5 สัญญาณรหัสแดง ส่งเสียงเตือนว่าโลกกำลังผชิญกับ 'ภัยพิบัติ' อย่างรุนแรง
5 สัญญารหัสแดง เตือนมนุษยชาติว่าโลกกำลังเผชิญ 'ภัยพิบัติ' อย่างรุนแรง จากนี้ไปจะร้อนสุดขีด ฝนตกหนักสุดขั้ว ไทยเสี่ยงน้ำท่วมใหญ่กว่าปี 54
ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 9 จาก 180 ประเทศที่มีความเสี่ยงด้าน "ภัยพิบัติ" มากที่สุด ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ไทยกลายเป็นประเทศ TOP 10 ของเมืองที่ต้องเผชิญกับวิกฤตสภาพอากาศนั้นเป็นเพราะประเทศไทยเป็นเมืองเกษตรกรรม ทุกครั้งที่เกิดภับพิบัติพื้นที่เกษตรกรรมจะได้รับความเสียหายอย่างมาก
ที่ผ่านมาเรายังพบว่าประเทศเราเผชิญกับปัญหาภัยแรง น้ำท่วม ที่รุนแรงและถี่มากขึ้น เหล่านี้ล้วนมาจากการเปลี่ยแปลงทางสภาพภูมิอากาศทั้งสิ้น รศ.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ให้สัมภาษณ์กับ คมชัดลึก ถึงผลกระทบที่ที่มนุษย์และโลกจะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change
- 3 ปัจจัยทำ "ภัยพิบัติ" รุนแรงกระทบกับมวลมนุษยชาติ
รศ.ดร.เสรี อธิบายว่า ขณะนี้มี 3 ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและทำให้เกิด "ภัยพิบัติ" ที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยปัจจัยแรก คือ ภาวะโลกร้อน ซึ่งแน่นอนว่าขณะนี้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเรื่อย ๆ และไม่มีท่าทีว่าจะต่ำลง เพราะเราไม่สามารถหยุดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ตามที่เป้าหมายที่กำหนดไว้ว่าในอีก 8 ปีข้างหน้าจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 50% และในปี 2050 ทั่วโลกจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero)แต่ขณะนี้พบว่ายังไม่สามารถดำเนินการได้ ดังนั้นปัญหาที่ตามมาคือมีการคาดการณ์ว่าอีก 5 ปีข้างหน้าหรือในปี 2571 อุณหภูมิโลกจะแตะ 1.5 องศาซึ่งสูงกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรมในปี 1950-2000
ปัจจัยที่สอง คือ ความแปรปรวนทางสภาพอากาศ จากปรากฎการณ์แอลนีโญ ซึ่งปกติจะเกิดขึ้นทุกๆ 7 ปี แต่ภาวะการเปลี่นแปลงทางสภาพอากาศกระทบทำให้วงรอบของแอลนีโญสั้นลง และมีความถี่มากขึ้นโดยเราจะต้องเผชิญกับแอลนีโญในทุกๆ 3 ปี ส่งผลให้เกิดภาวะอากาศร้อน อุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงมากยิ่งขึ้น ความแปรปรวนทางสภาพอากาศถี่ขึ้น
ปัจจัยที่สาม การเปลี่ยนแปลงสภาพที่ดิน ที่ปัจจุบันการขยายตัวของเมืองเติบโตมากขึ้น มีการใช้คอนกรีตจำนวนมาก ซึ่งคอนกรีตเป็นตัวดูดซับความร้อน จึงส่งผลให้อุณหภูมิสูงมากขึ้น ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าในเดือนเม.ย. 2567 อุณหภูมิจะแตะไปถึง 45 องศา ซึ่งนับว่าเป็นอุณหภูมิที่สูงที่สุดที่ไทอาจจะต้องเผชิญ นับตั้งแต่ปี 2568-2571 อุณหภูมิจะสูงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อน้ำต้นทุนอย่างแน่นอน เพราะปรากฎการณ์แอลนีโญจะอยู่ต่อเนื่องไปอีก 5 ปี
"ร้อนรุนแรงมากขึ้น ก็จะทำยิ่งทำฝนตกหนักรุนแรงมากขึ้น" นี่คือสิ่งที่ดร.เสรี ได้แสดงความคิดเห็นเอาไว้ อากาศที่ร้อนแรงรุนแรงที่เรากำลังเผชิญอยู่ขณะนี้นั้น จะยิ่งส่งผลให้เกิด "ภัยพิบัติ" ที่คุกคามทางธรรมชาติและทำให้มีความเสี่ยงที่เราจะเจอภัยพิบัติรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพราะระหว่างที่โลกร้อนขึ้นทุกวันนั้น จะทำให้เกิดการระเหยของน้ำ และเกิดการสะสมของไประเหยในชั้นบรรยากาศจนเกิดเป็นความชื้นสะสม และเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝนจะทำให้เกิดฝนตกที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น แต่ฤดูฝนจะสั้นลง นั้นเป็นเพราะผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
- 5 สัญญาณรหัสแดง "ภัยพิบัติ" จะรุนแรงและสร้างความเสียหายให้แก่โลกมากที่สุด
ดร.เสรี อธิบายถึงความหมายของ รหัสแดง หรือ Code Red ไว้ว่า รหัสแดงคือสัญญาณที่บ่งบอกว่า มนุษย์กำลังถูกคุกคามอย่างหนักอย่าง "ภัยพิบัติ" ไมว่าจะเป็นทั้งคลื่นความร้อน ฤดูแล้งจะแล้งหนัก เกิดฝนตกหนัก น้ำทะเลหนุนสูง พื้นที่ลุ่มและริมฝั่งแม่น้ำจะได้รับผลกระทบอย่างมาก โดย 5 สัญญาณรหัสแดงที่กำลังเตือนว่าโลกกำลังตกอยู่ในอันตรายมีดังนี้
1.คลื่นความร้อน ประเทศที่ไม่เคยเผชิญคลื่นความร้อนจะได้เจอในช่วงเวลานับจากนี้
2.ภัยแล้งที่รุนแรง อุณหภูมิที่สูงขึ้นตามมาด้วยภาวะการระเหยจนอาจจะทำให้น้ำหมดลง ขาดน้ำต้นทุน เพราะการระเหยอย่างรวดเร็ว
3.น้ำระเหยอยู่ในชั้นบรรยากาศมากขึ้น ความชื้นเมื่อเจอกับความเย็นจะส่งผลให้เกิดฝนตกอย่างรุนแรง
4..ฝนตกหนัก ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่กรุงเทพมหานคร อยุธยา อุบลราชธานี มีความเสี่ยงที่เกิดน้ำท่วม
5.ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น มวลน้ำขยายตัว เมืองที่อยู่ในแนวชายฝั่งไม่ว่าจะเป็น สมุทรปราการ สมุทราสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานคร เสี่ยงจะเจอน้ำท่วมซ้ำซาก รวมทั้งพื้นที่ลุ่มที่อยู่ตามแนวแม่น้ำสายหลักทั่วประเทศด้วย
- ปี 2573 น้ำมากอาจจะเจอเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่กว่าปี 2554
รศ.ดร.เสรี ยังบอกอีกว่า มีการคาดการณ์เอาไว้ว่าในปี 2573 หรือประมาณ 7 ปี ข้างหน้าอาจจะมีเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่คาดว่าจะหนักกว่าปี 54 เพราะเป็นผลพวงมากจากการเกิดภัยแล้งที่รุนแรงต่อเนื่องกันเป็นเวลานานเกิดการสะสมของไอน้ำในชั้นบรรยากาศที่มีจำนวนมากจึงส่งผลให้เกิดฝนตกรุนแรง กรณีที่เกิดฝนตกหนักส่งผลกระทบทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น ปลาจะอพยบไปวางไข่ในน้ำลึกขึ้นทำให้ชาวประมงไม่สามารถจับปลาได้ รวมไปถึงเกิดกรากฎการณ์ประการังฟอกขาว สร้างความเสียหายอย่างมาก
"ท้ายที่สุดแล้วเราไม่สามารถเลี่ยงผลกระทบอันใหญ่หลวงที่มาจากความเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศได้ ดังนั้นสิ่งที่จะต้องทำทันทีคือ หารเตรียมตั้งรับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการหาพื้นที่สำรองน้ำขนาดเล็ก เพื่อสำรองน้ำให้แก่เกษตรกรไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง และกักเก็บน้ำสำรองในช่วงฤดูฝน เพราปัจจุบันประเทศไทยมีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กเลย มีเพียงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลาง รวมไปถึงการรักษาผลผลิตทางการเกษตรโดยการปรับปรุงพันธุ์พืชให้ทนทานต่ออุณหภูมที่เปลี่ยนไปให้ได้มากที่สุด ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้นวัตกรรมในการเพาะปลูก ปรับเปลี่ยนฤดูการทำการเกษตร เพราะในอนาคตจะเกิดความเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ และภัยพิบัติอย่างรุนแรง" รศ.ดร.เสรี กล่าวสรุป