ชีวิตดีสังคมดี

เปิดที่มา 'พายุ' ชื่อ เรียก มาจากไหน ชื่อพายุล่าสุด เป็นอะไร

เปิดที่มา 'พายุ' ชื่อ เรียก มาจากไหน ชื่อพายุล่าสุด เป็นอะไร

10 ก.ย. 2566

เปิดที่มา "พายุ" ชื่อ เรียก มีที่มาจากไหน ใช้เกณฑ์อะไรตั้ง ชื่อพายุล่าสุด ต่อจาก "พายุหมาอ๊อน" เป็นอะไร ประเทศไทย มีกี่ชื่อ

หลายครั้งที่เกิด "พายุ" หลายคนคงเคยสงสัยว่า ชื่อ พายุแต่ละลูก ที่กรมอุตุนิยมวิทยา มีประกาศออกมา มันมีชื่อ และมีที่มาที่ไปอย่างไร เพราะหลากหลาย และแตกต่างกัน บางชื่อก็เป็นชื่อภาษาต่างประเทศ บางชื่อก็มีความเป็นไทย บางชื่อก็มีความแปลก เช่น ชื่อพายุล่าสุด "พายุหมาอ๊อน" คมชัดลึก ได้รวบรวมความรู้ เพื่อมาไขข้อข้องใจ กับที่มาที่ไป ของการตั้งชื่อพายุแต่ละชนิดว่า มีหลักการอย่างไร แล้วใครไปคนตั้ง แล้วชื่อพายุล่าสุด จะมีชื่อว่าอะไร


 

การตั้งชื่อพายุแต่ละชนิด เดิมทีแล้วประเทศสหรัฐอเมริกาจะเป็นผู้ตั้งชื่อของพายุทั่วโลกมาโดยตลอด เพราะยังถือเป็นประเทศเดียว ที่ยังมีความพร้อมในด้านเทคโนโลยีทางดาวเทียม สภาพอากาศและการดูความเคลื่อนไหวของพายุแต่ละชนิด

 

 

ในอดีต การตั้งชื่อของพายุมักจะใช้ชื่อผู้หญิง เพื่อให้ฟังดูแล้วอ่อนโยน ซึ่งจะทำให้ดูมีความรุนแรงน้อยลง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2543 ได้มีการเปิดโอกาสให้แต่ละประเทศเข้าเป็นสมาชิกของคณะกรรมการพายุไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organizations Typhoon Committee) เพื่อจัดระบบการตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนในแถบนี้ใหม่ โดนให้แต่ละประเทศได้เสนอชื่อพายุคนละ 10 ชื่อ รวม 140 ชื่อ โดยกำหนดให้ใช้ภาษาท้องถิ่นในการตั้งชื่อพายุแต่ละลูก ซึ่งพายุลูกนั้น ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางพายุต้อง "มากกว่า 34 น็อต หรือ 63 กม./ชม. ถึงจะมีชื่อเป็นตัวเอง" ซึ่งเกณฑ์การตั้งชื่อพายุแต่ละชนิดก็จะแตกต่างกันไป 
ความหมายและที่มาของชื่อพายุหมุนเขตร้อน ความหมายและที่มาของชื่อพายุหมุนเขตร้อน

เกณฑ์การตั้งชื่อพายุแต่ละชนิด

 

  • หากพายุนั้นมีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางของพายุมากกว่า 63 กิโลเมตร/ชั่วโมง พายุลูกนั้นจะสามารถตั้งชื่อได้
  • ชื่อของพายุจะถูกเรียกตามคอลัมน์แรกที่ตัวบนสุด และจะวนต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงคอลัมน์สุดท้าย
  • เมื่อเกิดพายุตัวต่อไปขึ้นและมีความเร็วลมใกล้เส้นที่กำหนด พายุลูกนั้นจะถูกใช้ชื่อถัดลงมาจากคอลัมน์ที่ 1
  • เมื่อใช้จนหมดคอลัมน์แล้ว พายุลูกต่อไปที่เกิดขึ้นจะใช้ชื่อจากคอลัมน์ที่อยู่ถัดไป
  • เมื่อใช้ครบทั้ง 5 คอลัมน์แล้วให้วนกลับมาใช้ที่คอลัมน์แรกอีกครั้ง

 

 

สำหรับประเทศไทย อยู่ในโซนมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนบนและทะเลจีนใต้ ร่วมกับสมาชิกประเทศอื่น ๆ คือ กัมพูชา, จีน, เกาหลีเหนือ-ใต้, ฮ่องกง, ญี่ปุ่น, ลาว, มาเก๊า, มาเลเซีย ไมโครเนีย (รัฐอิสระอยู่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือหมู่เกาะอินโดนีเซีย) ฟิลิปปินส์, สหรัฐฯ และเวียดนาม รวม 14 ประเทศ ซึ่งจะแบ่งพายุเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 28 ชื่อ โดยจะเริ่มจากอักษรภาษาอังกฤษ เริ่มจากประเทศกัมพูชาเป็นประเทศแรก และปิดท้ายด้วยประเทศเวียดนามเป็นประเทศสุดท้าย โดยไทยเราอยู่อันดับที่ 12 เมื่อใช้หมด 1 กลุ่ม ก็จะขึ้นชื่อแรกในกลุ่มที่ 2 เรียงกันเรื่อยไปจนครบทุกกลุ่ม แล้วจึงกลับมาใช้ชื่อแรกของกลุ่มที่ 1 ใหม่อีกครั้ง

 

 

ทั้งนี้ ประเทศไทย กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อเป็นตัวแทนในการเสนอชื่อพายุภาษาไทย จนได้ชื่อตามลำดับ ได้แก่ พระพิรุณ, ทุเรียน, วิภา, รามสูร, เมขลา, มรกต, นิดา, ชบา, กุหลาบ และ ขนุน

 

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อน ปี 2565​ 

 

  • มาลากัส Malakas ตั้งโดยประเทศฟิลิปปินส์ ก่อตัว 8 เมษายน​
  • เมกี Megi ตั้งโดยประเทศเกาหลีใต้ ก่อตัว 10 เมษายน​
  • ชบา Chaba ตั้งโดยประเทศไทย ก่อตัว 29 มิถุนายน​]​
  • อาเอเร Aere เป็นคำในภาษามาร์แชลล์ (ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาร์แชลล์) ก่อตัว 30 มิถุนายน​
  • ซงด่า sông Đà Songda ตั้งโดยประเทศเวียดนาม ก่อตัว 28 กรกฎาคม​
  • ทราเซซ Trases ตั้งโดยประเทศกัมพูชา ก่อตัว 1 สิงหาคม​
  • มู่หลาน Mulan ตั้งโดยประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (ทาง WMO ไม่ประกาศ​เป็นดีเปรสชัน​)
  • เมอารี Meari ตั้งโดยประเทศเกาหลีเหนือ ก่อตัว 8 สิงหาคม
  • มาง่อน Ma-on ตั้งโดยฮ่องกง ก่อตัว 20 สิงหาคม
  • โทะคาเงะ Tokage ตั้งโดยประเทศญี่ปุ่น ก่อตัว 21 สิงหาคม
  • ฮินนามโน Hinnamnor ตั้งโดย สปป.ลาว 
  • หมุ่ยฟ้า Muifa ตั้งโดยประเทศมาเก๊า 
  • เมอร์บุก Merbok ตั้งโดยประเทศมาเลเซีย 
  • นันมาดอล Namadol ตั้งโดยกลุ่มประเทศไมโครนีเซีย 
  • ตาลัส Talas ตั้งโดยประเทศฟิลิปปินส์ 
  • โนรู Noru ตั้งโดยประเทศ เกาหลีใต้ 
  • กุหลาบ Kulab ตั้งโดยประเทศไทย
  • โรคี Roke ตั้งโดยประเทศสหรัฐอเมริกา 
  • เซินกา Sonca ตั้งโดยประเทศเวียดนาม 
  • เนสาด Nesat ตั้งโดยประเทศกัมพูชา 
  • ไห่ถาง Haitang ตั้งโดยประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน 
  • นาลแก Nalgae ตั้งโดยประเทศเกาหลีเหนือ 
  • บันยัน Banyan บันยัน ตั้งโดยประเทศฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน) 
  • ยามาเนโกะ Yamaneko ตั้งโดยประเทศญี่ปุ่น 
  • ป่าคา Pakhar ตั้งโดย สปป.ลาว 
  • แซนวู Sanvu ตั้งโดยมาเก๊า 
  • มาวาร์ Mawar ตั้งโดยประเทศมาเลเซีย 
  • หมาอ๊อน เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 5 ลำดับที่ 4 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ ส่งโดยฮ่องกง

ความหมายและที่มาของชื่อพายุหมุนเขตร้อน ความหมายและที่มาของชื่อพายุหมุนเขตร้อน ความหมายและที่มาของชื่อพายุหมุนเขตร้อน

 

 

ที่มาข้อมูล : กรมอุตุนิยมวิทยา, วิกิพีเดีย