เฝ้าระวัง 'แผ่นดินไหว' พิษณุโลก เผยสาเหตุทำรอยเลื่อนนอกสำรวจเกิดพลังงาน
เฝ้าระวัง 'แผ่นดินไหว' พิษณุโลก จับตาอาฟเตอร์ช็อก 24 ชั่วโมง เผยสาเหตุทำให้รอยเลื่อนนอกสำรวจเกิดพลังงาน แรงสั่นสะเทือนครั้งนี้ไม่กระทบตึกสูง
ดร.ชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า จากเหตุการณ์ "แผ่นดินไหว" เมื่อช่วงเวลา 24.17 น.กลางคืนที่ผ่านมา พบว่า จุดศูนย์กลางอยู่บริเวณ ต.ไผ่ล้อม อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก ที่ละติจูด 16.558 องศาเหนือ ลองจิจูด 100.368 องศาตะวันออก ขนาด 4.5 ความลึก 5 กิโลเมตร ได้รับแจ้งรู้สึกสั่นไหวบริเวณ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิจิตร จังหวัดกำแพงเพชร
จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าการเกิด "แผ่นดินไหว" ในครั้งนี้ เป็นการเกิดขึ้นจากรอยเลื่อนที่ซ่อนตัวอยู่ใต้ดิน (Hidden Fault) ซึ่งรอยเลื่อนนี้อยู่นอกเหนือจาก 16 กลุ่มรอยเลื่อนมีพลัง ที่ไม่เคยเกิดแผ่นดินไหวมาก่อนในรอบ 100 ปี เป็น"แผ่นดินไหว" ระดับตื้นมาก และมีจุดศูนญ์กลางอยู่กลางป่า จากการตรวจสอบและเฝ้าระวังพบว่า รอยเลื่อนดังกล่าวเกิดขึ้นในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ ไปทางตะวันออกเฉียงใต้คู่ขนานไปในแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ ที่อยู่ทางตะวันออกของศูนย์กลางแผ่นดินไหวโดยวัดค่าอัตราเร่งสูงสุด(PGA) 0.3%g แรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นนั้นจะทำให้ประชาชนรับรู้ถึงความสั่นไหวได้ แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างอาคารเพราะจุดศูนย์กลางอยู่ห่างจากตัวเมือง
ดร.ชมภารี อธิบายต่อว่า ส่วนสาเหตุที่ทำให้รอยเลื่อนที่ซ่อนตัวอยู่ใต้ดินที่ไม่เคยมีพลังงานกลับมาเคลื่อนตัวในครั้งนี้นั้น เบื้องต้นคาดรอยดังกล่าวเป็นรอบแขนงของรอยเลื่อนที่มีพลังงานอยู่แล้ว และเกิดการสะสมพลังงานในตัวเองขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการสั่นไหว ส่วนจะมีความเกี่ยวข้องกับรอยเลื่อนพะเยา ที่มีการเคลื่อนตัวไปเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2566 ที่ผ่านมาหรือไม่นั้น ทางกรมทรัพยากรธรณีอยู่ระหว่างการดำเนินการตรวจสอบรายละเอียด เพราะเป็นรอยเลื่อนที่ไม่ได้อยู่ในบัญชี 16 รอบเลื่อนที่มีพลังงานอยู่
อย่างไรก็ตามกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีการประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อเฝ้าระวังการเกิดอาฟเตอร์ช็อก โดยจะมีการเฝ้าระวัง 24 ชม. แต่หากพบว่าเกิดการสั่นไหวอีกรอบที่มีขนาดรุนแรงกว่าครั้งแรก จะไม่ได้นับเป็นอาฟเตอร์ช็อก แต่จะนับว่าเป็นการเกิด "แผ่นดินไหว" ครั้งใหม่ แต่ขณะนี้จากการเฝ้าระวังมั่นใจได้ว่าไม่เกิดอาฟเตอร์ช็อกขึ้นแน่นอน
ทั้งนี้ภายหลังจากที่เกิดเหตุ "แผ่นดินไหว" ทางกรมอุตุนิยมวิทยา ได้แจ้งเตือนประชาชนอย่างรวดเร็วภายใน 17 นาที พร้อมกับมีการประสานงานข้อมูลกับกรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิต เพื่อให้รับทราบข้อมูลพร้อมกันสำหรับการเตรียมความพร้อม แต่จากแรงสั่นสะเทือน 4.5 ริกเตอร์ไม่ได้กระทบต่อความแข็งแรงของเขื่อนแน่นอน ทั้งนี้กรมอุตุฯ ได้มีการพัฒนาระบบเตือนภัย "แผ่นดินไหว" และภัยพิบัติอื่นๆ ผ่านทางระบบ line alert ซึ่งประชาชนสามารถติดตามข้อมูลผ่านการแจ้งเตือนภัยได้แบบทันเหตุการณ์
หลายคนที่กำลังตั้งข้อมสงสัยว่าทำไมประเทศไทยไม่สามารถคาดการณ์การเกิด "แผ่นดินไหว" ได้ล่วงหน้า เหมือนกับการพยากรณ์พายุ เพื่อเป็นการแจ้ให้ประชาชนได้เตรียมความพร้อมก่อนที่ผ่านมาในต่างประเทศเคยมีการพยายามที่ดำเนินการคำนวณ คาดการณ์การเกิดแผ่นดินไหวล่วงหน้าด้วยระบบ AI ไว้เช่นกันแต่ยังไม่เป็นที่นิยมมากหนัก โดยกรมอุตุฯเองก็มมีความพยายามที่จะดำเนินการพยากรณ์ และแจ้งเตือนการเกิดแผ่นดินไหวในอนาคตด้วยเช่นกัน