการประชุมสหประชาชาติด้านมหาสมุทร ค.ศ. 2022 (2022 United Nations Ocean Conference) ในหลายประเด็น รวมถึงประสานความร่วมมือต่อเนื่องกับประเทศที่แสดงเจตนารมณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งคาดว่าจะก่อเกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานภาพรวมของประเทศไทย อีกทั้งสามารถต่อยอดการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น"นายโสภณ กล่าวทิ้งท้าย