ความร่วมมือ ด้านกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
เอเปค เวทีแห่งความร่วมมือ ด้านกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เป็นโอกาสสำคัญที่จะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาและผลักดันนโยบาย GRP
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นเจ้าภาพร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการจัดประชุม 15th APEC Conference on Good Regulatory Practice (GRP15) โดยนายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม เมื่อวันพุธ ที่ 24 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมแชงกรี-ลา เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการประชุมที่เกี่ยวข้องกับการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ 3 หรือ SOM3 ที่ปีนี้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกหรือ เอเปค มีหัวข้อหลักของการประชุม เรื่อง “การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการบริหารจัดการกฎหมายในช่วงวิกฤติและเตรียมความพร้อมสังคมและเศรษฐกิจในโลกยุคหลังวิกฤติโควิด 19”
“เอเปค” เป็นเวทีที่เสริมสร้างกลไกสำคัญที่ทำให้การค้าระหว่างประเทศขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการสนับสนุนให้เขตเศรษฐกิจต่าง ๆ เรียนรู้ซึ่งกันและกัน จนกระทั้งการนำไปสู่การนำเครื่องมือด้านการมีกฎหมายที่ดีหรือ Good Regulatory Practices หรือ GRP มาใช้ทบทวนกฎหมายและกฎเกณฑ์เพื่อลดกำแพงทางการค้าที่เกิดจากกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ได้ในการอำนวยความสะดวกด้านการค้า และหลายเขตเศรษฐกิจได้นำ GRP มาใช้ในการออกกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ซึ่งสามารถใช้รับมือกับวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างดี นอกจากนั้น การมีกฎหมายกฎระเบียบที่เป็นสากลจะส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจมีต้นทุนที่ลดลง และทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
(GDP) ของสมาชิกและระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในภูมิภาคที่สูงขึ้น ซึ่งเครื่องมือหรือกลไกสำคัญที่เอเปคใช้ในการส่งเสริมความร่วมมือและการค้าระหว่างสมาชิกนั้น
ในปี ค.ศ. 2017 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก็ได้กำหนดหลักการและกลไกที่สำคัญของ GRP ไว้ ส่งผลให้หน่วยงานภาครัฐทุกแห่งมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง (Consultation stakeholders) จัดทำ Regulatory Impact Assessment ประกอบการเสนอร่างกฎหมายทุกฉบับ รวมทั้งมีหน้าที่จัดทำ Ex-post Evaluation ของกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบทุกรอบ 5 ปี เพื่อให้กฎหมายทุกระดับทันสมัยอยู่เสมอ ซึ่งกลไกเหล่านี้ส่งผลให้กฎหมายของไทยได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพ และมีความสอดคล้องกับหลักสากล รวมทั้งมีการยกเลิกและปรับปรุงกฎหมายที่สร้างภาระให้แก่ประชาชนเกินสมควรหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันหลายฉบับ
นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังผลักดันนโยบายรัฐบาลเปิดและรัฐบาลดิจิทัล (Open and Digital Government) ที่ส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลกฎหมายและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎหมายได้ง่ายขึ้น โดยรัฐบาลได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจัดทำระบบกลางทางกฎหมายในรูปแบบ one-stop shop ผ่านเว็บไซต์ law.go.th สำหรับการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎหมายและการเผยแพร่ข้อมูลกฎหมายที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการสร้างความมีส่วนร่วมของประชาชน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานภาครัฐ รวมทั้งเสริมสร้างความโปร่งใสในภาครัฐ
การประชุมครั้งนี้จะเป็นโอกาสสำคัญที่จะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาและผลักดันนโยบาย GRP ของแต่ละเขตเศรษฐกิจ และจะนำไปสู่การพัฒนาต่อยอด GRP ให้สามารถพัฒนากฎหมายและกฎเกณฑ์ของสมาชิกให้รองรับการเปลี่ยนแปลงและวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป