ชีวิตดีสังคมดี

ศาลปกครองเชียงใหม่รับฟ้องนายกฯคดีฝุ่น 'PM2.5' หลังโดน ปชช.ฟ้องซ้ำอีกรอบ

ศาลปกครองเชียงใหม่รับฟ้องนายกฯคดีฝุ่น 'PM2.5' หลังโดน ปชช.ฟ้องซ้ำอีกรอบ

22 เม.ย. 2566

ศาลปกครองชียงใหม่รับฟ้องนายกฯ คดีฝุ่น 'PM2.5' หลังประชาชนไม่ทนฟ้องซ้ำอีก รอบนี้ ก.ล.ต. และคณะกรรมการกำกับตลาดทุนยังไม่โดน หวั่นฝุ่นข้ามแดนยังลอยนวล

ปัญหา "PM2.5" ในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะจ.เชียงใหม่ และจ.เชียงราย เกิดขึ้นและเป็นปัญหาซ้ำซาก ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่อย่างเลี่ยงไม่ได้ หน่วยงานรัฐหลายฝ่ายใช้วิธีการแก้ไขปัญหาแบบชั่วคราว และปล่อยให้ปัญหาลากยาวต่อเนื่องมานานหลายปีทั้งที่สามารถจัดการปัญหาดังกล่าวไดโดยการเอาจริงเอาจัง

 

 

ประชาชนในพื้นที่คือคนที่รับผลกระทบมากที่สุดจากปัญหาดังกล่าว และความเพิกเฉยต่อปัญหาของรัฐบาลจึงนำมาซึ่งการออกมาเรียกร้องสิทธิในการใช้อากาศบริสุทธิ์เพื่อหายใจ และที่ผ่านมาเมื่องช่วงต้นเเดือนเม.ย.2566 ชาวเชียงใหม่ได้รวมตัวกันยื่นฟ้องศาลปกครองเชียงใหม่เอาผิด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อีกครั้ง รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ  คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) และคณะกรรมการกำกับตลาดทุน

 

ดูเหมือนว่าคนภาคเหนือจะมีความหวัง เมื่อวันที่ 21 เม.ย.2566 ที่ผ่านมา ศาลปกครองเชียงใหม่รับฟ้องคดีฝุ่น "PM2.5" ภาคเหนือ ตามที่ประชาชนชาวเชียงใหม่ร้อง เพราะเหตุไม่ใช้อำนาจทางกฎหมายที่มีแก้ไขวิกฤตฝุ่น "PM2.5" ที่เกินค่ามาตรฐานในภาคเหนือ 17 จังหวัด ในช่วงเดือนม.ค.-เม.ย. 2566 ซึ่งเป็นอันตรายต่อต่อสุขภาพของประชาชน

 

 

อย่างไรก็ตามศาลรับฟ้องผู้ถูกฟ้องที่ 1 พล.อ.ประยุทธ์ ผู้ถูกฟ้องที่ 2 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ แต่ไม่รับฟ้องผู้ถูกฟ้องที่ 3 คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ผู้ถูกฟ้องที่ 4 คณะกรรมการกำกับตลาดทุน

สำหรับคำฟ้องประชาชนได้ร่วมกันฟ้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ รวมทั้ง คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) และคณะกรรมการกำกับตลาดทุน มีดังนี้

 

1.ฟ้องนายกรัฐมนตรี ให้ใช้อำนาจตามมาตรา 9 พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติอย่างร้ายแรงให้มีอำนาจสั่งการให้หน่วยงานทำหน้าที่อย่างเข้มงวด เนื่องจากนายกรัฐมนตรีไม่ได้ใช้อำนาจนี้จนการแก้ไขปัญหาวิกฤตฝุ่น "PM2.5" มีความล่าช้า ไม่ทันต่อความร้ายแรงของเหตุการณ์

 

 

2. ฟ้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ให้ปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติการแก้ไขปัญหา มลพิษด้านฝุ่นละออง ซึ่งรัฐบาลประกาศแผนนี้มาตั้งแต่ปี 2562 เนื่องจากในระยะเวลา 4 ปีในการใช้แผนนี้แทบจะไม่เห็นความคืบหน้าและปัญหายังคงความรุนแรงอยู่ นี่คือความผิดปกติที่เราไม่อาจยอมรับ 

 

 

3. ฟ้องคณะกรรมกากำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ในฐานะหน่วยงานกับดูแล ซึ่งมีหน้าที่ครอบคลุมถึงพันธกรณีนอกอาณาเขต กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการจัดทำรายงานการเปิดเผยข้อมูลอย่างรอบด้าน เพิ่มในแบบรายงาน 56-1 OneReport หรือแบบอื่นๆ ในฐานะเอกสารสำคัญสำหรับการตรวจสอบข้อมูลตลอดห่วงโซ่อุปทานอันเกี่ยวเนื่องกับแหล่งกำเนิดฝุ่น "PM2.5" ซึ่งส่งผลกระทบข้ามพรมแดนมายัง

 

 

อย่างไรก็ตามแม้ว่าศาลจ.เชียงใหม่จะรับฟ้องพล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี ในคดีฟ้องร้องฝุ่น "PM2.5" ในครั้งนี้ แต่กลับพบว่า ศาลยังไม่รับฟ้อง ผู้ถูกฟ้องที่ 3 คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ผู้ถูกฟ้องที่ 4 คณะกรรมการกำกับตลาดทุน ซึ่งหมายความว่าปัญหาฝุ่นควันข้าวแดนที่เกิดจากการเผาไร่อ้อย ไร่ข้าวโพดจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่จะเร่งเปาเพื่อนำมาขายในแก่ภาคเอกชนนั้นจะยังไม่ได้รับการแก้ปัญหา และไม่สามารถดำเนินการเอาผิดเรื่องนี้ได้