เช็กอัตราใหม่ "ภาษีความหวาน" จ่ายสูงสุด 5 บาท ใครต้องเป็นคนจ่ายค่าความหวาน
เช็กอัตราใหม่ "ภาษีความหวาน" หลังประกาศใช้ 1 เม.ย. 66 จ่ายสูงสุด 5 บาท ใครบ้างต้องเป็นจ่าย จับตาค้าปลีกเครื่องดื่มรสหวานขยับราคาตามภาษีหรือไม่
เริ่มปรับอัตรา "ภาษีความหวาน" กันไปแล้วตั้งแต่ 1เม.ย. 2566 ที่ผ่านมา หลังจากที่รัฐบาลได้ขยายเวลาการเก็บ "ภาษีความหวาน" ในระยะที่ 3 ออกไปก่อน ออกไปอีก 6 เดือน (1 ต.ค. 65 – 31 มี.ค. 66) เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพประชาชน และให้อุตสาหกรรมเครื่องดื่มมีเวลาปรับตัวเพื่อรองรับการปรับขึ้นอัตราภาษีฯ หลังมีการกำหนดโครงสร้างภาษีแบบขั้นบันไดตั้งแต่ปี 2560
โดยก่อนที่จะมีการปรัยบอัตรา "ภาษีความหวาน" ครั้งล่าสุด ก่อนหน้านี้ กรรสรรพสามิต ได้ปรับขึ้น ภาษีสรรพสามิตความหวาน ไปบ้างแล้วในเครื่องดิมบางประเภทมตั้งแต่ปี 2560 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีการปรับสูตรลดปริมาณน้ำตาล
โดยวัตถุประสงค์ในการ "ภาษีความหวาน" เพิ่มในครั้งนี้นั้น เพื่อหวังให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมปรับสูตรลดปริมาณน้ำตาลเพื่อสุขภาพของประชาชนตามแนวทางป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อขององค์การอนามัยโลก (WHO) และยังเป็นกลไกสำคัญในการวางรากฐานสังคม ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องสุขภาพ
"ภาษีความหวาน" เริ่มเก็บตั้งแต่ 1 เม.ย. 2566-31 มี.ค. 2568 มีอัตรา ดังนี้
- น้ำตาล 0-6 กรัม คิดอัตราภาษี 0 บาท/ลิตร จากปัจจุบัน 0 บาท/ลิตร
- น้ำตาล 6-8 กรัม คิดอัตราภาษี 0.3 บาท/ลิตร จากปัจจุบัน 0.1 บาท/ลิตร
- น้ำตาล 8-10 กรัม คิดอัตราภาษี 1 บาท/ลิตร จากปัจจุบัน 0.3 บาท/ลิตร
- น้ำตาล 10-14 กรัม คิดอัตราภาษี 3 บาท/ลิตร จากปัจจุบัน 1 บาท/ลิตร
- น้ำตาล 14-18 กรัม คิดอัตราภาษี 5 บาท/ลิตร จากปัจจุบัน 3 บาท/ลิตร
- น้ำตาล ตั้งแต่ 18 กรัม คิดอัตราภาษี 5 บาท/ลิตร จากปัจจุบัน 5 บาท/ลิตร
ทั้งนี้จะมีการปรับขึ้นอัตราภาษีความหวานตามปริมาณน้ำตาล "ภาษีความหวาน" ในอัตราก้าวหน้า โดยจะปรับขึ้นเป็นอัตราก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ ทุก ๆ 2 ปี
สินค้าที่จัดเก็บภาษีความหวานนั้น 2 กลุ่ม เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เครื่องดื่มที่มีลักษณะเป็นผง เกร็ด หรือเครื่องดื่มเข้มข้นที่มีส่วนผสมของน้ำตาลและสามารถละลายน้ำได้
โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษี คือ ผู้ประกอบอุตสาหกรรม และผู้นำเข้าเครื่องดื่ม ทั้งนี้การ อัตราภาษีสรรพสามิตจากค่าความหวานมี 2 ประเภท คือ
- อัตราภาษีตามมูลค่า จะคำนวณจากราคาขายปลีกแนะนำ
- อัตราภาษีตามปริมาณจะคำนวณตามปริมาณน้ำตาลที่อยู่ในเครื่องดื่มนั้น ๆ
อย่างไรก็ตามการเก็บ "ภาษีความหวาน" ตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 มีหมด 4 ระยะ โดยการการจัดเก็บเต็มเพดานระยะที่ 4 จะเริ่มวันที่ 1 เม.ย. 2568 ซึ่งมีอัตรา "ภาษีความหวาน" แบบเต็มเพดาน ดังนี้
- ปริมาณน้ำตาล 0-6 กรัม คิดอัตราภาษี 0 บาท/ลิตร
- ปริมาณน้ำตาล 6-8 กรัม คิดอัตราภาษี 1 บาท/ลิตร
- ปริมาณน้ำตาล 8-10 กรัม คิดอัตราภาษี 3 บาท/ลิตร
- ปริมาณน้ำตาล 10-14 กรัม คิดอัตราภาษี 5 บาท/ลิตร
- ปริมาณน้ำตาล 14-18 กรัม คิดอัตราภาษี 5 บาท/ลิตร
- ปริมาณน้ำตาล ตั้งแต่ 18 กรัม คิดอัตราภาษี 5 บาท/ลิตร
- คนไทยบริโภคน้ำตาล 2.5-2.6 ล้านตันต่อปี เสี่ยงเป็น NCD สูงมาก
ปัจจุบันคนไทยโดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ซึ่งสาเหตุเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เช่น การบริโภคอาหาร การปฏิบัติตนการออกกำลังกาย เป็นต้น และจากข้อมูลด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2560-2562 พบว่า คนไทยบริโภคน้ำตาลทราย 2.5-26 ล้านต้นต่อปี และ ปี 2562 คนไทยดื่มเครื่องดื่มผสมน้ำตาลเฉลี่ย 3 แก้วต่อวัน ส่งผลให้มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง NCD จำนวนมาก โดยสถานการณ์ประเทศไทยปี 2559-2563 พบว่า มีอัตราการเสียชีวิต เนื่องมาจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ เป็นสาเหตุการตาย 3 อันดับแรก ได้แก่ โรคมะเร็งทุกประเภท โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจขาดเลือด คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตเท่ากับ 123.3 47.1 และ 31.8 ต่อประชากร แสนคน ซึ่งสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีความหวาน ความมัน และความเค็มมากเกินเกณฑ์ขาดการออกกำลังกาย
หลังจากที่มีการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิต เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลแล้วคงต้องจับตาดูว่าสินค้าประเภทเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมเป็นน้ำตาลในอัตราข้างต้นจะปรับขึ้นตามหรือไม่ การเก็บภาษีความหวานนในครั้งนี้จะทำให้สุขภาพของคนไทยดีขึ้น หรือเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในช่วงเศรษฐกิจถดถอยแบบนี้