โอกาสเกิด 'คลื่นความร้อน' ในไทยปีนี้ยังต่ำ แต่ปีหน้ามีสิทธิเจอแบบยุโรป
กรมอุตุฯแจง โอกาสเกิด 'คลื่นความร้อน' ในประเทศไทย ปี 66 ยังไม่เจอ พายุฤดูร้อนช่วยไว้ แต่กีหน้ามีสิทธิเจอเหมือนยุโรปแน่นอน
อุณหภูมิความร้อนที่พุ่งสูงมากขึ้นในแต่ละวัน จนส่งผลให้ที่ผ่านมา จ.ตากมีอุณหภูมิพุ่งไปที่ 45.4 องศา รวมไปถึงยังมีการออกมาเตือนให้ประเทศไทยเฝ้าระวัง "คลื่นความร้อน" เอเชียในช่วงเดือนนี้ โดยคาดว่าจะยังคงอยู่ต่อไปอีกประมาณ 3 สัปดาห์ที่ไทยจะอยู่ในสถานการณ์ Monster Asian Heatwave ซึ่งอุณหภูมิมีโอกาสที่จะพุ่งไปถึง 50 องศา
โดยสถานการณ์ดังกล่าวไม่เคยเกิดขึ้นที่ประเทศไทยมาก่อน เนื่องจากปรากฎการณ์ "คลื่นความร้อน" มักจะเกิดขึ้นในโสนยุโรปเท่านั้น กรณีที่มีการแจ้งเตือน "คลื่นความร้อน" อาจจะสร้างความตระหนกให้กับประชาชน เพราะในช่วงนี้ต้องบอกว่าอากาศในประเทศไทยเกือบทุกภูมิภาคร้อนจัด จนทำให้เกิดภาววะ ฮีทสโตรก กันมาแล้ว
น.ส. ชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ให้สัมภาษณ์กับ คมชัดลึก ถึงปรากฎการณ์ "คลื่นความร้อน" และโอกาสที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย โดยระบุว่า "คลื่นความร้อน" คือปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 1 ซึ่งจะมีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิปกติถึง 5 องศา และเกิดติดต่อกันเกิน 5 วันขึ้นไป ซึ่งเป็นไปตามการนิยามของ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organizatio:WMO) โดยในระยะนี้อาจจะสามารถเกิด "คลื่นความร้อน" ได้ในต่างประเทศ แต่สำหรับในประเทศนั้นที่ผ่านโดยกรมอุตุฯได้มีการติดตามสภาพอากาศตามสถานีวัดโดยพบว่า พื้นที่ที่อุณหภูมิสูงสุดแตะ 44.6 องศา อยู่บริเวรจ.ตาก แต่อุณหภูมิดังกล่าวไมได้เป็น "คลื่นความร้อน" แต่เกิดขึ้นเพราะสภาพอากาศที่ร้อนจัดเท่านั้น ส่วนใหญ่ปรากฏการณ์คลื่นความร้อนจะเจอในแถบ ยุโรบ อินเดีย ปากีสถาน
สำหรับโอกาสการเกิด "คลื่นความร้อน" ในประเทศไทยนั้น น.ส.ชมภารี กล่าวต่อว่า แม้ว่าปีนี้อากาศจะร้อนจัด แต่ไทยจะยังไม่เผชิญกับภาวะ "คลื่นความร้อน" เนื่อจากว่า ประเทศไทยยังยังเกิดพายุฤดูร้อนอย่างต่อเนื่องอยู่ รวมทั้งมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดเอาความชื่นเข้ามาจึงพอทำให้เกิดฝนตกบ้าง ดังนั้นโอกาสที่ประเทศไทยจะเจอกับ "คลื่นความร้อน" ในปี อาจจะยังน้อยมากหรือแทบจะไม่เจอเลยแต่ในปีหน้าประเทศไทยมีโอกาสที่จะเจอภาวะคลื่นความร้อน เนื่องจากจะเป็นปีที่ก้าวเข้าสู่ปรากฏการณ์ เอลนิโญ อย่างเต็มรูปแบบ แต่ในระยะนี้ยังเข้าสู่ช่วงระหว่างเปลี่ยนถ่ายจาก ลานีญา เป็น เอลนีโญ แต่ในปีหกเจ็ดนั้นทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยจะเผชิญกับปัญหา เอลนิโญ่ อย่างรุนแรง อากาศจะร้อนมากขึ้นกว่าปีนี้
นางชมภารี กล่าวต่อว่า ประชาชนหลายคนอาจจะยังสับสนกับข้อมูลที่เกิดขึ้น ดังนั้นกรมอุตุฯต้องชี้แจงว่า ขณะนี้มีการพูดถึง "คลื่นความร้อน" และ ดัชนีความร้อน ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าอุณหภูมิยังอยู่ตามที่ประมาณการเอาไว้ คือ 35.5 แต่จะมีค่าความรู้สึกหรือที่เรียกว่า Feel like ที่อาจจะทำให้ที่อาจจะ ทำให้ประชาชนรู้สึกถึงความร้อนที่สูงเกินอุณหภูมิจริง แต่อย่างไรก็ตามเราพบว่าปีนี้สถานการณ์อุณหภูมิสูงสุด มีการแพร่กระจายเป็นวงกว้างมากขึ้น จากเดิมอาจจะสามารถพบได้เฉพาะบริเวณภาคเหนือตอนบน แต่ปีนี้ขยายตัวลงมาบริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคอีสานตอนบน ฤดูร้อน จะยาวนานขึ้น และฤดูในจะมาช้าลงกว่าปกติประมาณ 1 สัปดาห์