ทางรอดหนีภาวะ 'แห้งแล้ง' ผู้เชี่ยวชาญฉายภาพ 2 กรณีหากไม่ทำเผชิญภาวะขาดน้ำ
ทางรอดหนีภาวะ 'แห้งแล้ง' จากปรากฎการณ์เอลนีโญ ผู้เชี่ยวชาญฉายภาพ 2 กรณีหากไม่ทำเตรียมเผชิญภาวะขาดแคลนน้ำ น้ำต้นทุนเหลือไม่เพียงพอ
สภาพอากาศที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสุดขีด จนเราอาจจะแทบตั้งตัวไม่ทันบางวันร้อน บางวันฝนตก บางวันเกิดพายุโหมกระหน่ำรุนแรงคร่าชีวิตคน และนับวันความผันผวนทางสภาพอากาศจะยิ่งเพิ่มขีดความวิกฤตมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เผชิญกับปรากฎการณ์ เอลนีโญ อย่างทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทวีปออสเตรเลีย ซึ่งนั้นหมายความในพื้นที่ที่ เอลนีโญ หมุนเข้าหาจะตกอยู่ในสภาวะ "แห้งแล้ง" และฝนน้อย
จากการพยากรณ์ผลกระทบจากเอลนีโญ ที่มีอิทธิพลทำให้เกิดความ "แห้งแล้ง" ขึ้นนั้น ส่งผลให้ประเทศไทยเองได้มีการวางแผนบริหารจัดการน้ำ เพื่อประคับประคองไม่ให้เกิดภาวะน้ำต้นทุนน้อย จนกระทบภาคอุปโภคบริโภค โดยมีการคาดการณ์เอาไว้ว่าทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเจอกับปรากฏการณ์เอลนีโญระดับกลางแบบ 100% และจะเริ่มส่งผลกระทบในช่วงปลายปี 2566 คาบเกี่ยว ปี 2567 และต่อเนื่องไปอีกจนถึงปี 2570 ซึ่งกินเวลาค่อนข้างนาน ดังนั้นหากขาดการบริหารจัดการน้ำต้นทุนที่ มีโอกาสสูงมากที่เผชิญกับภาวะขาดแคลนน้ำได้ในอนาคต
ผศ.ภานุวัฒน์ ปิ่นทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำ ให้มุมมองเกี่ยวกับการ คาดการณ์น้ำล่วงหน้าเพื่อการบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินสถานการณ์น้ำ เพื่อให้รอดพ้นในช่วงที่ต้องเผชิญกับปัญภัยแล้ง เพราะได้รับผลกระทบจากปรากฎการณ์เอลนีโญ ว่า ในช่วงที่ไทยจะต้องเผชิญกับภาวะฝนทิ้งช่วง และสถานการณ์ "แห้งแล้ง" นั้นการคาดการณ์น้ำล่วงหน้ามีความสำคัญมาก เพราะจะทำให้เรารู้ว่าจะต้องรับมืออย่างไร โดยเฉพาะการคาดการณ์สถานการณ์น้ำล่วงหน้า 5 ปี (ปี 2566-2570) จะส่งผลให้สามารถบริหารจัดการน้ำล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิมากขึ้น แต่ก่อนที่ไปพิจารณาปริมาณน้ำในเขื่อน และผลกระทบภัยแล้งที่จะเกิดขึ้น ควรจะต้องดูสถานการณ์ปริมาณน้ำฝนประกอบกันเสียก่อน
โดย ผศ.ภานุวัฒน์ ระบุว่า หากลองพิจารณาปริมาณน้ำฝนเทียบกับช่วงที่ไทยเกิดน้ำท่วมใหญ่จะพบว่า ในปี 2565 ปริมาณในมากกว่าในช่วงปี 2554 แต่เมื่อปีที่ผ่านมาเราสามารถบริหารจัดการน้ำได้ค่อนข้างดี ดั้งนั้นการวางแผนบริหารจัดการน้ำ เพื่อหนีน้ำท่วมหรือน้ำแล้งจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งนับจากนี้
ส่วนในอนาคตสถานการณ์ฝนตกต่อนี้ต้องยอมรับว่าฝนจะตกทิ้งช่วงนานมากขึ้น เพราะได้รับอิทธิจากปรากฎการณ์เอลณีโญดังนั้นจะทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้า 4 เขื่อนหลัก ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โดยทั้ง 4 เขื่อนเป็นพื้นที่ใช้กักเก็บน้ำที่สำคัญของประเทศไทย โดยปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนขณะนี้อยู่ที่ประมาร 12,000 ล้านลบ.ม. และในช่วงฤดูฝนปีนี้คาดว่าจะมีปริมาณฝนตกประมาณ 1,200 มม. ซึ่งยังถือว่าเป็นปริมาณในที่มากพอสมควรที่จะทำให้มีน้ำไหลเข้าสู่เขื่อนได้ ดังนั้นในช่วงปี 2566-2567 หากมีการบริหารจัดการน้ำที่ดีตั้งแต่ต้นจะไทยจะไม่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งมากหนัก เพราะยังถือว่ามีปริมาณน้ำต้นทุนพอสมควรอยู่
แต่ปีที่ควรเฝ้าระวังคือปี 2568 จากการคาดการณ์ตามแบบจำลองพบว่าจะมีปริมาณน้ำฝนตกเพียง 800 มม.เท่านั้น และจะมีปริมาณน้ำในเขื่อนราวๆ 7,000 ล้านลบ.ม.เท่านั้น ซึ่งลักษณะฝนตกในปี 2568 มีความคล้ายกับปริมาณในปี 2558 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยเผชิญกับวิกฤติภัยแล้งอย่างรุนแรง ใน 4 เขื่อนหลักเหลือน้ำเพียง 23% เท่านั้น ดังนั้นในช่วงปี 2568 จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเฝ้าระวังและบริหารจัดการน้ำให้ดี โดยเฉพาะในภาคการเกษตรที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด ส่วนในปี 2569-2570 เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ใกล้หลุดพ้นวิกฤตภัยแล้ง เพราะสถานการณ์น้ำจะดีขึ้น และจะดีต่อเนื่องไปจนถึงปี 2570 ปริมาณน้ำจะมากขึ้นและมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วม เพื่อเป็นการฉายภาพสถานการณ์วิกฤตภัยแล้งที่คนไทยได้เห็นอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ผศ.ภานุวัฒน์ จำลองสถานการณ์สถานการณ์น้ำ และปัญหาภัยแล้งที่ไทยมีโอกาสจะเจอได้โดยมีทั้งสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดหากไม่มีบริหารจัดการ และสถานการณ์ที่จะรอดจากวิกฤตครั้งนี้หสกมีการจัดการที่ดี และมีการวางแผนรับมือ ดังนี้
กรณีที่ 1 ปล่อยให้มีการเพาะปลูกเต็มพื้นที่ในบริเวณลุ่มเจ้าพระยา โดยจะมีการปลูกข้าวนาปีประมาณ 6.4 ล้านไร่ และปลูกข้าวนาปรังประมาร 3.1 ล้านไร่ จะส่งผลให้ต้องมีการปล่อยน้ำสำหรับการเพาะปลุกเพิ่มมากขขึ้น ส่งผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนลดลงอย่างแน่นอน โดยเฉพาะในปี 2568 ที่คาดการณ์ว่าจะเหลือปริมาณน้ำใช้งานได้แค่ 32% เท่านั้น ซึ่งไม่มีทางเพียงพอต่อการอุปโภค บริโภคแน่นอน
กรณีที่ 2 ลดการเพาะปลูกลง ด้วยการลดการปลูกข้าวนาปีเหลือ 5.8 ล้านไร่ ลดการปลูกข้าวนาปรังเหลือ 2.3 ล้านไร่ ซึ่งจะช่วยประหยัดน้ำต้นทุน และเพื่อรับมือความผันผวนของสภาพอากาศได้ดี หากสามารถทำได้จะทำให้ปี 2568 มีปริมาณน้ำในเขื่อนประมาณ 60% เท่ากับว่าเราจะไม่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงเอลนีโญ ดังนั้น หากเราบริการจัดการน้ำได้ดีประเทศไทยก็ไม่ต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนน้ำในช่วงวิกฤตแล้งนี้