ชีวิตดีสังคมดี

กทม.เริ่มก่อนใครปรับค่ามาตรฐานฝุ่น "PM2.5" เหลือ 37.5 มคก./ลบม.

กทม.เริ่มก่อนใครปรับค่ามาตรฐานฝุ่น "PM2.5" เหลือ 37.5 มคก./ลบม.

16 ก.พ. 2566

กทม.เริ่มแล้วปรับค่ามาตรฐานฝุ่น "PM2.5" เหลือ 37.5 มคก./ลบม. คลอดแผนรับมือฝุ่นพิษพุ่งกระทบสุขภาพให้ประกาศพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญได้ทันที

สภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และ ทั่วประเทศไทย เริ่มกลับเข้าสู่ช่วงคุณภาพอากาศย่ำแย่อีกครั้ง หลังจากในสัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่าค่า  "PM2.5" ยังอยู่ในค่ามาตรฐานที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่จากการพยากรณ์สภาพอากาศพบว่าในระยะนี้ในพื้นที่กรุงเทพมหานครจะกลับมามีค่า ฝุ่นPM2.5 เกินค่ามาตรฐานอีกครั้ง และจะเป็นเช่นนี้ต่อเนื่องไปจนถึงช่วงเดือนมีนาคม 2566  

 

เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อน และบรรเทาปัญหาฝุ่น "PM2.5" ในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ผ่านมา กรุงเทพมหานคร (กทม.)จึงได้มีการเตรียมความพร้อมรับมือฝุ่นพิษอย่างเต็มที่ไม่ว่าจะเป็นการวางมาตรการป้องกันตั้งแต่ต้นทาง แหล่งกำเนิดฝุ่น รวมไปถึงมาตรการเฉพาะกิจที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ทันทีหากพบว่าบางช่วงมีค่าฝุ่น  "PM2.5" เกินค่ามาตรฐานจนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน 

นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงแนวทางการ และมาตรการในการเตรียมพร้อมรับมือวิกฤติฝุ่นละอองขนาดเล็ก  "PM2.5" ว่า  กทม.ได้เตรียมมาตรการสำหรับป้องกันและรับมือฝุ่น  "PM2.5"  ไว้ทั้งหมด 16 ด้าน ได้แก่ วิจัยหาต้นเหตุ  นักสืบฝุ่น การแจกอุปกรณ์ป้องกัน การตรวจโรงาน การใช้ CCTV ตรวจจับรถลปล่อยควันดำ การพัฒนาโครงการก่อสร้างอาคาร (EIA) แจ้งเตือนป้องกันฝุ่น PM2.5 ใช้ระบบ Traffy Fondue ดำเนินกิจกรรม โดนให้สำนักงานเขตดำเนินการ เช่น ตรวจรถควันดำ ล้างและดูดฝุ่นถนน ฉีดพ่นน้ำล้างต้นไม้ ใบไม้ ตรวจรถควันดำในสถานที่ก่อสร้าง/แพลนท์ปูน  เปลี่ยนเปลี่ยนมาให้รถยนต์ไฟฟ้า   ตรวจสถานที่ก่อสร้าง/แพลนท์ปูน ตรวจควันดำควันราชการ ขยายระบบติดตามและแจ้งเตือน 1,000 จุด BKK Clean Air Area

 

นายจักกพันธุ์ ผิวงาม

นอกจากนี้ กทม. ยังมีการเตรียแผนการดูแลและแก้ปัญหา "PM2.5" ระยะยาว  โดยการลดระดับค่ามาตรฐานฝุ่น PM2.5 ลงมาที่  37.5 มคก./ลบม. ซึ่งเป็นการประกาศใช้ก่อนที่กรมควบคุมมลพิษจะมีการประกาศลดระดับค่า PM2.5 เหลือ    37.5 มคก./ลบม.  ในช่วงกลางปี 2566 นี้  อย่างไรก็ตามหากพบว่าในช่วงเวลาที่ค่าฝุ่น "PM2.5" เกินค่ามาตรฐานจนอยู่ในเกณฑ์ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ให้แต่ละพื้นที่สามารถพิจารณาประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาน และดำเนินการตามมาตรการลดฝุ่นไม่ว่าจะเป็นการสั่งปิดโรงเรียน การกำหนดห้ามรถเข้าในพื้นที่  การขอความร่วมมือทำงานที่บ้าน พร้อมกับแจ้งเตือนประชาชนให้ทราบถึงสถานการณ์  

 

 

นายจักกพันธุ์ กล่าวต่อว่าจากการสำรวจพบว่าในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีแหล่งกำเนิดฝุ่น "PM2.5" การจราจรขนส่งทางถนน 61 %  แบ่งเป็น รถบรรทุกส่วนบุคคล 24 %  รถบรรทุก 21%  รถโดยสาร 8%  รถยนต์ส่วนบุคคล  7%  รถจักรยายนต์ 1%  การเผาไหม้เชื้อเพลงของหม้อต้มไอน้ำ 8%  เผาขยะและวัสดุการเกาตร เผาไหม้เชื้อเพลิงของเตาเปา ปิ้งย่าง 4%   การผลิตในอุตสาหกรรมขนาดเล็ก 3% กิจกรรมอื่น ๆ 16%