ชีวิตดีสังคมดี

ภูเก็ตไม่รอด 'หมอกควัน' รับอิทธิพลจากอาเซียนตอนบน เตือน 1-2 เดือนจากนี้

ภูเก็ตไม่รอด 'หมอกควัน' รับอิทธิพลจากอาเซียนตอนบน เตือน 1-2 เดือนจากนี้

19 เม.ย. 2566

ภูเก็ต ไม่รอด 'หมอกควัน' เผชิญปัญหาไปอีก 2 วัน ผู้เชี่ยวชาญระบุได้รับอิทธิพลมาจากอาเซียนตอนบน เตือนจากนี้ 1-2 เดือนฝุ่นอาจจะเพิ่มขึ้นหากลมไม่เปลี่ยนทิศ

นายธารา บัวคำศรี  ผู้อำนวยการ กรีนพีซ ประเทศไทย  ให้สัมภาษณ์กับ คมชัดลึก ถึงกรณีที่วานนี้ (18 เม.ย.2566) องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตออกประกาศ ว่า ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ที่มีลักษณะคล้าย "หมอกควัน" เป็นเพียงปรากฎการณ์ฟ้าหลัวเท่านั้น ไม่ใช่ฝุ่น PM2.5 ที่อยู่ในอากาศ  ว่า  เหตุการณ์ ฟ้าหลัว ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภูเก็ต หรือที่ทางจังหวัดประกาศว่า คือ เหตุการณ์ฟ้าหลัวนั้นแท้จริง ปรากฎการณ์ฟ้าหลัว คือ ปรากฎการณ์ที่ทัศนวิสัยท้องฟ้าไม่ดี เนื่องจากมีฝุ่นละอองลอย ในอากาศปริมาณมาก  โดยฝุ่นละอองลอยมีทั้งของแข็งขนาดเล็ก ที่เกิดจากการเผาในที่โล่ง  การเผาป่า  เผาชีวะมวล  และพฤติกรรมของมนุษย์ทั้งจากการจราจร ส่งผลให้เกิด PM2.5

ซึ่งจากการตรวจจับค่าฝุ่นในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตขององค์กรอวกาศของยุโรป ได้ทำการตรวจจับและพบว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมีฝุ่นละอองปะปนในอากาศจริง ซึ่งหากสะสมเป็นจำนวนมากจะทำให้ทัศนวิสัยแย่มาก และมีโอกาสที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เพราะฉะนั้นการออกประกาศของทางจังหวัดจึงเป็นการแจ้งข้อมูลที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง และอาจจะกระทบไปถึงนักท่องเที่ยวหากได้รับข้อมูลที่ผิดพลาด ก็อาจจะมีผลกระทบไปถึงสุขภาพได้  สำหรับสถานการณ์ "หมอกควัน" ในพื้นที่คาดการว่าจะดีขึ้นภายใน 1-2 วัน เพราะจากการติดตามข้อมูลทิศทางลม และการพยากรณ์จะมีลงพัดผ่านเพิ่มขึ้น

 

 

นายธารา กล่าวต่อว่า  ที่ผ่านมาในพื้นที่ภาคใต้ เคยประสบปัญหา หมอกควัน ฝุ่น PM2.5 จากการเผาในประเทศอินโดนีเซีย แต่ปัจจุบันยังพบว่าในบางช่วงที่มีลมพัดมาจากด้านบนของประเทศก็มักจะได้รับผลกระทบจากการเผาของประเทศ ลาว กัมพูชา เวียดนาม เช่นกัน  นอกจากนี้ยังพบว่าในบาช่วงยังได้รับผลกระทบจากการระเหยของเกลือทะเล ที่ผสมกับฝุ่นกับทำให้พื้นที่ภาคใต้ ประกอบกับปีนี้ค่าเฉลี่ยความร้อนสูง ส่งผลให้ภูเก็ตต้องเผชิญกับปัญหา "หมอกควัน"  PM2.5 บ้างเป็นบางช่วง 

 

"ปัญหาฝุ่น "หมอกควัน" ในพื้นที่ภูเก็ต และภาคใต้ส่วนใหญ่มักจะได้รับอิทธิมาจากประเทศในแทบอาเซียนตอนบน แม้ว่าภูมิศาสตร์จะอยู่ในจุดที่สามารถระบาอากาศได้ดี แต่ในบางช่วยอากาศไม่เป็นใจก็ส่งผลให้ หมอกควันพัดผ่านเข้าพื้นที่ได้ แต่ส่วนใหญ่จะเผชิญปัฯหาในระยสั้น ๆ  เพราะทิศทางลมจะค่อย ๆ วนแพร่จาก ลาว กัมพูชา ผ่านคาบสมุทราอันดามัน เข้าอ่างเบงกอล ซึ่งบางช่วงหากเกิดลมเปลี่ยนทิศพื้นที่ภาคใต้ก็จะได้รับกระทบน้อย แต่ในปีนี้ ก็จะต้องเฝ้าระวังในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า เพราะหากเกิดการเผา หรือไฟป่าในพื้นที่ตอนบนก็จะส่งผลกระทบมาถึงบริเวณภาคใต้ได้ "

 

นายธารา กล่าวต่อว่า การสื่อสารกับประชาชน และนักท่องเที่ยวเป็นเรื่องสำคัญ  การสื่อที่สารที่ไม่ตรงกับความจริงไม่ต่างอะไรกับการมองข้ามสุขภาพของประชาชนและนักท่องเที่ยว  ดังนั้นตนเห็นการแจ้งเตือนประชาชนควรจะอาศัยข้อมูล และข้อเท็จจริง จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือมากกว่า