'PM2.5' ปัญหาไม่ได้เล็ก ตัวต้นเหตุมะเร็งปอด รัฐต้องดูแลไม่ใช่ให้คอยฤดูฝน
ฝุ่น 'PM2.5' ปัญหาใหญ่ของประเทศไทย สร้างความเสียหายจำนวนมากไม่ได้เล็กๆ เหมือนชื่อเรียก รัฐต้องดูแลจริงจังอย่าให้ประชาชนรอคอยแค่ฤดูฝนมาดับฝุ่น
นานนับหลายเดือนที่จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย รวมถึงเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร ตกเป็นเมืองในหมอกควัน และ "PM2.5" ประชาชนต้องใช้ชีวิต ทำกิจกรรม ท่ามกลางปัญหาดังกล่าว และประเทศไทยต้องตกเป็นประเทศที่มีอากาศย่ำแย่แบบสุดๆ ไม่แพ้เมืองใหญ่อย่างอินเดีย
ปัญหาหมอกควัน ฝุ่น "PM2.5" ถูกปล่อยให้ลากยาวมาเป็นเวลานาน เพียงเพราะรัฐคิดว่าเป็นช่วงฤดูที่ประเทศไทยมักจะเผชิญกับปัญหานี้เป็นประจำอยู่ มาตรการที่ออกมาก็แค่การแก้ปัญหาชั่วคราว ราวกับจะบอกประชาชนให้อดทนรอฤดูฝนกันอีกหน่อย เดี๋ยว หมอกควัน ฝุ่นพิษ ก็จางหายไปแล้ว
แต่รู้ไม่ว่าในระหว่างที่ภาครัฐเห็นเรื่องฝุ่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นประจำตามฤดูกาลนั้น ฝุ่นพิษ ค่อย ๆ แทรกซึมเข้าไปในร่างกายของประชาชนชนิดที่เรียกว่าตายผ่อนส่ง ลามไปถึงระบบเศรษฐกิจของจังหวัดท่องเที่ยวอย่างเชียงใหม่ เชียงราย รวมถึงกรุงเทพฯ ด้วย หากมองแค่ตาเรื่อง ฝุ่น "PM2.5" อาจจะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ในความเป็นจริงแล้วผลกระทบขอฝุ่นมีทั้งในแง่ของสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และเศรษฐศาสตร์
โดยเฉพาะสุขภาพทั้งนี้ งานวิจัยระบุว่า "PM2.5" ที่มาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล โดยเฉพาะถ่านหิน ก๊าซ และเบนซิน ซึ่งทำให้ผู้คนทั่วโลกเสียชีวิตกว่า 10.2 ล้านคน ในปี 2555 โดย 62 % ขณะที่ไทยมีผู้เสียชีวิตจาก "PM2.5" กว่า 71,184 คน (สูงเป็นอันดับสามของอาเซียนรองจากอินโดนีเซียและเวียดนาม) โดยผู้วิจัยมีความเห็นว่า "PM2.5" ที่มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลนี้ควบคุมได้ง่ายกว่า PM2.5 ที่เกิดจากสาเหตุอื่น เช่น ฝุ่นและควันจากไฟป่า
ข้อมูลสำนักงานวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศ (IARC) ระบุว่า มลพิษอากาศโดยเฉพาะจาก "PM2.5" ถูกจัดเป็นสารก่อมะเร็ง โดยองค์การอนามัยโลก ได้ประมาณการณ์ในปี 2559 ว่า ไทยมีผู้เสียชีวิตด้วยโรค มะเร็งปอด ซึ่งมีสาเหตุมาจากมลพิษอากาศถึง 6,330 ราย สำหรับการเจ็บป่วยพบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2563 พบรายงานผู้ป่วยมะเร็งปอด 122,104 ราย คิดเป็น 186.26 ต่อแสนประชากร
ขณะที่ประเทศไทยพบว่า แนวโน้มการเสียชีวิตในช่วงที่มีค่ามลภาวะทางอากาศสูงจากปี 2559-2562 เพิ่มขึ้นกว่า 200% นอกจากนี้จากการศึกษาขององค์การอนามัยโลกในส่วนของประเทศไทยพบว่า มีผู้เสียชีวิตจาก "PM2.5" สูงเป็น 4 เท่าของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุการจราจรทางบก
สอดคล้องกับข้อมูลของ นพ.วิรุฬ ลิ้มสวาท หัวหน้ากลุ่มวิจัยสังคมและสุขภาพ สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข หนึ่งในผู้ก่อตั้งเครื่อข่ายอากาศสะอาด ให้สัมภาษณ์กับ คมชัดลึก ว่า ฝุ่น "PM2.5" ส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยเฉพาะด้านสุขภาพซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะยาวและระยะเฉียบพลัน
โดยในระยะยาวพบว่าฝุ่น "PM2.5" ที่มีขนาดเล็กจะสามารถแทรกซึมเข้าได้เข้าสู่ร่างกาย ได้จากการสูดดมหมอกควันหรือควันพิษเป็นระยะเวลานานนานต่อเนื่องกัน โดย "PM2.5" จะเข้าไปทำให้ระบบในร่างกายเกิดการอักเสบ และหากเข้าไปยังกระแสเลือดจะส่งผลให้เส้นเลือดมีการหดเกร็งกระทบไปยังเส้นเลือดในสอมง นอกจากนี้ยังพบว่าการก่อให้เกิดการอักเสบในร่างกายนั้นส่งผลต่อปริมาณอินซูลินซึ่งมีโอกาสทำให้เป็นโรคเบาหวานได้
นพ. วิรุฬ อธิบายต่อว่า ส่วนผลกระทบในระยะยาวนั้นแน่นอนว่า ฝุ่น PM2.5 เป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่งซึ่งหากได้รับการส่งนมเป็นระยะเวลาติดต่อกันนานนานจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปอดมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า "PM2.5" สามารถ กระตุ้นให้เกิดโรคไม่ติดต่ออย่างเช่นเบาหวาน ความดันได้อีกด้วย
สำหรับสถานการณ์ฝุ่นทางภาคเหนือที่พบว่ามีค่าเฉลี่ยสูงต่อเนื่องมานานถึงสามถึงสี่เดือน แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบกับประชาชนที่อยู่ใน แม้จะเป็นช่วงเวลาที่ฝุ่นควันหนาแน่นเพียงระยะหนึ่งแต่ช่วงเวลาดังกล่าวก็ทำแม้จะแม้จะเป็นช่วงเวลา ที่ฝุ่นควันหนาแน่นเพียงระยะหนึ่งแต่ช่วงเวลาดังกล่าวก็ทำให้ร่างกายได้รับผลกระทบได้แล้ว
อย่างไรก็ตามทางเครือข่ายสะอาดพบว่า "PM2.5" นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพนั้นในงานวิจัยยังระบุด้วยว่าการปล่อยให้เกิดปัญหาในพื้นที่เป็นระยะเวลายาวนานต่อกันจะส่งผลกระทบไปถึงระบบเศรษฐกิจของพื้นที่ด้วย
“ฝุ่นในพื้นที่ภาคเหลือเริ่มพีคในช่วง 5 ปีก่อน แต่หลายฝ่ายยังมองว่าผลกระทบ PM2.5 เกิดขึ้นแค่ไหนระยะสั้น และมีเพียงไม่กี่พื้นที่ของประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบ แต่หากพูดตามความเป็นจริงแล้ว PM2.5 เป็นภัยที่มองไม่เห็นและสร้างความเสียหายขนาดใหญ่ให้แก่ประเทศและประชาชนได้” นพ.วิรุฬ กล่าวทิ้งท้าย