เปิดข้อบัญญัติแรกในรอบ 22 ปี ลด 'มลภาวะทางอากาศ' ให้กรุงเทพฯตลอดไป
เปิดข้อบัญญัติรถโดยสารประจำทางพลังงานไฟฟ้าเพื่อลดมลภาวะ ครั้งแรกในรอบ 22 ปี ที่กทม.จะมีข้อบังคับทางสิ่งแวดล้อม เพื่อ 'มลภาวะทางอากาศ' ให้กับกรุงเทพฯตลอดไปไม่ใช่แค่ครั้งคราว
วิกฤตสิ่งแวดล้อม ปัญหา "มลภาวะทางอากาศ" ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ปีนี้แล้วจบไป เพราะปัญหาดังกล่าวจะวนเวียนมาอยู่ตลอดโดยเฉพาะในช่วงที่อากาศไม่เป็นใจ หรือในวันที่ฟ้าปิด โดยเฉพาะในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีพื้นที่เป็นแอ่งกระทะ เมื่อไหร่ที่อากาศไม่ดีจะเกิดปรากฎการณ์แบบฝาชีครอบทันที โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งที่คนกรุงเทพฯจะต้องเผชิญกับปัญหา PM2.5 อย่างต่อเนื่องทุกปี
แม้ว่ากรุงเทพมหานคร (กทม.) ผู้ดูแลคุณภาพชีวิต และคุณภาพสิ่งแวดล้อมของเมืองหลวงแห่งนี้จะพยายามออกแนวทางเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนที่ประชาชนจะต้องเผชิญกับสภาพอากาศย่ำแย่ จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตเพียงใด ก็เหมือนดูว่าจะเป็นแค่แนวทางแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น แต่สิ่งที่ต้องย้อนกลับดูก็คือการบัญญัติข้อบังคับที่จะช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อม กทม. กลับไม่มีแม้แต่ฉบับเดียว
หากถามถึงนโยบาย และการแก้ไขปัญหา "มลภาวะทางอากาศ" ปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่ กทม.กำลังทำอยู่ก็มีให้เห็นเป็นรูปธรรมกันอยู่ทั้งนโยบายสวน 15 นาที โครงการปลูกต้นไม้ล้านต้น และมาตรการเร่งด่วนในช่วงที่ PM2.5 พุ่ง ซึ่งนโยบายที่กล่ามานั้นช่วยบรรเทาปัญหา "มลภาวะทางอากาศ" และฝุ่นละอองขนาดเล็กได้เช่นกัน แต่หากจะแก้ปัญหาในยั่งยืน ประชาชนไม่ต้องเผชิญฝุ่นซ้ำๆ จะต้องแก้ปัญหาให้ตั้งแต่ต้นทาง เพราะจากข้อมูลระบุว่า รถยนต์ รถโดยสาร และการจราจรขนส่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีการปล่อยมลภาวะมากที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ
ดังนั้นหากมีการควบคุมต้นตอปัญหาตั้งแต่แหล่งกำเนิดเชื่อว่าจะช่วยลดปัญหามลพิษในพื้นที่กรุงเทพฯ ลงได้ และนี่คือที่มาของ ข้อบัญญัติรถโดยสารประจำทางพลังงานไฟฟ้าเพื่อลดมลภาวะเพื่อบังคับใช้ในกรุงเทพมหานคร ฉบับแรกในรอบ 22 ปี ของพรรคก้าวไกล ที่เสนอให้ กรุงเทพมหานครออกบัญญัติเพื่อคืนอากาศบริสุทธิ์ให้กับคนกรุงเทพฯ
โดยนายพุทธิพัชร์ ธันยาธรรมนนท์ สมาชิกสภากรุงเทพมหานครเขตยานนาวา ในฐานะประธานคณะกรรมการรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อม อธิบายถึงการแก้ปัญหา และจุดเริ่มต้นในการเสนอร่างข้อบัญญัติฉบับแรกในรอบ 22 ปี เพื่อสยบปัญหาฝุ่นละออง ปัญหามลภาวะในอากาศ ว่า ปัญหา "มลภาวะทางอากาศ" ในพื้นที่กรุงเทพมหานครกว่า 90% มาจากรถขนส่งสาธารณะจากข้อมูลพบว่ามีรถเมล์วิ่งให้บริการในพื้นที่จำนวน 10,000 กว่าคัน
ในจำนวนดังกล่าวมีรถดีเซลมากกว่า 7,000 คัน รถ CNG 5,000 กว่าคัน และมีรถเมล์ไฟฟ้าแค่หลักร้อยคันเท่านั้น จำนวนรถเมล์ดีเซลเหล่านี้หากนับเป็นรอบการให้บริการในแต่ละวันพบว่าอันตราการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นจำนวนมาก เพราะแต่ละคันมีอายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 20 ปี
ยิ่งเก่ามากเท่าไหร่การปล่อยคาร์บอนยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้สภาพความเชื่อมโทรมของรถเมล์ยังทำให้คนไม่อยากใช้บริการ จนสุดท้ายต้องเอารถส่วนตัวออกมาขับ ซึ่งนั้นหมายถึงเพิ่มมลภาวะในอากาศให้สูงขึ้น ดังนั้นหาก กทม.สามารถแก้ปัญหารถเมล์ได้ก็จะทำให้ประชาชนหันมาใช้รถเมล์มากขึ้น ลดการให้รถยนต์ส่วนตัว และลดการปล่อยคาร์บอนในรถยนต์สันดาปลง
ข้อบัญญัตินี้นอกจากจะเป็นร่างข้อบัญญัติครั้งแรกในรอบ 22 ปี เพื่อแก้ปัญหามลภาวะอย่างยั่งยืนแล้ว ยังจะเป็นข้อบัญญัติแรกที่เสนอให้มีการลงโทษทางอย่างเด็ดขาดกับคนท่ฝ่าฝืนไม่ใช่แค่การขอความร่วมมือเหมือนที่ผ่าน ๆ เพราะ นายพุทธิพัชร์ มีความเห็นว่า การขอความร่วมมืออย่างเดียวใช้ไม่ได้ผล เพราะที่ผ่านมา กทม.เคยมีการขอความร่วมมือมาโดยตลอด ดังนั้น หากจะออกข้อบัญญัติที่มีผลทางกฎหมาย มีบทลงโทษทั้งทางแพ่ง และทางอาญาบ้างจะทำให้คนเกรงกลัว และให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามข้อบัญญัติมากยิ่งขึ้น
โดยรายละเอียดยล่างข้อบัญญัติบัญญัติรถโดยสารประจำทางพลังงานไฟฟ้าเพื่อลดมลภาวะ มีใจความสำคัญ ดังนี้
ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับสืบเนื่องจาก สภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะมลพิษทางอากาศที่มาจากสารมลพิษที่ปล่อยออกจากรถยนต์ที่ใช้ เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดหรือแบบสันดาปภายในที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงซึ่งมีการเผาไหม้ภายใน ส่งผลให้เกิดฝุ่นละอองและควันกระจายทั่วไปในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง
โดยเฉพาะปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ที่เป็นอันตรายแก่ประชาชนเป็นอย่างมาก เพื่อควบคุมปริมาณสารมลพิษที่ออกจากรถยนต์ ไม่ให้เกินเกณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อประซาชน จึงเห็นควรมีมาตรการกำหนดให้รถโดยสารประจำทางปรับปรุงเป็นรถ ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าซึ่งเป็นพลังงานสะอาด ไม่ส่งผลกระทบต่อมลภาวะทางอากาศ
ดังนั้นจึงเห็นสมควรให้กรุงเทพมหานครตราข้อบัญญัตว่าด้วยรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า โดยข้อบัญญัตินี้จะบังคับใช้ ภายใน 1 ปีหลังจากที่มีการประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว เพื่อหน่วงเวลาให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ เอกชนที่รับสัมปทานเดินรถได้มีเวลาเตรียมตัว หลังจากนั้นในระยะเวลา 7 ปี จะเริ่มทะยอยเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวมีการอ้างอิงจากระยะเวลาสัมปทานเส้นทางของระเมล์มาแล้ว เพื่อให้เอกชน หรือ ขสมก.เดือดร้อน และมีเวลาในการเตรียมตัวเพื่อเปลี่ยนเข้าสู่โหมดการใช้ รถเมล์ไฟฟ้า
ส่วนการบังคับใช้ข้อบัญญัติมีกา ระบุ ชัดเจนว่า ห้ามไม่ให้รถโดยสารที่ไม่ใช้พลังานไฟฟ้าเข้ามาวิ่งในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร หากพบว่าฝ่าฝืนจะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละ 5,000 บาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืน
อย่างไรก็ตาม นายพุทธิพัชร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตนมีความหวังว่าหากร่างบัญญัติดังกล่าวที่จะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภากรุงเทพมหานครในวันที่ 5 เม.ย. 66 ผ่านความเห็นชอบ และสามารถฝ่านด่านไปจนถึงวาระที่ 3 ซึ่งเป็นวาระสุดท้ายในการพิจารณาร่างข้อบัญญัติได้ คนกรุงเทพฯจะมีอากาศที่บริสุทธิ์ นโยบายแก้ปัญหามลพิษ เพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดฝุ่น PM2.5 ของกทม.จะมีประสิทธิภาพและยั่งยืน แก้ปัญหาได้ตั้งแต่ต้นทาง