ชีวิตดีสังคมดี

ธุรกิจคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กับ "บ้านปูเพาเวอร์ (BPP)"

ธุรกิจคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กับ "บ้านปูเพาเวอร์ (BPP)"

12 ก.ค. 2566

"บ้านปูเพาเวอร์" เดินหน้าแผนลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขับเคลื่อนแนวทาง "Triple E" ธุรกิจคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จัดตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ ผู้ช่วยอธิการบดี แห่งจุฬาฯ นั่งประธาน

ประเทศไทยปล่อย "ก๊าซเรือนกระจก" เป็นอันดับ 19 ของโลก มีส่วนสำคัญทำให้โลกร้อน ในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" กำหนดให้ไทย "ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก" ให้ได้ 25% ภายในปี 2573 หากทำไม่ได้ประชาคมโลกจะตั้งกำแพงภาษี และที่สำคัญ คือ โลกต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ร้ายแรง

โรงงานอุตสาหกรรม

 

 

 

เมื่อองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) องค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ศึกษาพบว่า แหล่งที่มาของ "ก๊าซเรือนกระจก" ของไทย 4 อันดับแรก คือ ภาคพลังงาน (253 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี) คิดเป็น 70% ทส.จึงมุ่งเป้าไปที่กลุ่มพลังงาน ด้วยการขอความร่วมมือสนับสนุนพลังงานสะอาด เพิ่มป่าไม้ดูดกลับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อบรรลุเป้าหมายลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์

บ้านปู ใช้เทคโนโลยีโซลาร์รูฟท็อป

 

 

 

 

ศ.ดร.พัชณิตา ธรรมยงค์กิจ ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านการวิจัยและนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธาน ESG

 

 

 

"บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)" หรือ "บ้านปูเพาเวอร์" (BPP) เดินหน้าแผน "ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก" ด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ"(Environmental, Social and Governance: ESG) โดยมี "ศ.ดร.พัชณิตา ธรรมยงค์กิจ" ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านการวิจัยและนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธาน ESG พร้อมคณะกรรมรวม 10 คน

 

 

 

ESG ทำหน้าที่สนับสนุนนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น หรือคัดค้านเมื่อเกิดการตัดสินใจที่ไม่เป็นธรรม การจัดทำและเผยแพร่ข้อมูลแบบดิจิทัล เพิ่มความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ รวมถึงเข้าร่วมเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย

 

 

 

"ศ.ดร.พัชณิตา" บอกว่า ธุรกิจพลังงานกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นความท้าทาย ภาคธุรกิจมุ่งแสวงหากำไร แต่ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยของคนรอบข้าง ทั้งสองต้องเติบโตไปพร้อมกัน ไม่ใช่แค่สิ่งแวดล้อม หรือธุรกิจอย่างเดียว

 

 

 

"เราอยากสร้างความมั่นใจว่า เราไม่ได้ลืมความสำนึกอยู่บนความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมาก่อนเสมอ แต่วันนี้ต้องมองด้านความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้สังคมด้วย"  "ศ.ดร.พัชณิตา" ระบุ

 

 

 

 

โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี  ส่งเสริมการทำปุ๋ยหมักให้กับชุมชน ที่จ.ระยอง

 

 

 

 

ดร.กิรณ ลิมปพยอม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร "บ้านปู"

 

 

 

คำถาม คือ ธุรกิจแสวงหากำไร ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะขับเคลื่อนอย่างไร "ดร. กิรณ ลิมปพยอม" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร "บ้านปูเพาเวอร์" อธิบายว่า ความจริงเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับทุกอุตสาหกรรม "บ้านปูเพาเวอร์" จัดตั้ง ESG ตั้งแต่เดือน มี.ค. 2566 เพราะ ESG เป็นหนึ่งในแนวทางขับเคลื่อนธุรกิจพลังงาน ตามแนวทาง "Triple E" 

 

 

 

แนวทาง "Triple E" คือ 1. Ecosystem มุ่งสร้างเมกะวัตต์คุณภาพด้วยสมดุลของพอร์ตธุรกิจทั้งจากพลังงานความร้อน และพลังงานหมุนเวียน 2. Excellence ความสามารถในการปรับตัวท่ามกลางความท้าทายของสถานการณ์พลังงานโลกที่มีความผันผวน

 

 

 

และ 3. ESG การดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับหลักความยั่งยืน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมสังคม และการกำกับดูแลกิจการ ควบคู่ไปกับการเป็นพลเมืองดีในทุกประเทศที่เข้าไปดำเนินธุรกิจ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนและชุมชน

 

 

 

"ดร.กิรณ" อธิบายต่อว่า  ล่าสุดแนวทาง "Triple E" มีเป้าหมายในการเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้า 5,300 เมกะวัตต์ ภายในปี 2568 แต่ก่อนหน้านี้ก็มีกลุ่มธุรกิจผลิตพลังงานที่ลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี HELE ในโรงไฟฟ้า

 

 

 

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อวาจิ ที่ญี่ปุ่น

 

 

 

 

โรงไฟฟ้านาโกโซ (Nakoso IGCC) ในเมืองฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ใช้เทคโนโลยี Integrated Gasification Combined Cycle (IGCC) ที่ใช้เทคโนโลยีผสมผสานในการแปลงสถานะถ่านหิน ให้กลายเป็นก๊าซเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้า ทำให้ลดปริมาณการใช้ถ่านหินลง

 

 

 

 

โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Temple I ในรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา

 

 

 

 

โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Temple I ในรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ซึ่งใช้เทคโนโลยี Combined Cycled Gas Turbines (CCGT)
ที่ผสมผสานกระบวนการทำงานของ Gas Turbine (กังหันก๊าซ) กับ Steam Turbine (กังหันไอน้ำ) เข้าไว้ด้วยกัน พร้อมกับมีระบบการจัดการน้ำทิ้งจนเกือบเป็นศูนย์ นับเป็นโรงไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงและเหมาะกับสภาพการแข่งขันในตลาด Electric Reliability Council of Texas (ERCOT) ที่มีการซื้อขายไฟฟ้าแบบเสรี

 

 

 

 

โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม (CHP)

 

 

 

 

โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม (CHP) ทั้ง 3 แห่งที่จีน ได้ออกแบบกระบวนการผลิตไฟฟ้าให้ไม่มีน้ำเสียไหลออกจากระบบเพื่อลดการใช้ทรัพยากรน้ำในพื้นที่ และการนำน้ำมาผ่านกระบวนการรีไซเคิลเพื่อนำกลับไปใช้ใหม่ รวมถึงการปรับปรุงคุณภาพอากาศก่อนปล่อยออกจากปล่อง โดยคุณภาพอากาศที่ปล่อยออกมาดีกว่าค่ามาตรฐานที่กฎ

 

 

 

"เพื่อตามเป้าหมายแห่งสหประชาชาติ "บ้านปูเพาเวอร์" เดินหน้าพลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ เชื่อถือได้ และยั่งยืน สร้างหลักประกันว่ามีการเข้าถึงการบริการพลังงานสมัยใหม่ ในราคาที่สามารถหาซื้อได้ในต้นทุนที่ต่ำกว่า ขณะเดียวกัน ก็ปกป้องสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ที่ปลอดภัย" "ดร.กิรณ" ระบุ

 

 

 

"ดร.กิรณ" เล่าต่อว่า ภาพรวมการดำเนินงาน "บ้านปูเพาเวอร์" เร่งเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยมีเป้าหมายลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด ทั้งการขยายพอร์ตธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และการใช้เทคโนโลยีในการผลิตขั้นสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน รวมไปถึงการขยายกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีพลังงานที่สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด

 

 

 

"ในด้านสังคมได้จ้างงานคนในชุมชนทำงานในโรงไฟฟ้า ตรวจสุขภาพให้แก่คนในชุมชนตั้งแต่ก่อนเริ่มก่อตั้งโรงไฟฟ้า และทำอย่างต่อเนื่อง มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อให้สามารถเกิดการติดตามผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งหมดเพื่อนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำและโลกที่ยั่งยืนขึ้น" "ดร.กิรณ" กล่าวในที่สุด

 

 

 

โรงไฟฟ้าบีแอลซีพีจัดกิจกรรมปลูกป่าชุมชน ที่จ.ระยอง

 

 

 


การทำธุรกิจให้เติบโตยั่งยืนในยุค "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" ที่คาดการณ์ว่า โลกมีแนวโน้มร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ภายในปี 2040 การหันมาแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ให้ธุรกิจคุ้มค่าทางเศรฐกิจ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อบรรลุเป้าหมาย "ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก" ก้าวข้ามสัญญาณเตือนภัยว่า มนุษยชาติเหลือเวลาอีกไม่มาก