สรุปแผนจัดการ 'ขยะพลาสติก' ระยะ 2 คนไทยต้องมีส่วนร่วมรักษ์โลกยังไงบ้าง
สรุปแผนจัดการ 'ขยะพลาสติก' ระยะที่ 2 เป้าหมาย 3 ปี กับการนำขยะเข้าระบบฝังกลบ-รีไซเคิล 100% คนไทยต้องมีส่วนร่วม ลด ละ เลิก ใช้ถุงพลาสติกยังไงบ้าง
"ขยะพลาสติก" กลายเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอันดับต้น ๆ ของโลกเพราะต้องใช้วเวลาย่อยสลายนานกว่า 400-450 ปี ดังนั้นหลายประเทศจึงพยายามที่จะหาวิธีการให้คนในประเทศ ลด ละ เลิกการใช้ถุงพลาสติก หรือ "ขยะพลาสติก" แบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
ประเทศไทยก็ได้เล็งเห็นความสำคัญในการลดขยะพลาสติก เพื่อแบ่งเบาปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมให้กับโลกใบนี้เช่นกัน โดยที่ผ่านมา กรมควบคุมมลพิษ(คพ.) กระทรวงทรัพยากรณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ออกแผนจัดการขยะพลาสติกระยะที่ 1 (พ.ศ.2563-2565) และสามารถบรรลุผลโดยการลด "ขยะพลาสติก" ได้มากถึง 1 แสนตัน ภายในระยะ 3 ปี
สำหรับก้าวต่อไปในการลด "ขยะพลาสติก" ของประเทศไทยนั้น คพ. ได้เตรียมเดินหน้าแผนจัดการขยะพลาสติดระยะที่ 2 ระยะเวลา (พ.ศ. 2566-2570) โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เสนอแผนแก่ คณะรัฐมนตรี ( ครม.) เอาไว้เรียบร้อยแล้ว โดยในแผนการนี้มีสาระสำคัญ และสิ่งที่คนไทยจะร่วมมือ เพื่อให้ประเทศบรรลุแผนจัดการปัญหา "ขยะพลาสติก" ดังนี้
1.ความสำคัญต้องวางแผนจัดการ "ขยะพลาสติก"
การจัดการ "ขยะพลาสติก" ยังคงเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่รัฐบาลให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหา
มาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องออกมาตรการเพื่อวางแผนปฏิบัติการฯ อย่างบูรณาการ ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การจำหน่าย การบริโภค และการจัดการภายหลังการบริโภค เพื่อลด ผลกระทบตอสิ่งแวตล้อมทั้งทางบกและทะเล ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้กรอบแนวคิด การจัดการต้นทาง ,การจัดการกลางทาง,การจัดการปลายทาง
2.เป้าหมายแผนจัดการ "ขยะพลาสติก"
นำยะพลาสติกเป้าหมายที่เข้าสู่ระบบฝังกลบขยะลดลง ร้อยละ 100 ไม่ว่าจะเป็น ขวดพลาสติก (ทุกชนิด) ฝาขวด บรรจุภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกชั้นเดียว ถุงพลาสติกหูหิ้วและถ้วย/แก้วพลาสติก รวมไปถึงการรีไซเคิล ร้อยละ 100ได้แก่ ขวดพลาสติก(ทุกชนิด) ฝ่าขวด บรรจุภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกชั้นเดียว ถุงพลาสติกหูหิ้ว และถ้วย/แก้วพลาสติก ลดปริมาณขยะพลาสติกที่มีโอกาสหลุดรอดลงสู่ทะเล ร้อยละ 50 จัดให้มีเครื่องมือในการบริหารจัดการขยะพลาสติก
3.มาตรการที่ภาครัฐ และคนไทยต้องทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายจัดการ "ขยะพลาสติก"
-ส่งเสริมการออกแบบผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เน้นให้ความสำคัญกับการควบคุม ป้องกัน เพื่อลดการเกิดขยะพลาสติก ตั้งแต่การออกแบบการผลิตสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กำหนดสัญลักษณ์ให้กับประเภทผลิตภัณฑ์พลาสที่ต้องนำกลับเข้าสู่ระบบรีไซเคิล หรือต้องนำไปจัดการหรือกำจัด เพื่อให้ง่ายต่อการคัดแยกและสร้างการเรียนรู้ของประชาชน
-ลด "ขยะพลาสติก" ในขั้นตอนการบริโภคร่วมมือกับเอกชน และภาครัฐ องค์กรปกครองท้อถิ่น เพื่อสนับสนุนการลดขยะพลาสติกผ่านการ รณรงค์และสร้างแคมเปญระดับประเทศเพื่อสื่อสารต่อสาธารณะภายใต้แนวทางงดการให้-ปฏิเสธการรับ ลดการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียว
-คัดแยกขยะจากบ้านเรือน อาคาร สำนักงาน ที่สอดคล้องกับวิธีการกำจัดที่ปลายทาง สร้างความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์พลาสติกให้แก่ประชาชนว่าชิ้นไหนสามารถนำกลับไปใช้ซ้ำได้ หรือสามารถเข้าสู่ระบบรีไซเคิลได้
-ลดปริมาณ "ขยะพลาสติก" ในทะเล โดยการสำรวจพื้นที่ระบบบเก็บขยะ บริเวณริมคลองแม่น้ำ และริมฝั่งทะเล 23 จังหวัด เน้นการคัดแยกขยะก่อนนำไปกำจัดและควบคุมกรณีมีการขนส่งขยะมากำจัดบนฝั่ง วางระบบคัดแยกรวบรวม และการจัดการขยะพลาสติกและขยะประเภทอื่น สำหรับเรือท่องเที่ยว นักท่องเที่ยว และเครื่องมือประมง