สร้างกำแพงต้นไม้ซับ 'PM2.5' ทะยานสู่เป้าหมายมี พท. สีเขียว 10 ตร.ม.ต่อคน
กทม.เดินหน้าสร้างกำแพงต้นไม้ซับฝุ่น 'PM 2.5' เร่งสร้างสวน 15 นาที ทะยานสู่เป้าหมายปี 2573 คนกรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวคนละ 10 ตร.ม.
ปัญหาฝุ่น "PM 2.5" ที่เริ่มรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการสุขภาพของประชาชน ผลพวงอย่างหนึ่งจากภาวะความเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศที่เริ่มแสดงอิทธิฤทธิ์ให้มนุษย์อย่างเรา ๆ หันมาตระหนักในการรักษ์โลกมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาปริมาณ "PM 2.5" เริ่มส่งผลกระทบต่อเนื่องและยาวนานมากยิ่งขึ้น
โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดผลกระทบยาวนานและรุนแรง กินเวลามานานกว่าหลายเตือนล้วนเป็นผลมาจากการทำกิจกรรมของคนเราทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นการเผาในที่โล่ง การใช้รถยนต์สันดาบ กิจการโรงงานที่มีการปล่อย คาร์บอนไดออกไซค์ มาเป็นจำนวนมาก ไซต์งานก่อสร้าง โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่เคยมีค่าฝุ่นพุ่งสูงติด TOP5 เมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก
อย่างไรก็ตามหากลองพิจารณาแล้ว กรุงเทพมหานคร เป็นอีกหนึ่งเมืองได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศอย่างเลี่ยงไม่ได้ อีกทั้งภูมิศาสตร์ยังไม่เอื้อต่อการที่จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาพัฒนา เพื่อพื้นที่สีเขียว หรือแม้แต่การควบคุมไม่ให้มีการก่อสร้างเพิ่มขึ้น เพราะกรุงเทพฯ จัดว่าเป็นมหานครที่กำลังอยู่ในช่วงพัฒนา และต้องพัฒนาต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด
แม้ว่าจะมีข้อจำกัดหลายๆด้านที่ที่ทำให้คนกรุงเทพฯต้องเผชิญกับมลภาวะต่อไป แต่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ผู้กำลังดูแลเมืองหวงแห่งนี้ได้พยายามที่จะลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่เมือง และคนที่อาศัยในเมืองอย่างไม่หยุดหย่อน โดย เฉพาะนโยนบายการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ที่เป็นนโยบายหลักของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯกทม.)
นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้สัมภาษณ์กับ คมชัดลึก ถึงนโยบายการเพิ่ม พื้นที่สีเขียว แบบเร่งด่วนของ ผู้ว่าฯชัชชาติ รวมไปถึงแผนการปลูกต้นไม้ในระยะยาว เพื่อให้เกิดการดูดซับฝุ่น และมลภาวะในอากาศ ว่า กทม.มีเป้าหมายในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ด้วยการกระจายพื้นที่สีเขียวให้ใกล้กับประชาชนมากกว่าทุ่มงบประมาณในการสร้างสวนสาธารณะขนาดใหญ่เพียงไม่กี่แห่ง ดังนั้นนโยบายสวน 15 นาทีทั่วกรุง หรือการเพิ่มสวนสาธารณะขนาดเล็กในระยะ 800 เมตร ที่สามารถเดินมาได้ใกล้ ๆ ทำให้ทุกคนเข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้อย่างเท่าเทียม สะดวก คนกรุงเทพฯมีสถานที่ทำกิจกรรม เล่นกีฬา ออกกำลังกาย มากยิ่งขึ้น นโยบายสวน 15 นาทีจึงเป็นนโยบายที่เน้นการเข้าถึงพื้นที่สีเขียวของประชาชนให้มากขึ้น ซึ่งเป้าหมายกสร้างพื้นที่สีเขียวนั้นจึงไม่ได้โฟกัสแค่เฉพาะการเพิ่มตัวเลขอัตราส่วนพื้นที่สีเขียวเป็นตารางเมตรเท่านั้น
ความยากของการทำสวน 15 นาทีนั้น ดูเหมือนว่าโจทย์ใหญ่จะอยู่ที่การหาพื้นที่ที่สะดวกแก่ประชาชนให้ได้มากที่สุด ดังนั้นการร่วมมือขอใช้ที่ดินของเอกชนจึงเป็นคำตอบที่ที่ดีสุดของการหาพื้นที่ของกทม. ณ ขณะนี้ เพราะลำพังที่ดินหลวง หรือที่ของ กทม.เองเรียกได้ว่ามีความเป็นไปได้น้อยอย่างมาก รองผู้ว่าฯกทม. อธิบายถึงแนวคิดการขอให้ที่เอกชนเพื่อสร้างพื้นที่สีเขียว ว่า การที่เราจะขอใช้พื้นที่ของเอกชนแน่นอนว่า กทม.จะต้องมีข้อแลกเปลี่ยนที่สามารถจูงใจให้เอกชนยกที่ดินให้ใช้ได้เป็นการชั่วคราว ดังนั้นหากเอกขนเจ้าไหนอนุญาตให้กทม.ใช้พื้นที่ กทม.จะยกเว้นการจัดเก็ยภาษีที่เดินรกร้างให้ แต่ในการใช้ประโยชน์นั้น กทม.จะขอใช้ที่ดินไม่น้อยกว่า 7 ปี ซึ่งขณะนี้มีเอกชนแจ้งความประสงค์ขอให้กทม.ใช้ที่ดินได้ชั่วคราวแลกกับการยกเว้นภาษีที่ดินรกร้างแล้วกว่า 30 แห่ง
อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการวางแผนแก้ปัญหามลภาวะด้านอากาศ ปัญหาฝุ่น "PM2.5" ในระยะ กทม.ยังมีโครงการปลูกต้นไม้ล้านต้น สร้างพื้นที่สีเขียวและกำแพงกรองฝุ่น ซึ่งถือว่าเป็นโครงการที่สามารถเริ่มต้นได้เร็วที่สุด โดยขณะนี้พบว่ามียอดจองปลูกต้นไม้ไปมากกว่า 1,600,000 ล้านต้น และสามารปลุกได้จริงแล้วกว่า 2.6 แสนต้น ทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งสอดคล้องกับที่นายชัชชาติ เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่าแนวทางการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่ดีที่สุดไม่ใช่แค่การฉีดน้ำเพื่อจับละอองฝุ่นเท่านั้น แต่การปลูกต้นไม้จะเป็นการสร้างกำแพงสำหรับดูดซับฝุ่น "PM2.5" ได้ดีที่สุด เพราะบริเวณสวนลุมได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าต้นไม้ในพื้นที่ช่วยป้องกันฝุ่นได้จริง เพราะบริเวณดังกล่าววัดค่าฝุ่น "PM2.5" ได้ต่ำกว่าจุดอื่น ๆ
หากลองสำรวจพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ ขณะนี้ พบว่า อัตราส่วนพื้นที่สีเขียวขณะนี้นั้นอยู่ที่ 7.63 ตร.ม./คน โดยกทม.มีเป้าหมายว่า ในปี 2573 กรุงเทพมหานครจะต้องมีพื้นที่สีเขียวในรูปแบบสวนสาธารณะไม่น้อยกว่า 10 ตรม./คน