ชีวิตดีสังคมดี

เปิด 3 ฉากทัศน์ลด "ฝุ่นขนาดเล็ก"ทำประชาชนตายก่อนวัยอันควรเพิ่มขึ้น

เปิด 3 ฉากทัศน์ลด "ฝุ่นขนาดเล็ก"ทำประชาชนตายก่อนวัยอันควรเพิ่มขึ้น

12 ม.ค. 2566

เปิด 3 ฉากทัศน์ลด "ฝุ่นขนาดเล็ก" ผ่าน เวที "เส้นทางลดฝุ่น สิทธิในอากาศสะอาดของทุกคน" ก่อนกระทบทำประชาชนเสียชีวิตก่อนวันอันควรเพิ่มสูงขึ้น

เมื่อวันที่ 11 มกราคม  2566  กิจกรรมเสวนาฟังเสียงประเทศไทย มีการเสวนาในประเด็น "เส้นทางลดฝุ่น สิทธิในอากาศสะอาดของทุกคน" ซึ่งจัดโดยไทยพีบีเอส และเครือข่ายภาคประชาชน  โดยเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นถึงต้นตอการทำให้เกิด "ฝุ่นขนาดเล็ก" ฝุ่นควัน  และผลกระทบที่ได้รับจากปัญหาดังกล่าว

 

 

โดยในงานเสวนามีประชาชนที่เข้ามาร่วมแชร์ประสบการณ์ และปัญหาที่เผชิญมาโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาฝุ่นควันจากร้านหมูกระทะ ฝุ่นจากพื้นที่ก่อสร้าง ประชาชนหลายคนมองว่าการที่เมืองมีความเจริญจำเป็นต้องแลกมาด้วยคุณภาพอากาศที่แล้งร้าย แต่รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องมีมาตรการมากำกับดูแล   

 

ส่วนพ.ร.บ.อากาศสะอาดฉบับประชาชนนั้น  ที่ยังอยู่ในสภา และยังไม่ได้รับการพิจารณา ซึ่งคาดว่าทางหน่วยงานภาครัฐจะเห็นความสำคัญและผลักดันให้กฎหมายฉบับดังกล่าวเกิดขึ้นได้จริง   ปัญหามลภาวะอากาศเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง หากไม่มีกฎหมายเรื่องดังกล่าวก็ไม่จบ ทั้งนี้ที่ผ่านมาเรากำลังเผชิญกับสภาวะอากาศที่ย่ำแย่จากการก่อสร้าง   ข้อมูลวิจัยจากมหาวิทยาลับซิคาโก ระบุว่ามีผู้เสียชีวิตจากปัญหามลพิษค่อนข้างมาก  ประชาชนต้องจ่ายค่าดูแลหลังจากที่ร่างกายได้รับผลกระทบจากมลภาวะทางอากาศ "ฝุ่นขนาดเล็ก" ประมาณ  2.5 แสนบาทต่อครั้ง  ส่วนในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีโรงงาน 4-5 หมื่นแห่ง การก่อสร้างอาคารมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดมลภาวะ ดังนั้นทุกคนจะต้องร่วมกัน เพราะการหายใจคือสิทธิ์ของทุกคน แต่ปัจจุบันประชาชนต้องจ่ายค่าอากาศบริสุทธิ์ในการหายใจ เพราะเมืองไทยไม่มีกฎหมายคุ้มครองประชาชน

สำหรับฉากทัศน์เพื่อเป็นทางออกในการแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศ ปัญหา "ฝุ่นขนาดเล็ก" มีการกำหนดไว้ทั้งหมด 3 ฉากทัศน์ ได้แก่

 

1.ปรับเปลี่ยนดูแลตัวเอง ในระหว่างที่รัฐค่อย ๆ ดำเนินการ ประชาชนควรจะตื่นตัว ปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ลดสร้างขยะ เดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณา รัฐบาลต้องส่งเสริมพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมให้แก่ชุมชน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึง รวมรับผิดชอบต้นทุนในการได้รับอากาศบริสุทธิ์ ด้าน กทม.ต้องเพิ่มพื้นที่สีเขียว ติดตั้งเครื่องวัด แจ้งเตือนฝุ่น PM 2.5 เพิ่มให้มีความแม่นยำเท่านั้นสถานการณ์

 

2.รวมมือจัดการภาคสมัครใจ อยู่ภายใต้เศรษฐกิจที่ต้องขับเคลื่อนไป กทม.ต้องเป็นเจ้าภาพในการจัดการ ใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูล  ออกข้อบังคับสำหรับการดูแลขยายตัวของเมือง ส่งเสริมให้ประชาชนลงทุนในการดเนินชีวิต ด้วยการใช้รถ EV หรือสินค้าเทคโนโลยีที่ลดมลพิษ  ควบคุมการเผาในที่โล่งผ่านการร่วมมือมุ่งเน้นภาพลักษณ์ที่ส่งเสริมคุณภาพอากาศ

 

3.ใช้กฎหมายสร้างกลไกกำกับต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ  ต้องตระหนักว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของส่วนรวม รัฐบาลต้องเข้มแข็ง มีจุดยืนด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต โดยการใช้กฎหมาย  มาตรการทางด้านการจัดเก็บภาษีจากผู้ที่ปล่อยมลพิษเพื่อนำมาสร้างกองทุน สำหรับการสร้างคุณภาพอากาศให้แก่ประชาชน

 

 

ทั้งนี้องค์การอนามัยโลก ระบุว่า มีประชาชนที่ต้องตายก่อนวัยอันควร เพราะปัญหา ฝุ่นละออง "ฝุ่นขนาดเล็ก" ประมาณ  6 ล้านคน ส่วนใหญ่กลุ่มวัยที่ได้รับผลกระทบจะเป็นเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ประมาณ 10% หรือราว 6 แสนคน ระดับฝุ่นที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็ก เพราะเด็กมีอัตราการหายใจถี่กว่าผู้ใหญ่จึงมีแน้วโน้มที่จะได้ปรับผลกระทมากที่สุด รวมไปถึงเด็กที่อยู่ในครรภ์มารดาฝุ่นขนาดเล็กจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาด้านสมอง  อย่างไรก็ตามในปี 2563 มลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุทำให้คนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 14,000 รายใน 6 จังหวัด ได้แก่  กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ชลบุรี สมุทรสาคร ขอนแก่น ระยอง

 

 

ด้าน ผศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง สกสว. และ อาจารย์ประจำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.นเรศวร กล่าวระหว่าฃกิจกรรมเสวนาว่า สำหรับแนวทางของการจัดการฝุ่นที่ได้มีการทำการวิจัย ปละความพร้อมด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยีสำหรับการจัดการฝุ่น  ในปี 2022 มีที่ฝุ่นเดินค่ามาตรฐานมากถึง 200 กว่าวัน  เฉพาะในกทม. PM2.5 ทำคนเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 4,486 คนต่อปี เสียมูลค่าทางเศรษฐกิจไป 4.45 แสนล้านต่อปี  ที่ผ่านมา อว.มีการทำการวิจัยเกี่ยวกับฝุ่นประมาณ 200 กว่าโครงการ รวมทั้งมีนวัตกรรมที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นเซนเซอร์ จุดตรวจจับ "ฝุ่นขนาดเล็ก" ต่าง ๆ   รวมทั้งเครื่องมือที่ช่วยให้ประชาชนตรวจสอบฝุ่นด้วยตนเองก่อนออกจากบ้าน  โดยพบว่ามี คนกทม.ใช้ประโยชน์จาก Dust Boy 0.15 ล้านคนต่อปี ลดโอกาสการสูญเสียก่อนวัยอันควรประมาณ 86 คนล้านคนต่อปี