นวัตกรรมผ่าตัดส่องกล้อง Endoscope กระดูกสันหลัง แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว
ผ่าตัด โรคทางกระดูกสันหลัง ผ่านการส่องกล้อง (Endoscopic Spine Surgery) เป็นทางเลือกการผ่าตัดหนึ่งที่เจ็บน้อยและให้ผลลัพธ์ดี
โรคทางกระดูกสันหลัง เป็นโรคที่พบได้บ่อยขึ้นในกลุ่มคนวัยทำงานและผู้สูงอายุ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม หรือหากมีอาการมากขึ้น อาจส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ การผ่าตัดเป็นทางเลือกการรักษาหนึ่งที่ให้ผลดีแก่ผู้ป่วยในระยะยาว ทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่หลายคนอาจกังวลและกลัวการผ่าตัดในกระดูกสันหลัง
ด้วยเทคโนโลยีทางแพทย์ที่มีการพัฒนามากขึ้น การผ่าตัดกระดูกสันหลังจึงมีความปลอดภัยมากขึ้น เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว และไม่น่ากลัวอย่างที่คิด การผ่าตัดโรคทางกระดูกสันหลังผ่านการส่องกล้อง (Endoscopic Spine Surgery) เป็นทางเลือกการผ่าตัดหนึ่งที่เจ็บน้อยและให้ผลลัพธ์ดี
เป็นการผ่าตัดแผลเล็กด้วยการสอดกล้องลักษณะเป็นท่อขนาด 8-10 มิลลิเมตร ที่มีความแม่นยำสูง พร้อมกับสอดเครื่องมือต่างๆ สำหรับตัดแต่งกระดูกบางส่วน หยิบหมอนรองกระดูกที่เคลื่อนออก และห้ามเลือด ในอดีตการผ่าตัดผ่านการส่องกล้องกระดูกสันหลัง สามารถทำได้เฉพาะในโรคหมอนรองกระดูกสันหลังระดับเอวเคลื่อน แต่ในปัจจุบัน สามารถรักษาโรคได้ครอบคลุมและหลากหลายขึ้นกว่าในอดีตมาก รวมทั้งปัจจุบันสามารถทำการรักษาโรคทางกระดูกต้นคอได้ด้วย ตัวอย่างเช่น
- โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (Herniated Nucleus Pulposus, HNP)
- โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบทับเส้นประสาท (Spinal Stenosis)
- ภาวะไม่มั่นคงของกระดูกสันหลัง ด้วยการผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลัง (Spinal Fusion) ร่วมกับสอดโลหะเข้ายึดกระดูกสันหลัง
ทำไมการผ่าตัดผ่านการส่องกล้องจึงดีกว่าการผ่าตัดแบบเดิม
- แผลเล็ก
- เสียเลือดน้อยลง
- เจ็บน้อย การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลังน้อยลง
- โอกาสติดเชื้อน้อยลง
- ฟื้นตัวเร็วขึ้น ระยะเวลานอนโรงพยาบาล 1-2 คืน
ไม่ใช่ศัลยแพทย์กระดูกสันหลังทุกคนที่จะสามารถผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านการส่องกล้องได้ โรงพยาบาลกระดูกและข้อ kdms เรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของประเทศที่ให้การรักษาอย่างเป็นองค์รวม ทั้งทีมศัลยแพทย์กระดูกสันหลังที่มีความเชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านการส่องกล้อง มีความรู้ความเข้าใจในกระดูกสันหลังเป็นอย่างดี ผ่านการฝึกฝน และสั่งสมประสบการณ์การผ่าตัดมามากมาย และทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูที่มีการวางแผนการรักษาร่วมกัน เพื่อพัฒนาการรักษาและครอบคลุมการรักษาให้ดีที่สุด
บทความโดย รศ.นพ.กันต์ แก้วโรจน์ ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง