สรุปสถานการณ์ 'PM2.5' ปี 66 รุนแรงสุด เตือนเตรียมการไม่ดีปี 67 หนักกว่าเดิม
สรุปสถานการณ์ 'PM2.5'ปี 66 รุนแรงที่สุดในรอบ 5 ปี กรงเทพฯ-เชียงใหม่แทบไม่มีวันอากาศดี เตือนเตรียมการไม่ดี ไม่มีมาตรการปี 67 หนักกว่าเดิม
- สถานการณ์ฝุ่น "PM2.5" ปี 2566 รุนแรงสุดในรอบ 5 ปี
รศ. ดร.วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเกษตร สรุปสถานการณ์ฝุ่น "PM2.5" และสถานการณ์หมอกควันที่เกิดขึ้นในประเทศไทยช่วง 4 เดือนของปี 2566 (ม.ค.-เม.ย. 2566) กับ คมชัดลึก ว่า ภาพรวมสถานการณ์ฝนปี 2566 จากการเก็บข้อมูล ตั้งแต่ช่วงต้นปี พบว่าในปีนี้ปัญหาฝุ่น "PM2.5" และหมอกควันในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัด รุนแรงที่สุดในรอบห้า โดยข้อมูลระบุว่ากรุงเทพมหานครและเชียงใหม่มีวันที่อากาศเป็นมลพิษมากที่สุด ตั้งแต่ที่เคยเผชิญกับปัญหาฝุ่น "PM2.5" โดยพบว่าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ไม่มีวันที่อากาศอยู่ในระดับสีเขียวเลยแม้แต่วัน โดยพบว่ามีวันที่คุณภาพอากาศส่งผลกระทบต่อร่างกายประมาณ 2 เดือนครึ่ง
ส่วนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่นั้นมีวันที่คุณภาพอากาศดีน้อยมาก ซึ่งพบว่าเชียงใหม่มีวันที่คุณภาพอากาศต่ำกว่า 100 ไมโครกรัม/ลบ.ม. เพียง 22 วัน นอกเหนือจากนั้นเป็นวันที่มีคุณภาพอากาศแย่จนกระทบต่อสุขภาพซึ่งสามารถวัดปริมาณฝุ่นได้เกิน 150 ไมโครกรัม/ลบ.ม. เป็นระยะเวลานานกว่า 2 เดือน
- สาเหตุหลักทำ "PM2.5" และหมอกควันลอยฟุ้งกว่าที่ผ่านมา
สาเหตุที่ส่งผลให้ในปี 2566 ปัญหา "PM2.5" และฝุ่นควันในประเทศไทยทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย มาจากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นสภาพปัญหาการจราจร ปัญหาการเผาในภาคการเกษตร ปัญหาไฟป่าซึ่งพบว่าเกิดจากมนุษย์เกือบ 100 % ปัญหาหมอกควันข้ามแดนซึ่งเกิดจากการเผาพืชทางการเกษตร โดยปัญหาฝุ่นควันข้ามแดนในปีนี้ถือว่ามีสถิติสูงสุดและรุนแรงมากที่สุดในรอบ 9 ปี
รศ.ดร. วิษณุ อธิบายเพิ่มเติมว่า จากปัญหา "PM2.5" และฝุ่นควันตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ตนได้มีการถอดบทเรียน เพื่อหาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาในปีต่อไป โดยส่วนใหญ่พบว่าในพื้นที่กรุงเทพฯยังคงมีปัญหาฝุ่นพิษที่มาจากสภาพการจราจร โดยเฉพาะการเลื่อนบังคับใช้มาตรฐานยูโร 5 ในเครื่อง ที่ส่งผลให้รถยนต์ในปัจจุบันปล่อยมลพิษมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังพบปัญหารถบรรทุกและรถเก่าที่มีการจดทะเบียนเพิ่มขึ้น โดยรถทั้งสองชนิดถือว่าเป็นแหล่งกำเนิดโของฝุ่น "PM2.5" ในพื้นที่เมืองหลวง
ส่วนในพื้นที่ภาคเหนือ พบว่า ในปีนี้การเผาในภาคเกษตรกรและป่าไม้มีความรุนแรงมากขึ้นกว่าทุกปี โดยพบว่าอัตราการเผาในที่โล่งนั้นอยู่ที่ประมาณ 32.79% ซึ่งสูงกว่าที่มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เคยกำหนดซึ่งสูงกว่าที่มติ ครม. เคยกำหนดไว้ว่าจะต้องไม่เกิน 5% จากการเก็บข้อมูลพบว่าสาเหตุที่ทำให้จากการเก็บข้อมูลพบว่าสาเหตุที่ทำให้มีการเผาในพื้นที่เกษตรเพิ่มมากขึ้นนั้นมาจาก มาตรการบังคับห้ามเผา ซึ่งหากมองในมุมเศรษฐศาสตร์ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะการออกประกาศห้ามเผาจะยิ่งทำให้ให้ประชาชนเร่งการเผาเพิ่มมากขึ้น
ส่วนการเกิดไฟป่า ส่วนใหญ่เกิดจากการเข้าไปหาของป่า นอกจากนี้ยังพบว่ามีการจุดไฟเพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ รวมไปถึงในพื้นที่ป่ามีการสะสมเชื้อเพลิงไว้จำนวนมากรวมไปถึงในพื้นที่ป่ามีการสะสมเชื้อเพลิงไว้จำนวนมากเนื่องจากช่วงสองปีที่ผ่านมาบริเวณภาคเหนือเกิดฝนตกชุก เพราะได้รับอิทธิพลจากปรากฏการณ์ลานีญา ทำให้ปีนี้พื้นที่มีการสะสมเชื้อเพลิงไว้จำนวนมาก จึงส่งผลให้ในปีนี้ปัญหาไฟป่าทางภาคเหนือมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ส่วนการควบคุมไฟป่านั้น ยังพบปัญหาว่า การบริหารจัดการงบไม่ครอบคลุมพื้นที่ เพราะพื้นที่ป่าไม้มีจำนวนเพราะพื้นที่ป่าไม้มีจำนวนมากถึง 5,000,000 ไร่ แต่กลับพบว่ามีการจัดสรรงบประมาณให้ดูแลเพียงหลัก 100,000 ไร่เท่านั้น เจ้าหน้าที่จึงไม่สามารถจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เพียงพอและครอบคลุมกับปัญหา
ส่วนปัญหาหมอกควันข้ามแดนนั้น จากการสำรวจยังจากการสำรวจยังพบว่ามีการเผาในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้านบริเวณแนวตะเข็บชายแดนโดยเฉพาะในพื้นที่รัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ ที่ทำให้ที่ทำให้ปัญหาฝุ่นย้อนกลับมายังประเทศไทย แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีแนวทางการย้ายพื้นที่ปลูกข้าวโพดไปตามอย่างประเทศเพื่อนบ้านแล้ว แต่เรายังพบว่าผู้ซื้อพืชผลทางการเกษตรนั้นกลับยังคงเป็นประเทศไทยอยู่
- มาตรการที่รัฐควรทำก่อนสายปี 2567 รุนแรงกว่าที่เคย
ยังคงเป็นคำถามว่าแล้วหากจะแก้ปัญหาในข้างต้นที่กล่าวมานั้นจะต้องทำอย่างไร เพราะมาตรการที่รัฐบาลดำเนินการแก้ปัญหาฝุ่น "PM2.5" เป็นเหมือนการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น โดย รศ.ดร. วิษณุ ได้เสนอมาตรการแก้ปัญหาฝุ่น "PM2.5" ไว้ว่า หากจะลดการเผาของเกษตรกรลง รัฐจะต้องมีการมาตรการเก็บเงินกับคนเผาเพื่อเข้ากองทุน จากนั้นจึงหมุนเวียนเงินกลับคืนมาให้เกษตรกร เพราะที่ผ่านมามีแต่มาตรการบังคับเพียงอย่างเดียว ไม่ได้มีมาตรการช่วยเหลือ เมื่อถึงหน้าต้องเผาเพื่อเตรียมปลูกรอบต่อไป เกษตรกรจึงเร่งเผาก่อนที่รัฐจะประกาศห้าม ซึ่งในหลักการแล้วรัฐควรจะช่วยเหลือก่อนจึงบังคับใช้กฎหมาย
ด้านการแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดน ควรจะมีระบบการตรวจสอบย้อนกลับว่าเอกชน หรือภาคอุตสาหกรรมใดเป็นผู้รับซื้อสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยไม่มีระบบดังกล่าวจึงไม่สามารถติดตามต้นทางให้มารับผิดชอบปัญหาได้ รวมไปถึงประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่สามารถเอาผิดประเทศพื้นบ้านที่สร้างมลพิษเหมือนกับประเทศสิงคโปร์ ซึ่งทางออกที่สามารถทำได้เลยคือการออกกฎหมายอากาศสะอาดที่ไม่ต้องรอให้มีรัฐบาลใหม่
ส่วนกรณีการขอความร่วมมือกับประเทศอาเซียนอาจจะมีการกำหนดประเทศให้น้อยลง โดยอาจจะเป็นเฉพาะอาเซียนตอนบนเท่านั้น เพื่อให้เกิดความง่ายในการเจรจา และกำหนดเงื่อนไขโดยควรจะมีการจัดตั้งศูนย์ฝุ่นข้าวพรมแดนที่จะคอยเข้ามาทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ตรวจสอบความก้าวหน้าในการแก้ปัญหา
แม้ว่าฤดูฝุ่น "PM2.5" และฤดูหมอกควันใกล้จะจบแล้วเพราะประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว แต่หากไม่มีการเตรียมรับมือที่ดี และวางมาตรการที่ชัดเจน และรัดกุมมากขึ้นในปี 2567 ประเทศไทยจะเผชิญกับฝุ่น PM2.5และ ปัญหาหมอกควันหนักมากขึ้น เพราะได้รับผลกระทบมาจากกราปฎการแอลนีโญ ที่จะทำให้เกิดความแห้งแล้ง และอากาศร้อนมากขึ้น