ฝันร้าย 'เอลนีโญ' กระทบลามไปถึงระบบเศรษฐกิจ ผลผลิตเสียหาย เหลื่อมล้ำสูง
ฝันร้าย 'เอลนีโญ' ที่ไม่ได้เกิดขึ้นแค่อากาศร้อน แต่กระทบลุกลามไปถึงระบบเศรษฐกิจ ทำผลผลิตวัตถุดิบหลักภาคอุตสาหกรรมเสียหาย เพิ่มช่องว่างความเหลื่อมล้ำให้ชัดขึ้น
เป็นที่แน่ชัดแล้วว่านับจากนี้ต่อเนื่องไปอีก 3 ปี ประเทศไทยเผชิญกับปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" อย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยจากการพยากรณ์พบว่า ขณะนี้ "เอลนีโญ" ได้เพิ่มระดับความรุนแรงในมหาสมุทรมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้อุณหภูมิในน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น
จากสถิติ ปรากฏการณ์เอลนีโญ ที่เคยเกิดขึ้นย้อนหลัง 73 ปี พบว่าปรากฎการณ์ดังกล่าวเคยอยู่ยาวนานมากที่สุดประมาณ 19 เดือน หรือ ราวๆ 2 ปี ที่ผ่านมาเคย "เอลนีโญ" เกิดระดับรุนแรงมากที่สุดมาแล้ว 5 ครั้ง และในรอบนี้ถือว่าเป็นระดับที่รุนแรงครั้งที่ 6 ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่ในช่วงปลายปี 2566-2567 โลกจะเผชิญ และเริ่มรับรู้ถึงผลกระทบจาก 'เอลนีโญ' ได้มากขึ้น ทั้งนี้จากการพยากรณ์คาดการณ์ว่าปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" จะพีกในช่วงตั้งแต่ช่วง พ.ค. 2568 เป็นต้นไป
ปรากฎการณ์ "เอลนีโญ" ได้รับการยืนยันแล้วว่ารอบนี้มีระดับความรุนแรงที่สุดเป็นครั้งที่ 6 ในรอบ 73 ปี โดยความรุนแรงของมันจะส่งผลกระทบทำให้เกิดความแห้งแล้งมากยิ่งขึ้น และกระทบเป็นห่วงโซ่ทั้งภาคเกษตร การผลิต รวมไปถึงระบบเศรษฐกิจ ผู้เชี่ยวชาญอย่าง
รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเกษตร คาดการณ์เอาไว้ว่า หากภาครัฐไม่ทำอะไรเลยในช่วงที่เกิดปรากฏการ "เอลนีโญ" รวมไปถึงไม่เตรียมความพร้อมรับมือ การเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ (Climate Change) จะก่อให้เกิดความเสียหายประมาณ 2.58 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่น้อยกว่างบประมาณประจำปีของประเทศเพียงนิดเดียวเท่านั้น
รศ.ดร. วิษณุ ฉายภาพผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย ในช่วงที่เกิดปรากฎการณ์ "เอลนีโญ" กับ คมชัดลึก ว่า เอลนีโญ มีผลกระทบแน่นอนว่าต่อสภาพน้ำท่า น้ำต้นทุน ในเขื่อน เพราะตอนนี้ประเทศไทยมีน้ำต้นทุนประมาณ 41,676 ล้านลบ.ม. เท่านั้น ด่านแรกที่จะได้รับผลกระทบเลยทันทีคือภาคการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่นอกชลประทาน ซึ่งพบว่าในประเทศไทยพื้นที่เกษตรกรรมมากถึง 74 % ที่อยู่นอกเขตชลประทาน และมีพื้นที่เกษตรเพียง 26% เท่านั้นที่เข้าถึงระบบชลประทาน แน่นอนว่า พืชที่จะได้รับผลกระทบก่อนเลยก็คือ การทำข้าวนาปรัง โดยปีนี้คาดการณ์ว่าภาครัฐจะมีการปล่อยน้ำน้อยลง เพื่อรักษาปริมาณน้ำต้นทุนเอาไว้ เนื่องจาก "เอลนีโญ" จะอยู่กับเราไปอีก 3 ปี หากไม่เก็บน้ำต้นทุนเอาไว้ไทยจะเผชิญกับภาวะคาดแคลนน้ำต้นทุนแน่นอน โดยมีการคาดการณ์ว่าในปีนี้จะมีการปลูกข้าวนาปรังไม่ถึง 9 ล้านไร่แน่นอน
รศ.ดร. วิษณุ ฉายภาพผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย ในช่วงที่เกิดปรากฎการณ์ "เอลนีโญ" กับ คมชัดลึก ว่า เอลนีโญ มีผลกระทบแน่นอนว่าต่อสภาพน้ำท่า น้ำต้นทุน ในเขื่อน เพราะตอนนี้ประเทศไทยมีน้ำต้นทุนประมาณ 41,676 ล้านลบ.ม. เท่านั้น ด่านแรกที่จะได้รับผลกระทบเลยทันทีคือภาคการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่นอกชลประทาน ซึ่งพบว่าในประเทศไทยพื้นที่เกษตรกรรมมากถึง 74 % ที่อยู่นอกเขตชลประทาน และมีพื้นที่เกษตรเพียง 26% เท่านั้นที่เข้าถึงระบบชลประทาน แน่นอนว่า พืชที่จะได้รับผลกระทบก่อนเลยก็คือ การทำข้าวนาปรัง โดยปีนี้คาดการณ์ว่าภาครัฐจะมีการปล่อยน้ำน้อยลง เพื่อรักษาปริมาณน้ำต้นทุนเอาไว้ เนื่องจาก "เอลนีโญ" จะอยู่กับเราไปอีก 3 ปี หากไม่เก็บน้ำต้นทุนเอาไว้ไทยจะเผชิญกับภาวะคาดแคลนน้ำต้นทุนแน่นอน โดยมีการคาดการณ์ว่าในปีนี้จะมีการปลูกข้าวนาปรังไม่ถึง 9 ล้านไร่แน่นอน
พืชอีก 2 ชนิดที่หนีไม่พ้นปรากฎการณ์ "เอลนีโญ" ในรอบนี้ คือ อ้อยและมันสำปะหลัง โดยเฉพาะอ้อยที่มีความเสี่ยงจะต้องตกอยู่ในสถานการณ์คล้ายกับปี 2562-2563 ซึ่งผลผลิตหายไปกว่า 50% ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำตาลที่ต้องแบกภาระค่าต้นทุนที่เพิ่มสูงมากขึ้น ส่วนมันสำปะหลังก็เสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายเช่นกัน เพราะโดยปกติแล้วการทำไร่มันสำปะหลังมักจะทำนอกเขตชลประทาน ซึ่งมีโอกาสที่จะเข้าถึงน้ำได้ลำบากมาก มีแนวโน้มอย่างมากที่จะเกิดความเสียหายต่อผลผลิต
"เมื่อวัตถุดิบตั้งต้นเสียหาย หรือ ขาดแคลนแน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุตสาหกรรม เพราะหากมีวัตถุดิบไม่เพียงพอ ก็จำเป็นจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้น ท้ายที่สุดก็จะถูกผลักภาระมายังผู้บริโภคเหมือนที่ผ่าน" รศ.ดร.วิษณุ ได้แสดงความคิดเห็นเอาไว้
- ซ้ำร้าย "เอลนีโญ" ยังสร้างช่องว่างเหลื่อมล้ำให้กว้างขึ้น
ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่กับสภาพอากาศ ความแห้งแล้ง ทำฝนตกทิ้งช่วงเท่านั้น เพราะรศ.ดร. วิษณุ ยังบอกว่าอีกว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญ ยังทำให้สังคมเกิดความเหลื่อมล้ำมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำในการทำการเกษตร ที่ตอนนี้เห็นชัดเจนว่ายังมีหลายพื้นที่อยู่นอกพื้นที่ชลประทาน และยิ่งไปกว่านั้นในช่วงที่ภาคเกษตรกำลังเผชิญกับความแห้งแล้ง ผลผลิตตกต่ำคนที่เป็น Smart Farmer ก็จะได้ปรียบเกษตรกรที่ไม่ได้มีการนำเอานวัตกรรม และเทคโนโลยีมาใช้ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบถึงความมั่นคงทางอาหารด้วย
- สุขภาพ-การท่องเที่ยว-แรงงาน รับหางเลขจากปรากฎการณ์ "แอลนีโญ"
ในปี 2567 ที่มีการระบุว่าร้อนมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านๆ มา หนีไม่พ้นที่จะส่งผลกระทบต่อร่างกาย เราอาจจะได้เห็นประชาชนคนเป็นฮีทสโตรกที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ภาคแรงงานที่ไม่สามารถทำงานกลางแจ้งได้เป็นเวลานาน เพราะสภาพอากาศที่ร้อนระอุ ระยะเวลาทำงานอาจจะสั้นลง ต้องปรับเปลี่ยนเวลาทำงานเพื่อหนีอากาศร้อน แรงงานเจ็บป่วยมากขึ้น ดังนั้นในเชิงเศรษฐศาสตร์ย่อมส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานแน่นอน ส่วนผลกระทบในเชิงการท่องเที่ยว อากาศที่ร้อนมากๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อทรัพยากรณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้ระบบนิเวศเสียหายได้ แน่นอนว่าเมืองไทยเป็นเมืองที่อากาศร้อนสุดๆ อยู่แล้ว หากอุณหภูมิเพิ่มขึ้นคงมีนักท่องเที่ยวลดลง
- ทางออก ทางรอด หนี "เอลนีโญ" ไม่ได้ก็ต้องรับมือให้ดี
รศ.ดร.วิษณุ อธิบายถึงการรับมือกับปรากฎการณ์ "เอลนีโญ" ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ ว่า ถึงวันนี้รัฐบาลจะต้องปรับเปลี่ยนนโยบายการทำเกษตรใหม่ ยกเลิกการทำนโยบายแลลให้เปล่า ไม่ว่าจะเป็นเงินเยียวยา เงินประกันราคา ที่จ่ายเมื่อประชาชนสูญเสียผลผลิตทางการเกษตรไปแล้วเท่านั้น จากนี้จะต้องลงทุนด้านการทำวิจัย ให้ความรู้แก่เกษตรมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกษตรสามารถเอาตัวรอดจากภับพิบัติทางธรรมชาติและความเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศได้ โดยเฉพาะการส่งเสริมการทำวิจัยสายพันธุ์พืชชนิดใหม่ การทำปศุสัตว์ที่ยั่งยืน ไม่ใช่การไปลงทุนกับเงินเยียวยาเหมือนที่กำลังทำกันอยู่ขณะนี้
โดยเฉพาะรัฐบาลใหม่ที่กำลังจะเข้ามาดำรงตำแหน่งในระหว่างที่ไทยต้องเผชิญกับวกฤต "เอลนีโญ" ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปรัยเปลี่ยนนโยบาย และต้องมองความสำคัญของผลกระทบที่จะเกิดจากเอลนีโญเป็นงานแรกๆ ไม่เช่นนั้นเกษตรกรกว่า 12.5 ล้านครัวเรือนจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง และกระลามกระทบไปซึ่งห่วงโซ่อื่นๆ ตามไปด้วย.