'หมอกควัน' ภาคเหนือมาจากเพื่อนบ้าน 80% จี้รัฐเร่งเจรจาลดปัญหาสิ่งแวดล้อม
ภาคเหนือเผชิญ 'หมอกควัน' ไปอีก 5 วัน ผู้เชี่ยวชาญระบุ 80% มาจากเพื่อนบ้าน แนะรัฐทำข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมโดยด่วน ชี้ทางออกลดฝุ่นควันในประเทศไทยด้วยนวัตกรรม ก่อนสุขภาพประชาชนทรุดลงทุกปี
สภาลมหายใจภาคเหนือ จัดเสวนาเพื่อหาทางออก และแนวทางแก้ปัญหาฝุ่นควันในพื้นที่ภาคเหนือ ที่ขณะนี้เข้าสู่ขั้นวิกฤตและคาดการณ์ว่าสถานการณ์จะลากยาวไปจนถึงช่วงเดือนเมษายน ภายใต้หัวข้อ "ฝุ่นข้ามแดน มีสัดส่วนกี่% ของฝุ่น "หมอกควัน" ทั้งหมด" โดยมี ผศ.ดร. ชาคริต โชติอมรศักดิ์ หัวหน้าศูนย์ภูมิภาคศึกษาด้านภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้คิดค้นภาพจำลองการพยากรณ์ฝุ่น
ได้มีการนำเสนอผลการใช้แบบจำลองฝุ่นซึ่งพบว่าปัญหาฝุ่น "หมอกควัน" ในพื้นที่ภาคเหนือมาจากการเผาในประเทศพื้นบ้านกว่า 80% โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ แม่สาย ตะเข็บชายแดนเชียงแสน 80% น่าน 70% และบริเวณจังหวัดไข่แดงของภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ 60%
แนวทางลด "หมอกควัน" ที่จะสามารถดำเนินการได้คือ ไทยจะต้องมีการควบคุมการเผาในพื้นที่ของตัวเองก่อน จากนั้นผู้ที่มีอำนาจจึงนำเอางานวิจัยไปเจรจากับประเทศพื้นบ้าน โดยเฉพาะในพื้นที่ประเทศเมียนมาร์ที่พบว่ามีการเผาไร่ข้าวโพดเป็นจำนวนมาก เพื่อการส่งออก โดยการหารือกับประเทศเพื่อนบ้านจะอาศัยการเจราจรต่อร้อง หรือการเอาโมเดลการเก็ภาษีคาร์บอนเครดิตข้ามประเทศ ( CBEM ) เข้ามาใช้ในการเจรจา เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาฝุ่นข้ามแดนในระยะยาว
โดย ผศ.ดร. ชาคริต กล่าวระหว่างการเสวนาว่า ที่ผ่านมามีการทำแบบจำลอง "หมอกควัน" ข้ามแดน โดยการเก็บข้อมูลปี 2019-2020 ฝุ่นควันใน 9 จังหวัดภาคเหนือมีสัดส่วนเท่าไหร่ หากภาคเหนือไม่มีการเผาเราจะได้รับจากพื้นที่อื่นอย่างไร ซึ่งเป็นการประเมินสถานการณ์ในพื้นที่ อ.แม่สาย เชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยงานวิจัยจำลองสถานการณ์ฝุ่นว่ากรณีที่ในประเทศไม่เผาเลยอาจจะได้รับฝุ่นข้ามแดนในพื้นที่ข้างเคียงและประเทศพื้นที่บ้านในระดับ 30-40% แต่ในช่วงเดือนม.ค.ต้นทุนฝุ่นยังน้อยมาก และพบว่าเพิ่มปริมาณมากขึ้นใน ช่วง ก.พ.ของทุกปี เริ่มมีสัดส่วนฝุ่นข้ามแดนเยอะมากยิ่งขึ้น
ส่วนในช่วงเดือนมี.ค. ความเข้มข้นฝุ่นจากทุกแหล่งกำเนิดเฉลี่ยรายวันค่อนข้างสูง พบว่าการเผาในพื้นที่ไม่ได้สูงมาก แต่รับผลกระทบมาจากการฝุ่นข้ามแดนในแม่สายมากกว่า 80% ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศพื้นบ้านข้างเคียง
อย่างไรก็ตามในปี 2023 ได้เห็นสถานการณ์ที่ค่อนข้างรุนแรง มีแนวทางการวิเคราะห์ให้เห็นตัวเลข เพื่อเป็นมาตรการและนำข้อมูลไปเจรจา แม้ว่าจังหวัดข้างเคียงจะไม่มีการเผา แต่ตัวเลขฝุ่น หมอกควัน ข้ามแดนยังมีผลกระทบ โดยในเดือนเม.ย. จะเป็นเดือนสุดท้ายของฤดูหมอกควัน ดังนั้นปัญหาในพื้นที่ภาคเหนือจะยังคงได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง
ผศ.ดร.ชาคริต ระบุเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ได้มีการพยากรณ์ในวันที่ 27 มี.ค. 66 พบว่า คุณภาพอากาศในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นคุณภาพที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และอันตราย และสถานการ์ยังอยู่ไปถึง 1 เม.ย. 66 เพราะช่วงกลางคืนมีการสะสมของฝุ่น และ "หมอกควัน" เนื่องจากสภาพอากาศค่อนข้างแย่เพราะลมน้อยส่งผลให้ฝุ่นลอยตัวต่ำลงจึงเกิดการสะสมของฝุ่นจำนวนมาก สำหรับสถานการณ์อีก 3-5 วันแนวโน้มสถานการณ์จากการพยากรณ์ พบว่า ระดับฝุ่นมีผลสุขภาพค่อนข้างมาก และอันตรายสถานการณ์จะเกิดขึ้นต่อเนื่องจนถึงต้นเดือนเม.ย. แต่จะมีลมบ้างในช่วงกลางวัน ซึ่งจะทำให้สถานการณ์เบาลงเพราะอากาศยกตัว
- แก้ปัญหา หมอกควัน วนประเทศ ส่งเสริมทำเกษตรให้ถูกที่ ใช้นวัตกรรมแก้ปัญหา
อย่างไรก็ตามในเวทีเสวนาของสภาลมหายในภาคเหนือ ยังมีการเสนอแนวคิด วิธีการ ที่จะนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันในพื้นที่แบบระยะยยาว ทั้งการควบคุมไฟในพื้นที่ของประเทศไทย และการเจรจากับประเทศพื้นบ้าน แต่สำคัญคือรัฐจะต้องพยายามลดการเผาในประเทศลงให้ได้ก่อน โดยเฉพาะการเผาในพื้นที่เกษตรของประเทศไทย เพราะปัจจุบันพบว่า เอกชนรายใหญ่รายใหญ่ที่รับซื้อข้าวโพดนั้นมีผลให้ทำเกษตรจำเป็นจะต้องเผาข้าวโพด เพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก แต่ยังไม่เคยการออกมาแสดงความรับผิดชอบถึงผลกระทบที่ประชาชนได้รับ ดังนั้นคือจะต้องมีการตรวจสอบสัดส่วนการเผาในไร่ข้าวโพดก่อน พน้อมทั้งบริหารจัดการให้มีพื้นที่การปลูกที่เหมาะสม นำเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการเผา
รวมไปถึงการใช้แอปพลิเคชันต่างๆ เช่น แอปพลิเคชัน FireDEE เพื่อตรวจสอบพื้นที่บริหารจัดการไฟ เลือกแอปพลิเคชันให้เหมาะสมในการบริหารจัดการไฟในพื้นที่ภาคเหนือก็จะเป็นประโยชน์ค่อนข้างมาก