ชีวิตดีสังคมดี

'ธนาคารทรัพยากรชีวภาพ' คลังสมบัติ ยืดเวลาสิ่งมีชีวิตก่อนปล่อยคืนธรรมชาติ

'ธนาคารทรัพยากรชีวภาพ' คลังสมบัติ ยืดเวลาสิ่งมีชีวิตก่อนปล่อยคืนธรรมชาติ

22 พ.ค. 2566

'ธนาคารทรัพยากรชีวภาพ' คลังสมบัติชาติ เก็บรักษาพันธุ์พืช จุลินทรีย์ ยืดเวลาสิ่งมีชีวิตนอกป่าก่อนปล่อยคืนธรรมชาติ รับมือวิกฤตความเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม

ปัญหาภัยธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ส่งผลต่อความมั่นคงในระบบนิเวศอย่างมาก แม้ว่าเราจะหยุดหรือชะลอปัญหาดังกล่าวเอาไว้ด้วยการลดการทำกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อโลก ไม่ว่าจะเป็นลดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ แต่เราก็ไม่อาจจะหยุดวิกฤตโลกร้อนได้ 

 

 

 

ดังนั้นการอนุรักษ์และคงสภาพความหลากหลายทางชีววิทยาจึงกลายเป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับระบบนิเวศของประเทศเอาไว้ได้ โดยเฉพาะการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพแบบระยะยาวผ่านการใช้วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เพื่อบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ หรือจุลินทรีย์เอาไว้สำหรับฟื้นฟูคืนสู่ธรรมชาติในยามที่จำเป็น

  • ขุมพลังทรัพยากรชีวภาพของประเทศ 

สำนักงานพัมนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. สร้างความเข้มแข็งของระบบนิเวศวิจัยและนวัตกรรมให้ตอบโจทย์สำคัญนำสู่การพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดด จึงเกิดการจัดตั้ง "ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ" (National Biobank of Thailand: NBT) เพื่อมุ่งเป้าขับเคลื่อนให้เป็น ขุมพลังหลักของประเทศ ในการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ของรัฐและเอกชน ชุมชนเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศ ในการสนับสนุนการดำเนินงานอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพแบบระยะยาว ภายใต้การบริหารจัดการของ สวทช. เพื่อเป็นคลังสำรองให้แก่ประเทศ รวมถึงสนับสนุนการใช้ข้อมูลชีวภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผ่านการดำเนินงานร่วมกันของนักวิจัยจาก 3 ธนาคาร คือ ธนาคารพืช (Plant bank) ธนาคารจุลินทรีย์ (Microbe bank) และธนาคารข้อมูลชีวภาพ (Data bank) 
 

โดยเป้าหมายสำคัญของ "ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ" เพื่อเป็นการอนุรักษ์ พร้อมกัยสนับสนุนการจัดเก็บสิ่งมีชีวิตนอกสภาพธรรมชาติแบบระยะยาวด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อเตรียมพร้อมฟื้นคืนทรัพยากรชีวภาพให้แก่ประเทศในยามที่เกิดความสูญเสียจากภัยธรรมชาติหรือการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มากเกินพอดี เพื่อเป็นฐานที่สำคัญของการพัฒนาตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG ในการเตรียมพร้อมรับมือสภาวะวิกฤตและการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่นำไปสู่การสูญเสียทรัพยากรชีวภาพอย่างถาวรในธรรมชาติ

 

 

ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ

 

 

  • หน้าที่ของ "ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ" จัดเก็บทรัพยากรชีวภาพผ่าน 2 ธนาคาร 

1.ธนาคารพืช เป็นโครงสร้างพื้นฐาในการอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์พืชนอกแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติแบบระยะยาว ดำเนินการจัดเก็บด้วยกระบวนการที่มีมาตรฐาน และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง  พัฒนาวิธีการเก็บรักษาเนื้อเยื่อพืชที่ไม่สามารถอนุรักษ์ในรูปแบบแมล็ดพันธุ์ด้วยกระบวนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ร่วมกับเทคโนโลยีชะลอการเจริญเติบโต เพื่อลดต้นทุนดารเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมในสภาพปลอดเชื้อ  พัฒนาเทคโนโลยี  Cryopreservation เพื่อเก็บรักษาพันธุ์พืชเศรษฐกิจที่สำคัญรวมถึงพืชที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ จัดทำตัวอย่างพันธุ์ไม้แห้ง พร้อมด้วยข้อมูลชนิดพันธุ์ ด้วยการจำแนกพันธุ์พืชออกเป็นหมวดหมู่ รวมถึงข้อมูลทางพันธุศาสตร์ หรือ NDA barcoding ถูกใช้เป็นแหล่งอ้างอิงชนิดพืชที่เก็บในธนาคาร เพื่อการจำแนกที่ถูกต้องในอนาคต 

 

 

2.ธนาคารจุลินทรีย์  ทำหน้าที่เป็นคลังจุลินทรีย์ ของประเทศจัดเก็บรักษาจุลินทรีย์ระยะยาว และข้อมูลจุลินทรีย์ที่ปัจจุบันมีมากกว่า 10,000 สายพันธุ์ที่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพและยืนยันชนิด จากนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านในกลุ่มแบคทีเรีย และอาเคีย เห็ด และราในกลุ่มราทะเลและราไซลาเรีย หน้าที่หลักคือ พิสูจน์เอกลักษณ์และจำแนกจุลินทรีย์ ค้นหาจุลินทรีย์ที่มีศักยภาพตอบโจทย์การนำไปประยุกใช้ในด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ การแพทย์ เกษตรและด้านอุตสาหกรรม  เก็บรักษาจุลินทรีย์ระยะยาวโดยการแช่เยือกแข็งและการทำแห้งแบบแช่แข็ง 

 

3.ธนาคารข้อมูลชีวภาพ มีหน้าที่สนับสนุนพันธกิจด้านข้อมูลการอนรักษ์ทรัพยากรณ์ชีวภาพ และการใช้ประโยชน์ข้อมูลทางชีวภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด  พัฒนาแพลตฟอร์มและระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์ และการจัดการข้อมูล ตั้งฐานข้อมูลด้านพันธุกรรมและข้อมูลอื่นๆ เพื่อเป็นแห่งข้อมูลอ้างอิง และให้บริการข้อมูลในระดับประเทศ ประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ แก้ปัญหาเชิงลึกทางวิทยาศาสตร์ 

 

ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ

 

  • สุดยอดประสิทธิภาพคงสภาพให้มีชีวิต 

ประสิทธิภาพการจัดเก็บตัวอย่างทรัพยากรชีวภาพในรูปแบบคงสภาพหรือคงความมีชีวิตที่อุณหภูมิเยือกแข็งถึง 3 ระดับ ระดับ -20 องศาเซลเซียส ใช้สำหรับจัดเก็บเมล็ดพันธุ์พืชที่บรรจุในหลอดขนาด 25 มิลลิลิตร จัดเก็บได้ 100,000 หลอด ส่วนอุณหภูมิระดับ  -80 องศาเซลเซียส ใช้สำหรับจัดเก็บจุลินทรีย์และตัวอย่างชีววัสดุอื่น ๆ ที่บรรจุในหลอดขนาด 2.5 มิลลิลิตร จัดเก็บได้ 300,000 หลอด นอกจากนี้ยังมีถังไนโตรเจนเหลวขนาด 1,770 ลิตร สำหรับจัดเก็บตัวอย่างเซลล์สิ่งมีชีวิตในสภาวะเย็นยิ่งยวดที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส 

 

หัวใจสำคัญในการอนุรักษ์พันธุกรรมสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด คือ ความสามารถในการมีชีวิตรอดหลังการจัดเก็บในธนาคารเพื่อให้มั่นใจว่าจะนำสิ่งมีชีวิตเหล่านี้กลับมาใช้ฟื้นฟูทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศให้คงความสมบูรณ์ต่อไปได้ในอนาคต

 

ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ