ชีวิตดีสังคมดี

5 'ฉลาม' ใกล้สูญพันธุ์ ในระยะ 10 ปี ลดลงไป 80% คลอดแผน 5 ปีดูแล ปลาฉลาม

5 'ฉลาม' ใกล้สูญพันธุ์ ในระยะ 10 ปี ลดลงไป 80% คลอดแผน 5 ปีดูแล ปลาฉลาม

06 ก.พ. 2566

5 'ฉลาม' ใกล้สูญพันธุ์ พบภายใน 10 ปี ลดลงไปกว่า 80% จาก 14,409 ตัน เหลือเพียง 1,424 ตัน คลอดแผน 5 ปี ดูแลปลาฉลามในทะเลไทย

ผศ. ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์  นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ เฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat อัปเดตโปสเตอร์  'ฉลาม'  และ กระเบน ของไทย ที่จัดทำโดยกรมประมง โดยเป็นชุดที่มีความสมบูรณ์มากที่สด โดยพบว่า ปัจจุบันมีปลาฉลามในน่านน้ำไทยอยู่ประมาณ 87 ชนิด และมี ปลากระเบนในน่านน้ำไทย 99 ชนิด 

 

 

โดยทั้งฉลามและกระเบนของไทยอยู่ในบัญชีแนบท้ายไซเตส (CITES) หรือ อนุสัญญาไซเตส ซึ่งเป็นสัญญา การค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าชาติ โดยเฉพาะชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์หรือถูกคุกคาม

อย่างไรก็ตามข้อมูลจากกรมประมง ระบุว่า  'ฉลาม'  ถือว่าเป็นสัตว์คุ้มครองอีกหนึ่งประเภท เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่า ฉลาม ในท้องทะเลไทยเริ่มลดน้อยลงเรื่อย ๆ ในช่วงระยะเวลา 10 ปี ลดลงไปกว่า 80% ซึ่งข้อมูลจากกรมประมง ระบุว่าในปี 2546 มีฉลามในทะเลไทยประมาณ 14,409 ตัน แต่ในปี 2554 เหลือเพียง 1,424 ตันเท่านั้น  โดยเฉพาะ 'ฉลาม' 5 สายพันธุ์ที่กำลังจะสูญพันธุ์ ได้แก่  ปลาฉลามวาฬ โรนัน โรนิน ปลาฉลามเสือดาว ปลาฉลามหัวค้อน และปลาฉลามหัวบาตร   

 

ปลาฉลาม

นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจุบัน ปลาฉลาม ทั่วโลกถูกจับได้จากการประมงมากกว่า 100 ล้านตัว หรือเฉลี่ยที่ 190 ตัวต่อนาที ในจำนวนทั้งหมดนี้มากกว่า 70 ล้านตัว หรือประมาณร้อยละ 75 เป็นปลาฉลามที่ถูกจับเพื่อตัดเอาครีบไปขาย ที่ผ่านมาจึงมีแคมเปญรณรงค์ลดรับประทานหูฉลาม ฉลองไม่ฉลาม เนื่องจากเป็นการทรมานสัตว์

 

สำหรับในประเทศไทยไม่ได้มีการทำประมง 'ฉลาม' โดยตรง แต่ยังพบว่าทุกครั้งจะมีฉลามติดอวนมาด้วย บางครั้ง 'ฉลาม' เหล่านี้ถูกปล่อยให้กลับคืนสู่ท้องทะเลตามปกติ แต่หลายครั้งที่ก็มีการนำปลาฉลามมาขายตามท้องตลาดทั่วไป   สถิติระบุว่า การลากอวนแผ่นตะเฆ่ติดปลาฉลามมากถึง 85.17% อวนลากคู่ 11.33% และเครื่องมืออื่น ๆ อีก 3.49% จากการสำรวจข้อมูลชนิดพันธุ์ 'ฉลาม' ในท้องทะเลไทย มีทั้งหมด 87 ชนิดและกว่า 75 ชนิดเป็นสายพันธุ์ที่หายาก หรือใกล้จะสูญพันธุ์  

 

อย่างไรก็ตามกรมทะเลได้ประกาศ ฉลามหัวค้อน  4 ชนิด ได้แก่ ปลาฉลามหัวค้อนยาว ปลาฉลามหัวค้อนสีน้ำเงิน ปลาฉลามหัวค้อนยักษ์ และปลาฉลามหัวค้อนเรียบ หรือ ปลาฉลามหัวค้อนดำ เป็นสัตว์คุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 คณะนี้อยู่ระหว่างรอการประกาศในกฎกระทรวงอีกครั้ง  นอกจากนี้ยังมีการประกาศ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าปี 2562  ประกาศให้ ฉลามวาฬ เป็นสัตว์สงวนจำพวกปลา 

 

แต่เพื่อให้การอนุรักษ์ 'ฉลาม' ในประเทศไทย กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออก แผนปฏิบัติการแห่งชาติเพื่อการอนุรักษ์และบริหารจัดการฉลามของประเทศไทย พ.ศ. 2563-2567 ตามแนวทางขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO ซึ่งไทยเป็นประเทศสมาชิก โดยแผนปฏิบัติการดังกล่าว  5 ประเด็น คือ

1.ศึกษาจัดทำแผนข้อมูลชีววิทยา นิเวศน์วิทยาการประมงและการใช้ประโยช์ฉลามน่านน้ำไทย 

2.ประเมินสถานภาพและภัยคุกคามที่เกิดจากการประมงและสิ่งแวดล้อมอย่างที่มีผลต่อฉลามอย่างต่อเนื่อง 

3.พัฒนาความรู้และขีดความสามารถบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับฉลาม 

4. มาตรการอนุรักษ์ควบคุมการทำประมง และการค้าฉลามให้สอดคล้องกับพันธกิจระหว่างประเทศ 

5. การพัฒนาและสร้างเครื่อข่ายการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรณ์ฉลาม 

 

 

ที่มา: กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์