ชีวิตดีสังคมดี

'หมอกควัน' PM2.5 ทำเชียงใหม่เสียโอกาส  นักท่องเที่ยวหนี คนเสี่ยงตาย

'หมอกควัน' PM2.5 ทำเชียงใหม่เสียโอกาส นักท่องเที่ยวหนี คนเสี่ยงตาย

17 เม.ย. 2566

ปัญหา 'หมอกควัน' PM2.5 กระทบเชียงใหม่ เสียโอกาส ด้านเศรษญกิจนัดท่องเที่ยงไม่กล้าเที่ยว กระทบสุขภาพคนในพื้นที่ แพทย์ชี้เพิ่มอัตราเสี่ยงตายมากขึ้น จี้รัฐบาล นักการเมืองแก้ปัญหาระยะยาวหวั่นอนาคตกระทบหนัก

เว็บไซต์  The Telegraph รายงานคุณภาพอากาศในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย จากที่เป็นเมืองสวยงาม เป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยวจำนวนมาก รวมทั้งยังเป็นปลายทางของนักแสวงบุญ แต่ในช่วงนี้ เขียงใหม่กลับเป็นเมืองที่มีมิลพิษทางอากาศมาที่สุดในโลก และกำลังแข่งขันอยู่กับกับเมืองใหญ่ ๆ อย่าง เดลี ประเทศอินเดีย และ เซียงไฮ้ ประเทศจีน เพื่อชิงตำแหน่งเมืองที่คุณภพอากาศแย่ที่สุดในโลก  

 

 

หลายคนที่เคยเดินทางไปเชียงใหม่ในวันที่อากาศดีจะสามารถมองเห็น เจย์ดีสีทองของวัดพระธาตุดอยสุเทพ แต่ในช่วงนี้จะไม่ใช่อย่างนั้นอีกต่อไป นักท่องเที่ยว และนักแสดงบุญทั้งหลายที่เดินทางไปยังวัดพระธาตุดดอยสุเทพไม่สามารถมองลงมาและเห็นทิวทัศน์ด้านล่างเหมือนเช่นเคย เพราะ "หมอกควัน" ที่ปกคลุมอย่างหนาแน่น 

 

คนขับรถรับจ้าง ระบุว่า ปีนี้เป็นปีที่ "หมอกควัน"  ฝุ่นละออง หนาทึบอย่างมาก และกินเวลายาวนาน จนผมคิดว่า เชียงใหม่ มี 4 ฤดู ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว และ ฤดูหมอกควัน 

 

หมอกควันปกคลุมเชียใหม่

อย่างไรก็ตามในแต่ละปีเชียงใหม่สามารถดงดูนักท่องเที่ยวปีละหลายล้านคน ที่ต้องการดื่มด่ำกับธรรมชาติ เดินป่า สัมผัสกับป่าเขา และใช้เชียงใหม่เป็นสถานที่ในการเติมพลัง เพราะเป็นเมืองที่สงบสุข  แต่ปัจจุบันกลับไม่เป็นอย่างนั้นเมืองที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดที่มีประชาชนอยู่นับแสนคน กำลังแข่งขันกับเมืองใหญ่ๆ เพื่อเป็นเมืองที่มีคุณภาพอากาศเลวร้ายที่สุดในโลก  

 

 

สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เชียงใหม่เป็นเมืองที่ถูกปกคลุมด้วย "หมอกควัน" มาจาก ฤดูการเผาไหม้  โดย เว็บไซต์  The Telegraph  ระบุว่า ตามที่ข้อมูลจากเว็บไซต์ IQAir ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่จัดทำดัชนีคุณภาพอากาศ มีการตรวจวัดอากาศจำนวน 100 เมืองทั่วโลก โดย เชียงใหม่ ถูกจัดอันดับให้เป็นเมืองที่คุณภาพอากาศไม่มีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางวัน ขณะที่เมืองหลวงของประเทศไทย อย่างกรุงเทพมหานครก็เป็นอีกหนึ่งเมืองที่คุณภาพเริ่มกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยมีการวัดคุณภาพอากาศได้ที่ 80 ไมโครกรัม/ลบ.ม.  หากเทียบกับเมืองใหญ่ๆ อย่าง เบอร์มิงแฮม และ ลอนดอน ในประเทศอังกฤษ  ที่สามารถตรวจวัดปริมาณฝุ่นอยู่มี่ 8-25 ไมโครกรัม/ลบ.ม. เท่านั้น 

 

หมอกควันปกคลุมภาคเหนือ

 

 

  • PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ห่วงวัยรุ่นอายุสั้นเพราะฝุ่นพิษ 

ย้อนกลับมาที่เชียงใหม่ ที่กำลังเผชิญกับปัญหา "หมอกควัน" ตามฤดูกาล ศ.นพ.ชายชาญ โพธิรัตน์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  เปิดเผยกับ เว็บไซต์  The Telegraph ว่า หากย้อนกลับไปในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาสภาพอากาศ ปัญหา "หมอกควัน" ในพื้นที่เชียงใหม่ เริ่มเลวร้ายลงเรื่อย ๆ  ท่ามกลางการเติบโตด้านการคมนาคม การจราจร และการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ที่กลายเป็นกิจกรรมที่มีผลต่อมลพิษในอากาศของกรุงเทพมหานคร แต่เชียงใหม่กลับเป็นเมืองที่ได้รับผลกระทบ จากการเผาในที่โล่ง และการเผาของประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ลาว เมียนมาร์  โดยในทุก ๆ จะได้รับผลกระทบประมาณเดือนก.พ.-มี.ค.  

 

และสิ่งที่มีส่งผลกระทบต่อสุขภาพมากที่สุดคือ PM2.5 ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เพิ่มความเสี่ยงต่อผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และมะเร็งปอด ทั้งนี้เมื่อช่วงปลายเดือนมี.ค.2566 พบว่า ในช่วงเวลากลางวันมีปริมาณฝุ่น PM2.5 สูงถึง 128 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ซึ่งเป็นระดับที่ WHO ระบุให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพมากถึง 5 เท่า  ซึ่งส่งผลอันตรายต่อผู้ป่วยทางเดินหายใจ โรคปอด ในบางรายอาจจะถึงขั้นเสียชีวิต 

 

ข้อมูลจากงานวิจัย ระบุว่า ทางตอนใต้ของหมู่บ้านป่าตึงงาม ซึ่งใกล้เคียงกับจุดที่มีการเผาอย่างรุนแรงะบว่า มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตไวขึ้นประมาณ 3.5%  อัตราความเสี่ยงเสียชีวิตนั้นไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นเพราะความเข้มข้นของ PM2.5 ซึ่งหากเพิ่มขึ้น 10 ไมโครกรัม/ลบ.ม.จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ถึง 1.6% 

 

จากการศึกษาข้อมูลในปี 2560 พบว่า หากสามารถลดมลภาวะทางอากาศ  "หมอกควัน"  PM2.5 ลงได้ 20%  จะสามารถป้องกันการเสียของคนในพื้นที่ลงได้   อย่างไรก็ตามข้อมูลระบุว่า ในแต่ละปีประเทศไทยมีประชาชนกว่า 200,000 ราย ที่เข้ารับการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจ ที่มีผลกระทบมาจากปัญหามลภาวะ แต่ในปีนี้กลับพบว่า แค่ในช่วง มี.ค. มีผู้ป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจแล้วกว่า 1.3 ล้านคน 

 

"เรามองเห็นปัญหามลภาวะทางอากาศที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนเชียงใหม่มากยิ่งขึ้น แต่รัฐบาล นักการเมือง กับมีแนวคิดที่จะแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 แบบชั่วคราวเท่านั้น และยังมีการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในอนาคตที่ต่ำเกินไป โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่อาจจะสังเกตเห็นผลกระทบต่อสุขภาพน้อย แต่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า PM2.5 จะเริ่มมีผลกระทบต่อการทำงานของปอดวัยรุ่นจะเริ่มป่วยมากยิ่งขึ้น ปัญหาหมอกควันจะทำให้พากเขาอายุสั้นลง" ศ.นพ. ชายชาญ กล่าว 

 

 

ในฐานะแพทย์ประจำโรงพยาบาลมหาราช เชียงใหม่  ที่ทำการรักษาประชาชนในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง พบว่า สุขภาพของประชาชนทรุดโทรมลงเรื่อย ๆ ในช่วงแค่ไม่กี่ปีที่ผ่านมา  คนเชียงใหม่ส่วนใหญ่ไม่สามารถย้ายออกจากพื้นที่ได้ แต่ตนได้บอกกับผู้ป่วยที่เป็นชาวต่างชาติ และนักท่องเที่ยวให้เดินทางไปเที่ยวในพื้นที่ภาคใต้แทน เพื่อเป็นการป้องกันตัวเอง 
 

หมอกควันปกคลุมเชียงใหม่

 

  • เลือกวิธีเผา เพราะง่ายต่อการล่าสัตว์ หาของป่า 

อดีตนายพราณ ที่เคยหาของป่าในบริเวณป่าตึงงาม ซึ่งอยู่ห่างไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 90.5 กิโลเมตร ให้ข้อมูลว่า เกษตรกรหลายคนทำงานกับภาคธุรกิจรายใหญ่ที่มีการรับซื้ออ้อย และข้าว ดังนั้นจึงมีการเผาเพื่อเคลียร์พื้นที่สำหรับเตรียมแปลงปลูกในรอบถัดไป  ขณะเดียวกัน ไฟป่าก็เริ่มปะทุขึ้นทั้งจากอากาศที่แห้งแล้ง และการเผาป่าของชาวบ้านเพื่อหาของป่า เพราะการเผาเป็นวิธีการที่ง่ายต่อการล่าสัตว์ และหาของป่า แม้ว่าภาครัฐจะมีประกาศห้ามเผา แต่ประชาชนก็ยังคงดำเนินการต่อไป เพราะเกษตรไม่สามารถชื้อเครื่องมือที่ดีมาใช้ได้ ชาวบ้านจึงใช้วิธีการเผา เพราะคิดว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด  

 

อย่างไรก็ตามปัญ "หมอกควัน" ในเชียงใหม่ที่เริ่มรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เชี่ยวชาญมีความกังวลถึงปัญหาหมอกควัน ที่จะส่งผลกระทบด้านสุขภาพ และเศรษฐกิจในเชียงใหม่ พร้อมกับมีการเรียกร้อง ให้พรรคการเมืองกำหนดนโยบาย และการแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศของภาคเหนือ เพื่อเป็นแนวทางในการหาเสียงสำหรับการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง 

 

หมอกควันปกคลุมเชียงใหม่

 

 

  • "หมอกควัน" PM2.5 กระทบยอดจองที่พักลดล 50%  

ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ระบุว่า มลพิษทางอากาศทำให้คนเจ็บป่วย และต้องเสียเงินไปกับการรักษาพยาบาล ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบไปถึงภาคธุรกิจ ที่สูญเสียโอกาสในการทำเงิน เพราะผู้คนจะหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกบ้าน  นอกจากนี้อาการเจ็บป่วยเพราะปัญหามลพิษ ยังส่งผลกระทบไปถึงการทำงาน ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง  ข้อมูลระบุด้วยว่า มีการประเมินความเสียหายจากปัญหา PM2.5 ในปี 2562 พบว่าสร้างความเสียหายให้กับระเทศไทยมากถึง 2.17 ล้านล้านบาท ซึ่งเท่ากับ 11% ของ GDPภายในประเทศ  

 

ผู้คน เริ่มหวาดกลัว และมีความกังวลกับปัญหาหมอกควันในเชียงใหม่มากยิ่งขึ้น  โดยในช่วงต้นเดือยมี.ค.พบว่า แม้ว่าจะยังไม่พบการยกเลิกการจองที่พัก แต่กลับพบว่าธุรกิจเกี่ยวกับกิจกรรมกลางแจ้งมีคนเข้าใช้บริการลดลง และคาดว่าอาจจะลดลงมากถึง 50%  เนื่องจากนักท่องเที่ยวหวั่นจะได้รับผลกระทบถึงมลพิษ  ทั้งนี้มลพิษทางอากาศถือว่าเป็นปัญหาระดับชาติ ไม่ใช่แค่ปัญหาในพื้นที่เชียงใหม่ และปัญหาการเผาในที่โล่งของภาคการเกษตรไม่ใช่ปัญหาหลักที่ทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศ แต่กลับพบว่า ปัญหาด้านการขนส่ง จราจร การพัฒนาภาคอุตสาหรรม และการเติบโตของเมืองขนาดใหญ่ก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ส่งผลกระทบอย่างมาก  โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่พบว่าในปีนี้เผชิญกับปัญหามลพิษมากขึ้น 

 

 

ที่มา: เว็บไซต์ The Telegraph