ชีวิตดีสังคมดี

สรุป 'กฎหมายประมง' หลังล่มกลางสภาฯ คืนสิทธิหากินในน่านน้ำให้ ประมงพื้นบ้าน

สรุป 'กฎหมายประมง' หลังล่มกลางสภาฯ คืนสิทธิหากินในน่านน้ำให้ ประมงพื้นบ้าน

11 ก.พ. 2566

สรุป 'กฎหมายประมง' ฉบับแก้ไข หลังล่มกลางสภาฯ สาระสำคัญคืนสิทธิหากินในน่านน้ำให้กับ ประมงพื้นบ้าน หลังโดนลิดรอนกำหนดอัตราโทษใหม่ที่คำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ข่าว สภาล่ม คงกลายเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นเป็นปกติในระยะนี้ส่วนสาเหตุที่สภาล่มนั้นมีสาเหตุมากมายโดยเฉพาะกรณีที่องค์ประชุมมาไม่ครบ ดูเหมือนจะเป็นสาเหตุหลัก ๆ 

 

 

แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องดี เพราะหาก สภาล่ม บ่อยครั้ง จะส่งไปถึงการโหวตร่างกฎหมายต่าง ๆ เพราะถึงแม้ว่าจะมีการอภิปรายมากันอย่างดุเดือดแล้ว แต่ในขั้นตอนสุดท้ายที่โหวตหากสมาชิกมาไม่ครบก็ไม่สามารถโหวตร่างกฎหมายได้ เช่นเดียวกับเหตุการณ์ในสภาพเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2566 ที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมประชุมมีเพียง 89 คน ไม่ครบองค์ประชุม ประธานฯ จึงปิดการประชุมทันที ส่งให้ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. หรือ 'กฎหมายประมง' ที่เสนอโดย นายศักดินัย นุ่มหนู สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรพรรคก้าวไกล ยังไม่ผ่านการเห็นชอบ ทำให้ ชาวประมง ใน 22 จังหวัด ต้องรอกันต่อไป 

สำหรับ 'กฎหมายประมง' ถือว่ามีความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องได้รับการแก้ไขและปรับปรุง เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในการประกอบอาชีพ และรักษาทรัพยากรณ์และสิ่งแวดล้อมเอาไว้ โดยสาระสำคัญที่ต้องมีการเร่งผลักดันให้  
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. ผ่านสภาโดยเร็วนั้น เพราะที่ผ่านมาการทำประมงมีปัญหามากมาย โดยเฉพาะการบัญญัติคำว่า 'ประมงพื้นบ้าน' ที่ทำให้ชาวประมงโดนจำกัดสิทธิในการทำการประมง  และดูเหมือนว่า 'กฎหมายประมง' ฉบับเก่าจะเอื้อให้แก่เอกชนทำประมงรายใหญ่เท่านั้น รวมทั้งมีบทลงโทษที่รุนแรงซ้ำเติมชาวประมง

 

ภาพประกอบข่าว

 

1.เหตุผลที่จำเป็นต้องแก้ไข 'กฎหมายประมง' 

'กฎหมายประมง' ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันนั้น มีผลให้ชาวประมงทำการประทงแบบผิดวิธีการ  บางกรณียังเป็นการกำจัดสิทธิในการทำประมง เช่น การจำกัดสิทธิการทำประมงพื้นบ้านให้อยู่เฉพาะบริเวณชายฝั่ง  จำกัดการใช้เครื่องมือในเวลากลางคืน การขนถ่ายสัวต์กลางทะเลที่สามาถรทำได้เฉพาะเหลือพานิชย์ที่มีการจดทะเบียนเท่านั้น  กำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิ ขอรับใบอนุญาตที่ไม่เอื้อต่อการทำประมง 

 

 

2. 'กฎหมายประมง' ฉบับเดิม ลิดรอนสิทธิแรงงาน ล้าสมัย บทลงโทษที่เน้นแค่เรือประมง 

บทบัญญัติบางส่วนไม่ครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างแท้จริง การควบคุมและเฝ้าระวังการทำประมง ไปถึงมาตรการคุ้มครองแรงงานไม่มีสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน รวมไปถึงบทกำหนดโทษที่ใช้บังคับอยู่มุ่งพิจารณาเฉพาะขนาดของเรือประมงเป็นสำคัญและมีโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญาที่หนักเกินไป  นอกจากนี้  
'กฎหมายประมง' ฉบับเดิม บทลงโทษไม่ได้คำนึงพฤติกรรมสร้างความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

 

3.อัตราโทษ 'กฎหมายประมง' เดิมซ้ำเติมชาวประมง ปรับสูงถึง 30 ล้าน 

อัตราโทษตาม  พ.ร.ก.การประมง 2558 มาตรา 57 ห้ามจับสัตว์น้ำขนาดเล็ก กำหนดตามขนาดของเรือ รายละเอียดดังนี้

  • เรือไม่เกิน 10 ตันกรอส ปรับ 10,000-100,000 บาท 
  • เรือ 10 ตันกรอส ไม่เกิน 20 ตันกรอส ปรับ 100,000-200,000 บาท 
  • เรือ 60 ตันกรอส ขึ้นไปไม่เกิน 150 ตันกรอส ปรับ 600,000- 5 ล้านบาท 
  • เรือ 150 ตันกรอสขึ้นไป ปรับ 5 ล้านบาท-30 ล้านบาท 

 

 

4.ร่าง 'กฎหมายประมง' ฉบับใหม่ความหวังชาวประมง 22 จังหวัด 

สำหรับร่าง 'กฎหมายประมง' ให้มีการยกเลิกนิยมคำว่า 'ประมงพื้นบ้าน' และให้เพิ่มบทนิยามคำว่า ประมงพานิชย์ขนาดเล็ก ซึ่งหมายความว่า การทำประมงขนาดเล็กให้เรือตั้งแต่ 5 ตันกรอสขึ้นไปแต่ไม่เกิน 15 ตันกรอส คุณลักษณะอื่นๆ ที่กำหนดตามประกาศรัฐมนตรี แรงม้า เครื่องยนต์ จำนวนลูกเรือ และจำนวนเครื่องมือ

 

ที่สำคัญคือมีการแก้ไขเพิ่มโทษ รวมไปถึงลักษณะการกระทำผิดที่ฝ่าฝืนกฎหมายร้ายแรง ผู้ฝ่าฝืนกฎหมายที่สร้างความเสียหายให้แก่ทรัพยากรณ์สัตว์น้ำ สิ่งแวดล้อม และขนาดเรือประมง เพิ่มอัตาโทษตามกฎหมายแรงงาน กรณีเจ้าของเรือให้คนที่ไม่หนังสือประจำเรือ หรือไม่ได้รับอนุญาต

 

นอกจากนี้ยังมีการปรับเปลี่ยนข้อความในการจับมาปลากะตัก โดยร่าง 'กฎหมายประมง' ฉบับใหม่ระบุว่า ห้ามไม่ให้ผู้ใดใช้เครื่องมืออวนล้อมจับปลาปะตักที่มีช่องตาอวนเล็กว่า 2.5 ซม. ทำการประมงในเขต 12 ไมล์ทะเลนับจากชายฝั่งทะเลในเวลากลางคืน  (อ่านรายละเอืยดร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. เพิ่มเติมคลิกที่นี่ )

 

 

5.ก่อนสภาล่ม 'กฎหมายประมง' ไม่ได้ไปต่อชาวประมง 22 จังหวัดร้องหน้าสภาฯ 

เมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2566 เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายประมง 22  ขอให้ ส.ส.ทุกคนทุกพรรคเข้าร่วมประชุม และลงมติรับหลักการร่างกฎหมายดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวประมงทั่วประเทศ เนื่องจาก ปัญหาข้อกฎหมายประมงที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติมต้องแบกรับโทษสูงเกินไปจนขาดความเป็นธรรม ทั้ง เรือประมงพาณิชย์ และเรือ ประมงพื้นบ้าน ส่งผลกระทบให้อาชีพประมงสูญเสียรายได้