ชีวิตดีสังคมดี

ผวา "หิมะดำ" ปกคลุมเพราะเผาซังตออ้อย สู่วิบากกรรม แมวดาว สัตว์ป่าคุ้มครอง

ผวา "หิมะดำ" ปกคลุมเพราะเผาซังตออ้อย สู่วิบากกรรม แมวดาว สัตว์ป่าคุ้มครอง

08 ม.ค. 2566

ผวา "หิมะดำ" เขม่าจากการเผาซังตออ้อยปกคลุมท้องฟ้าจังหวัดเลย สู่วิบากกรรม แมวดาว สังเวยชีวิตเพราะหากินแบบผิดธรรมชาติ

"หิมะดำ" ปกคลุมท้องฟ้าความหวาดผวาของชาววังสะพุง จ.เลย ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อเช้าสู่ช่วงฤดูร้อนแล้งเมื่อไหร่ชาวบ้าน ลุกลามไปจนถึงสัตว์ป่าน้อยใหญ่จำต้องเผชิญกับปัญหา ฝุ่น ควัน จากการ เผาซังตออ้อย ของไร่อ้อยในพื้นที่ อ.วังสะพุง จ.เลยอยู่เป็นประจำ  และในปีนี้ก็เช่นกันปัญหาดังกล่าวกลับมาอีกครั้ง แม้ว่าทางการจ.เลยจะออกประกาศขอความร่วมมือเกษตรกรชาวไร่อ่อย งดเผาซังตออ้อย เพื่อลดปัญหาฝุ่นควัน และ ฝุ่นPM 2.5 ในพื้นที่ 

 

 

ตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค. 66 กลุ่มก้อน "หิมะดำ" ขนาดใหญ่ที่เกิดการจากเผาอ้อย เพิ่มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เริ่มทำการ เผาซังตออ้อย จนส่งผลให้เกิดไฟลุกลาม ท้องฟ้าเกิดสีแดงฉาดกินพื้นที่เกือบ 20 ไร่ ส่งผลให้ประชาชนในเขตอ.วังสะพุง รวมทั้งสัตว์ป่า ได้รับควาามเดือดร้อนต้องเผชิญกับฝุ่นพิษ ควัน "หิมะดำ" ลอยปลิวว่อนในอากาศ เกาะตามเสื้อผ้า 

  • ต้นตอปัญหาทำชาวบ้านเผชิญ "หิมะดำ" เขม่าควัน ปกคลุมพื้นที่ 

 

ในปี 2566 ในพื้นที่จ.เลยมีการ เผาซังตออ้อย อย่างหนัก โดยเฉพาะในพื้นที่อ.วังสะพุงมีการเผาอ้อนไม่ต่ำหว่าวันละ 1,000 ไร่  เกษตรกรชาวไร่อ่อยมีการเผาซังตออ้อยทุกวันก่อนตัดอ้อยส่งโรงงาน โดยในพื้นที่มีโรงงานผลิตน้ำตาลจำนวน 2 แห่ง จากพฤติกรรมการเผาที่ไม่ได้เกรงกลัวประกาศหรือกฎหมาย นำมาซึ่งผลกระทบมากมายกับประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ หญิงชรา หญิงตั้งท้อง ได้รับผลกระทบมากที่สุด หนำซ้ำไฟที่เกิดการจากเผาไร่อ้อยยังลุกลาวมาใกล้บ้านเรือนประชาชนจนสร้างความหวาดกลัวไปหมด 

  • จากปัญหา "หิมะดำ" ปกคลุม สู่ วิบากกรรมของ แมวดาว สัตว์ป่าคุ้มครองหายาก 

 

ปัญหาการเผาซังตออ้อยไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับชาวบ้านเท่านั้น แต่ยังกระทบไปถึงวืถีการหากินของสัตว์ป่าอีกด้วย เมื่อแหล่งอาหารถูกทำลายด้วยเปลวเพลิง สัตว์ตัวเล็ก ๆ อย่าง แมวดาว ซึ่งเป็นสัตว์ป่าหายาก และสัตว์ป่าคุ้มครอง ที่อาศัยและหากินในบริเวณไร่อ้อย ต้องออกจากป่ามาหากินในหมู่บ้านจนสุดท้ายต้องสังเวยชีวิตเพราะถูกหมากัด เนื่องจากการออกมาหาอาหารที่ผิดไปจากวิถีธรรมชาติ

 

ความสูญเสียเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 66 หลังจากที่การโหมเผาอ้อยมาตั้งแต่ช่วงวันที่ 6 ม.ค. 66 ส่งผลให้ แมวดาว เสียชีวิตถูกสุนัขกัดตายในพื้นที่ของ อ.วังสะพุง จ.เลย ซึ่งระยะนี้มีการเผาตอซังอ้อยเวลากลางคืน จนไฟลุกลามไปทั่ว สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านและสัตว์ป่าที่หากินในไร่อ้อยมีการคาดเดาว่า แมวดาว คงหนีไฟจากการเผาตอซังอ้อย ออกมาหากินใกล้หมู่บ้านและถูกสุนัขกัดตาย

 

วิบากกรรมของการเผาไม่ได้มีแค่กับมนุษย์ทั่วไปเท่านั้น แต่ยังกระทบถึงพฤติกรรมการหากินของสัตว์ป่าอีกด้วย อย่างเช่นกรณี แมวดาว หากเกษตรกรหยุดการเผาอ้อย แมวดาว ก็จะยังสามารถหากินในป่าได้ตามปกติ แต่เปลวไฟที่ลุกลามกลับเป็นตัวผลักดันทำให้ต้องออกมาหากินในพื้นที่ที่ไม่คุ้นเคยจนส่งผลให้ต้องจบชีวิตลง แม้ว่าที่ผ่านจะมีการออกประกาศห้ามเผาซังตออ้อยแต่ก็ยังพบไม่สามารถควบคุมการเผาซังตออ้อยในพื้นที่ลดน้อยลงไปได้ 

 

 

  • รู้หรือไม่ในประเทศไทยไทยมีการเผาในที่โล่งแจ้ง และสร้างมลภาวะในอากาศมากแค่ไหน

 

จากสถิติเมื่อปี 2564 ระบุว่า ประเทศไทยมีการเผาในที่โล่งแจ้ง ประมาณ 35 ล้านไร่ เป็ฯการเผาจากการทำนาข้าว (นาปรัง/นาปี) 20 ล้านไร่ การเผาบนพื้นที่ป่าไม้ 9.7 ล้านไร่ จากการทำไร่อ้อย 2.7 ล้านไร่ และจากการทำไร่ข้าวโพด 1.9 ล้านไร่  ทุกๆ การเผาซาก ซังตอ อ้อย 1 ไร่ จะส่งผลกระทบต่อสังคมประมาณ 12,000 บาท หรือทุก 1 ตัน จะส่งผลกระทบประมาณ 1,300 บาทต่อตัน แม้ว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายห้ามเผา แต่ยังมีการลักลอบเผาซากอ้อยอยู่ตลอด และเจ้าหน้าที่ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากมีการลักลอบเป็นจำนวนมาก