"หูฉลาม" อาหารชั้นเลิศแต่กรรมวิธีทรมาน เปิด 5 เหตุผลทำไมต้องหยุดกิน
"หูฉลาม" อาหารชั้นเลิศ แต่กรรมวิธีล่าครีบสุดทรมาน เปิด 5 เหตุผลทำไมชาวโลกต้องหยุดกิน ก่อนฉลามจะหมดทะเลกระทบห่วงโซ่อาหารทั้งระบบ
กลับมาเป็นกระแสอีกครั้งสำหรับการกิน "หูฉลาม" เพราะหลังจากที่ 3 ซุปเปอร์สตาร์จากเกาหลีที่เดินทางมาเยือนไทยในช่วงงานประกาศรางวัล golden disc awards 2023 ได้เดินทางไปกิน "หูฉลาม" ที่เยาวราช ส่งผลให้เกิดกระแสวิจารณ์อย่างมากโดยมีทั้งคนที่เห็นด้วย และคนที่มองว่าหลายคนรณรงค์ให้หยุดกิน "หูฉลาม" แต่ดาราทั้ง 3 คนกลับนั่งหูฉลามอย่างเอร็ดอร่อย กรณีดังกล่าวทำให้การรณรงค์งดกิน "หูฉลาม" ถูกพูดถึงอีกครั้ง
แต่เชื่อว่าคนอาจจะกำลังว่ามีเหตุผลอะไรที่เราไม่ควรกิน "หูฉลาม" ทั้งที่ประเทศอื่นก็มีการกิน และล่าครีบฉลามเพื่อนำมาทำเป็นอาหารขึ้นโต๊ะเสิร์ฟลูกค้านักท่องเที่ยวกันจนดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาพบว่ามีหลายประเทศที่ให้ความสำคัญกับการห้ามล่า และ กินหูฉลาม
โดยพบว่ามีกว่า 30 ประเทศ ที่ออกกฎหมายห้ามจับฉลามเพื่อตัดครีบ และยังมีประเทศที่ออกกฎหมายห้ามจับฉลามโดยเป็นการห้ามจับเพื่อการพาณิชย์ ห้ามจับเป็นช่วงเวลา ห้ามจับในน่านน้ำที่กำหนดจำนวน 22 ประเทศ และอีก 12 ประเทศ ได้ออกกฎหมายห้ามจับฉลามในทุกกรณี
ผศ. ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเลและรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้สัมภาษณ์กับ คมชัดลึกออนไลน์ ว่า เหตุผลที่โลกนี้ไม่ควรล่าฉลามเพื่อนำมาทำ "หูฉลาม" มีดังนี้
1.มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ใต้ท้องทะเล
ฉลามเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ในท้องทะเล เพราะฉลามถือว่าเป็นสัตว์ใหญ่ที่อยู่สูงสุดในระบบนิเวศน์ หน้าที่หลักของฉลามคือการควบคุมปลาตัวเล็กที่อ่อนแอด้วยการกินปลาเล็ก เพื่อไม่ให้ปลาเหล่านั้นเกิดการผสมพันธุ์มั่วไปหมดจนสุดท้ายปลาตัวเล็กเกิดการกลายพันธุ์ ส่งผลให้ในอนาคตเราอาจจะไม่มีปลาทะเลตามธรรมชาติกิน และต้องกินปลาเลี้ยงเท่านั้น
2."หูฉลาม" อาหารชั้นเลิศ แต่เป็นการทรมานสัตว์ที่สุด
การจับฉลามเพื่อตัดครีบ แล้วปล่อยฉลามกลับสู่ทะเลนั้น เป็นการทรมาณฉลามและปล่อยให้ฉลามตายกลางทะเลอย่างช้า ๆ เพราะแน่นอนว่าฉลามทุกตัวที่ถูกตัดเอาครีบไปทำอาหารหรูขึ้นโต๊ะเสิร์ฟนั้นจะทำให้ฉลามตายอย่างแน่นอน ทั้งนี้จากข้อมูลการจับฉลามพบว่าทั่วประเทศมีการฉลามถูกจับเพื่อตัดเอาครีบมากถึง 100 ล้านตัวต่อปี ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่สูงมาก แต่ในประเทศไทยการล่าฉลามลดน้อยลงไปกว่า 95% เพราะไม่เหลือฉลามให้ล่าเอาครีบแล้ว ยกเว้นบริเวณพื้นที่ที่เป็นเขตอุทยาน และเขตอนุรักษ์เท่านั้น
3.ฉลามตัวใหญ่แต่แพร่พันธุ์ได้ต่ำและช้ากว่าปลาอื่น ๆ
อีกหนึ่งสาเหตุที่ไม่ควรมีการล่าฉลามเพื่อตัดคีบไปทำ "หูฉลาม" นอกจากจะเป็นการทำลายระบบนิเวศน์ และเป็นการทรมาณสัตว์แล้วการแพร่พันธุ์ หรือ ออกลูก ยังถือว่าน้อยมาก ๆ หากเทียบกับปลาชนิดอื่น ๆ ที่อยู่ใต้ท้องทะเล โดยฉลามมีอัตราการออกลูกเพียงแค่ครั้งละประมาณ 10 ตัวเท่านั้น อีกทั้งโอกาสในการฟื้นตัวของฉลาม หากถูกล่าจนหมดทะเลจึงทำได้ช้ามากว่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ ที่อยู่ใต้ท้องทะเล
4.ฉลามเป็นสัตว์คุ้มครอง แต่กฎหมายไม่ได้คุ้มครองการจับฉลาม
แม้ว่าในประเทศไทจะกำหนดให้ฉลามเป็นสัตว์คุ้มครองในบางประเภท อาทิ ฉลามหัวค้อน หรือมีการกำหนดให้ฉลามวาฬเป็นสัตว์สงวน และในประเทศไทยจะไม่มีกลุ่มการทำประมงเพื่อล่าคีบฉลาม แต่กลับพบว่า ในบางครั้งที่มีการลากอวนกับมีฉลามติดมาด้วย และไม่มีกฎหมายควบคุม ทำให้บางครั้งที่ฃากอวนแล้วติดฉลามมาจึงมีการตัดเอาคีบเพื่อนำไปขายต่อ ส่งผลฉลามเริ่มมีจำนวนลดน้อยลงในพื้นที่ที่อยู่นอเขตอุทยาน
5. "หูฉลาม" ไม่ได้มีประโยชน์เป็นแค่กระดูกอ่อนแถมยังมีสารก่อมะเร็ง
"หูฉลาม" เป็นการนำเอาส่วนครีบ หรือส่วนที่เป็นกระดูกอ่อน ซึ่งไม่ได้มีรสชาติแต่อย่างใด อีกทั้งครีบฉลามยังเป็นจุดที่สะสมโลหะหนักเป็นจำนวนมาก เพราะโลหะหนักย่อนสลายได้ยาก และเกิดการสะสมในท้องทะเล โดยเฉพาะในแพลงตรอน ซึ่งแพลงตอนก็กลายเป็นอาหารของปลาเล็ก และปลาเล็กก็หลายเป็นอาการของฉลาม ดังนั้นโลหะหนักจึงเกิดการสะสมเป็นจำนวนมากบริเวรครีบ และโลหะหนักยังเป็นสารก่อมะเร็งอีกด้วย
ดร.ธร กล่าวเพิ่มเติมว่า "หูฉลาม" ส่วนใหญ่ที่นำมาปรุงขายในประเทศไทยเป็นการนำเข้ามาจากต่างประเทศทั้งหมด ประเทศไทยไม่ได้มีการล่าฉลามเพื่อเอาครีบ และนำมาทำหูฉลามเอง ซึ่งแหล่งที่เป็นนำเข้าหูฉลามที่ดีมาจากฮ่องกง ส่วนกรณีที่นักท่องเที่ยวมาเที่ยวไทยแล้วต้องแวะกินหูฉลามนั้นไม่ได้เกี่ยวกับว่าไทยไม่มีกฎหมายควบคุมการขาย "หูฉลาม" แต่เป็นเพราะค่านิยมเดิม ๆ ของนักท่อเที่ยวโดยเฉพาะคนจีนที่คิดว่าหูฉลามเป็นอาหารชูกำลัง แต่ปัจจุบันพบว่านักท่องเที่ยวรุ่นใหม่มาไทยเพื่อรับประทาน "หูฉลาม" ลดลงมาก อีกทั้งการล่าฉลามในประเทศไทยยังลดลงกล่าที่ผ่านมา เพราะปัจจุบันแทบจะไม่เหลือฉลามให้ล่าต่อไปแล้ว