หลักฐานจากดาวเทียมชี้ชัดการเกิด 'เอลนีโญ' หน้าหนาวเกิดสูงสุด 90%
หลักฐานจากดามเทียมชี้ชัดปรากฏการณ์ 'เอลนีโญ' เก็บข้อมูลอุณหภูมิน้ำทะเล ความสูงของน้ำทะเล ข้อมูลระบุช่วงหน้าหนาวเกิดสูงสุด 90% ส่วนปรากฎการณ์ Enso กระทบปริมาณฝนต่ำกว่าค่าปกติ อุณหภูมิสูงขึ้น
ปรากฏการณ์เอลนีโญ ผลกระทบที่หลายหน่วยงานเริ่มจับตามอง และวิเคราะห์ความเสี่ยง และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะผลกระทบกับปริมาณน้ำฝน หรือ ความแปรปรวนของอุณหภูมิ เพื่อเตรียมแผนการรองรับในช่วงที่ "เอลนีโญ" เริ่มกระทบรุนแรง
ซึ่งหากมีข้อมูลที่แม่นย้ำมากเท่าไหร่ ยิ่งจะทำให้สามารถคาดการณ์และวางแผนเตรียมรับมือได้มากเท่านั้น อีกทั้งการที่มีข้อมูลย้อนหลัง เพื่อให้ทราบว่า พื้นที่ทำการเกษตรบริเวณใดเคยเผชิญปัญหาภัยแล้ง จนเกิดความเสียหายต่อผลผลิตก็จะทำให้การวางแผนเพาะปลูกเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแล้งได้ด้วย
ดร.ประเมศ แก้วมีศรี นักวิจัยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ (GISTDA) เปิดเผยข้อมูล การใช้ดาวเทียมตรวจจับเอลนีโญ ว่า สำหรับการตรวจวัด ปรากฎการณ์เอลนีโญจาก ดาวเทียมหลักๆ สามารถเก็บข้อมูลที่หลักฐานที่มีความเกี่ยวเนื่องกับการเกิด "เอลนีโญ" ในมหาสมุทร ซึ่งการเก็บข้อมูล ความสูงผิวน้ำทะเลที่สอดคล้องกับอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่ช่วงที่เกิดปรากฎการณ์ "เอลนีโญ" โดยเป็นการเก็บข้อมูลและเปรียบเทียบกันในระกว่าง ปี 1997 ปี 2015 และปี 2023
โดยข้อมูลจากดาวเทียม Sentinel-6 Michael Freilich มีการเก็บข้อมูลในช่วงระหว่างต้นเดือนมี.ค.-สิ้นเดือน เม.ย. 2023 โดยพบว่ามีการสะสมน้ำอุ่นในมหาสมุทรที่เพิ่มมากขึ้น และมีการยกตัวของระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น โดยสามารถตรวจจับคลื่นเคลวิน หรือการตรวจวัด ของอุณหภูมิสีของแหล่งกำเนิดแสง ด้วยเครื่องวัดความสูงเรดาร์ซึ่งใช้สัญญาณไมโครเวฟ เพื่อวัดความสูงของพื้นผิวมหาสมุทร เมื่อเครื่องวัดความสูงผ่านพื้นที่ที่อุ่นกว่าที่อื่นข้อมูลจะแสดงระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น
ทั้งนี้ค่าที่วัดได้นั้นแสดงให้เห็นความสูงของผิวน้ำทะเลที่สอดคล้องกับอุณหภูมิผิวน้ำทะเลช่ววงที่เกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ในรอบที่ผ่านมา ส่วนการจะระบุว่า เป็นปรากฎการณ์ "เอลนีโญ" จะอยู่ในระดับในจะต้องวัดว่าอุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นจากอุณหภูมิปกติมากกว่า 0.5 องศา ระยะเวลาติดต่อกันนานเกิน 5 ครั้งหรือไม่ รวมไปถึงการพิจารณา ปรากฎการณ์ Enso ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ด้วยว่าโลกกำลังเผชิญกับ "เอลนีโญ" ในระดับใด
แล้ว ปรากฎการณ์ Enso เกี่ยวข้องกับการเกิด "เอลนีโญ" อย่างไร ดร.ประเมศ อธิบาย ว่า ปรากฎการณ์ Enso เป็นคำที่ใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลในแปซิฟิก จึงนับว่าเป็นปรากฎการณ์บ่งชี้การเกิดของเอลนีโญและลานีญา โดยในปี 2023 พบว่า มีการคาดการณ์ปรากฎการณ์ Enso ซึ่งพบว่าในช่วงฤดูหนาวระหว่างปี 2023-2024 มีโอกาสเกิดเอลนีโญสูงถึง 90% และเกือบทุกแบบจำลองระบุว่ามีโอกาสสูงมากที่จะเกิดเอลนีโญในช่วงฤดูหนาว