ชีวิตดีสังคมดี

มิชชั่นใหม่ ตั้งเป้าปี 2570 'ลดฝุ่น' ในพื้นที่ก่อสร้างมากกว่า 105 ล้านลบ.ม.

มิชชั่นใหม่ ตั้งเป้าปี 2570 'ลดฝุ่น' ในพื้นที่ก่อสร้างมากกว่า 105 ล้านลบ.ม.

08 มิ.ย. 2566

มิชชั่นใหม่ พัฒนาเครื่องบำบัดอากาศขนาดใหญ่ ตั้งเป้าปี พ.ศ. 2570 'ลดฝุ่น' ในพื้นที่ก่อสร้างโครงการมากกว่า 105 ล้านลบ.ม. ลดปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ในกรุงเทพฯ

นางสาวเพชรลดา พูลวรลักษณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ระดับลักชัวรี่และคอนโดมิเนียมเลี้ยงสัตว์ได้ (Pet-Friendly Residences) กล่าวว่า ปัญหามลพิษทางอากาศเป็นสิ่งที่มนุษย์ สัตว์ พืช และทุกสิ่งมีชีวิตบนโลกไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากผลกระทบที่เกิดขึ้นได้แผ่เป็นวงกว้างและแทรกซึมอยู่ทุกที่ไปแล้ว

 

 

ซึ่งปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ในกรุงเทพฯ ก็ยังคงเป็นปัญหาใหญ่และต้องเร่งแก้ไข โดยอาศัยความช่วยเหลือจากทุกภาคส่วน ทุกองค์กร และทุกคน ซึ่งในปี พ.ศ. 2564 กรุงเทพฯ ยังคงติดอันดับที่ 11 ของโลก จากรายงานคุณภาพอากาศและจัดอันดับเมืองที่มีมลพิษทั่วโลกของเว็บไซต์ IQAir สำหรับเมเจอร์ฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ผ่านความมุ่งมั่นที่พร้อมผลักดันให้องค์กรและบุคลากรเป็นฟันเฟือง ‘หัวใจสีเขียว’ ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสังคม

โดยได้ต่อยอดแคมเปญ Major Care-Share-Change พัฒนาเครื่องบำบัดอากาศขนาดใหญ่ The Cloud Major’s Air Purifier ที่มีอัตราการดูดอากาศมากกว่า 10,000 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ครอบคลุมพื้นที่โดยรอบประมาณ 7,500 ตารางเมตร ปัจจุบัน ติดตั้งบริเวณที่โครงการเมทริส ดิสทริค ลาดพร้าว (Metris District Ladprao) และโครงการมอลตัน เกทส์-กรุงเทพกรีฑา (MALTON GATES Krungthep Kreetha) โดยสามารถดักจับฝุ่นได้มากถึง 25,000,000 ลูกบาศก์เมตรในช่วงระยะเวลา 15 เดือน ตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2564 ถึง มีนาคม ปี พ.ศ. 2566”

 

 

โดยเครื่องบำบัดอากาศ “The Cloud Major’s Air Purifier” มีอนุภาคในการดักจับฝุ่นละอองที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถดักจับฝุ่นละอองขนาดเล็ก 0.3 ไมครอน ตามมาตรฐานแผ่นกรองอากาศ EN 779: 2012 ซึ่งสามารถบำบัดฝุ่น PM 2.5 ปริมาณ 700 – 2,000 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ให้เหลือเพียง 50 - 60 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองใน
อากาศได้ถึง 30% และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ลดลงประมาณ 14% เมื่อเทียบกับปริมาณฝุ่นละอองที่วัดได้บริเวณรอบโครงการก่อนติดตั้งเครื่องบำบัดอากาศ

 

 

มิชชั่นใหม่ ตั้งเป้าปี 2570 \'ลดฝุ่น\' ในพื้นที่ก่อสร้างมากกว่า 105 ล้านลบ.ม.
 

เมเจอร์ฯ ในฐานะองค์กรที่มุ่งมั่นเป็นผู้พัฒนารูปแบบการใช้ชีวิต (Lifescape Developer) ภายใต้แนวคิด  Crafting Lifescape to Excellence” ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ชุมชน และคุณภาพชีวิต ได้วางกำหนดหมุดหมายสำคัญเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยบรรเทาและลดปัญหามลพิษทางอากาศ เพื่อสร้างคุณภาพในการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนให้กับลูกบ้านและสังคม ภายใต้มิชชั่นใหม่ ‘พื้นที่ลดฝุ่น (Dustless Mission)’ ตั้งเป้าหมายลดฝุ่นภายในพื้นที่ก่อสร้างโครงการมากกว่า 105,000,000 ลูกบาศก์เมตร ภายในปี พ.ศ. 2570 เทียบเท่ากับรถบรรทุก 10 ล้อจำนวน 5,250,000 คัน โดยเตรียมดำเนินการติดตั้งเครื่องบำบัดอากาศขนาดใหญ่ “The Cloud Major’s Air Purifier” ในไซต์ก่อสร้างทุกโครงการของเมเจอร์ฯ และเพิ่มมาตรการต่างๆ อาทิ การพ่นละอองน้ำเพื่อดักจับฝุ่นรอบพื้นที่ก่อสร้าง การใช้เครื่องดูดฝุ่นขนาดใหญ่ในงานตัดเจียร หรือการทำความสะอาดและตรวจสอบความเรียบร้อยของรถบรรทุกและรถที่ใช้ในการก่อสร้างทุกคันก่อนออกจากโครงการ เป็นต้น ซึ่งนับเป็นการช่วยเหลือและบรรเทามลพิษทางอากาศให้กับคนไทยและชุมชนโดยรอบให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถสูดอากาศบริสุทธิ์ได้อย่างเต็มที่

 

นอกจากนี้ ยังเพิ่มมาตรฐานทางอากาศสำหรับลูกบ้านเมเจอร์เพื่อให้อาศัยอยู่แบบไร้กังวล ปลอดฝุ่น และปราศจากเชื้อโรค โดยได้ร่วมติดตั้งระบบต่างๆ ภายในบ้านเพื่อช่วยเรื่องการบำบัดอากาศ อาทิ “DUST FREE SYSTEM” ซึ่งเป็นระบบบ้านปลอดฝุ่น นวัตกรรมการฟอกอากาศจากภายนอกให้สะอาด ที่จะช่วยเติมอากาศดีสู่ตัวบ้าน ปราศจาก PM 2.5 แม้ไม่เปิดหน้าต่าง และ SOL N TECH UV CARE  นวัตกรรมฆ่าเชื้อโรคในอากาศด้วยระบบแสง UVC ช่วยฆ่าเชื้อโรคในอากาศได้สูงกว่ามาตรฐานถึง 30 เท่า และคัดเลือกพันธุ์ไม้ดักจับฝุ่นในพื้นที่สีเขียวของโครงการ โดยได้เริ่มนำร่องแล้วที่โครงการมอลตัน เกทส์-กรุงเทพกรีฑา (MALTON GATES Krungthep Kreetha) และโครงการเมทริส ดิสทริค ลาดพร้าว เป็นต้น 

 

 

“ซึ่งมาตรฐานการก่อสร้างและมาตรการเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยของเมเจอร์ฯ ภายใต้มิชชั่น ‘พื้นที่ลดฝุ่น (Dustless Mission)’ จะเป็นส่วนหนึ่งที่เข้ามาช่วยให้สิ่งแวดล้อมของประเทศไทยที่ดีขึ้น และมอบอากาศบริสุทธิ์และคุณภาพการใช้ชีวิตให้กับลูกบ้านและสังคม ก่อนการขยายผลสู่การรักษาสิ่งแวดล้อมและพัฒนาโครงการอย่างยั่งยืนครอบคลุมในทุกด้านมากยิ่งขึ้น”