ชีวิตดีสังคมดี

สัญญาณเตือนร่างกายรับฝุ่น "PM2.5" อาการแบบไหน ฝุ่นเข้าไปในเลือด

สัญญาณเตือนร่างกายรับฝุ่น "PM2.5" อาการแบบไหน ฝุ่นเข้าไปในเลือด

03 ก.พ. 2566

สัญญาเตือนร่างกายรับฝุ่น "PM2.5" อาการแบบไหนฝุ่นเริ่มเข้าไปในกระแสเลือด เตือน 3 กลุ่มเสี่ยงระวังตัวเองในระยะอากาศปิด

จากสถานการณ์ "PM2.5" ในประเทศไทยและทั่วโลก เริ่มเข้าสู่ช่วงวิกฤติอีกระลอก เนื่องจากสภาพอากาศปิด รวมถึงพฤติกรรม และกิจกรรมที่ส่งผลให้ค่า ฝุ่นPM2.5 พุ่งสูงขึ้นในระยะนี้ และคาดว่าฝุ่น "PM2.5"จะหนาแน่นเกินค่ามาตรฐานอย่างต่อเนื่อง แน่นอนว่า ฝุ่น PM2.5 มีผลกระทบต่อร่างกาย โดยเฉพาะในคนที่ร่างกายไม่แข็งแรงและกลุ่มเสี่ยงทั้งเด็ก 

 

 

อย่างไรก็ตาม "PM2.5" เป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ซึ่งขนจมูกไม่สามารถกรองได้ และอาจมีสารพิษเกาะติดมาด้วย สามารถเข้าสู่ ทางเดินหายใจเข้าไปยังถุงลมและแทรกซึมผ่านเข้าไปยังหลอดเลือดฝอยและเข้าสู่กระแสเลือดได้ ทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพมากขึ้น

 

นอกจากนี้  "PM2.5"  ยังไปรบกวนการทำงานของอวัยวะต่างๆ ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งในระยะสั้น ได้แก่ ทำให้ไอ จาม ระคายเคืองตา  แสบตา ตาแดง ระคายเคืองผิวหนัง เกิดผื่นคัน และก่อให้เกิด  ผลกระทบระยะยาวต่อระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ มะเร็งปอด ระบบหัวใจและหลอดเลือด หัวใจวาย  ความดันโลหิตสูง   

 

ฝุ่นPM2.5

นอกจากนี้ข้อมูลจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) ระบุว่า หากร่างกายได้รับฝุ่น "PM2.5" มากเกินไป และติดต่อกันเป็นเวลา ร่างการจะส่งสัญญาณเตือนออกมาดังนี้  

 

  • เลือดกำเดาไหลแบบไม่มีสาเหตุ 
  • แสบจมูก คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ แน่นหน้าอก ภูมิแพ้กำเริบ 
  • แสบเคืองตา ตาแดง น้ำตาไหล 
  • ตุ่ม ผื่น นูนแดง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคผิวหนังเรื้อรัง เช่น ภูมิแพ้ ลมพิษ สะเก็ดเงิน อาจจะมีอาการหนักขึ้น 

อาการเหล่านี้แสดงว่าฝุ่นได้เข้าไปในร่างกายและกระแสเลือดทำให้อวัยวะต่าง ๆ อักเสบ  

 

ฝุ่นPM2.5

 

ด้านข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ระบุว่า สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังในช่วงที่ "PM2.5" สูงเกินค่ามาตรฐาน ดังนี้ 

  • เด็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ 
  • ผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง เช่น ตำรวจราจร คนขับรถสาธารณะ คนกวาดถนน
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว  ได้แก่ โรคหัวและหลอดเลือด โรคระบบทางเดินหายใจ โรคผิวหนังอักเสบ โรคตาอักเสบ