สังคมเข้มแข็ง

TCNN นำทัพขับเคลื่อนธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายปล่อย ก๊าซเรือนกระจก เป็นศูนย์

TCNN นำทัพขับเคลื่อนธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายปล่อย ก๊าซเรือนกระจก เป็นศูนย์

18 ก.ค. 2566

รู้จัก TCNN เครือข่ายความเป็นกลางทางคาร์บอน ผู้นำทัพภาคธุรกิจปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ พร้อมเดินหน้าสร้างความรู้ คาร์บอนเครดิต ให้ภาคประชาชน

ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนเริ่มฉายภาพชัดขึ้นเรื่อยๆ การปล่อย "ก๊าซเรือนกระจก"  ในปริมาณมากหมายมหาศาล ส่งผลให้อุณภูมิของโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันอุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเฉลี่ย 0.8 องศา มีการคาดการณ์ว่าในช่วงปลายศตวรรษที่ 21 อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นมากถึง 4 องศา ซึ่งหากไม่มีหยุดยั้งอุณหภูมิเอาไว้ มีความเป็นไม่ได้ว่าโลกเราจะเจอกับความหายนะได้

เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN) หน่วยงานสำคัญที่จะช่วยเข้ามาเป็นแรงเสริมและสนับสนุนภาคธุรกิจในการลดการปล่อย "ก๊าซเรือนกระจก" และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ให้แก่ องค์กรสมาชิกในการกำหนดเป้าหมายคาร์บอนนิวทรัลในระดับองค์กร เพื่อสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืน และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หลายคนอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับมากเท่าไหร่ แต่หากมองที่ภาระกิจหน้าที่แล้ว ในภาวะที่โลกร้อนกำลังเริ่มป่วยเช่นนี้ เครือข่าย TCNN จะเข้ามาช่วยเยียวยารักษาโลกอีกทาง

  • แกนนำขับเคลื่อนให้ไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน

นายวรพงษ์ นาคฉัตรีย์ ประธานกรรมการเครือข่าย TCNN  ได้อธิบายถึงหน้าที่และ ภาระกิจหลักของเครือข่าย TCNN  ว่า เครือข่าย จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในทุกภาคส่วน ในการดำเนินงานลด "ก๊าซเรือนกระจก" สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนและมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์  ผ่านความร่วมมือ และส่งเสริมเครือข่ายองกรค์เอกชน ที่ปัจจุบันนี้มีสมาชิกกว่า 440 องค์กร มีสมาชิกประเภท Climate Action Leading Organization ถึง 91 องค์กร ซึ่งทางหมดนี้จะเป็นแนวร่วมในการขับเคลื่อนให้เทศไทยบรรลุเป้าหมาย หลังเข้าร่วมการประชุม COP26 ตามที่รัฐบาลไทยประกาศเป้าหมายสำคัญ ว่าไทยจะเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutrality ในปี ค.ศ. 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี 2065

 

 

สำหรับหลักคิดสำคัญของเครือข่ายคือ การสร้างศักยภาพ จากการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เอกชนที่เข้าร่วมเกิดการตระหนักรู้ และทำธุรกิจที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริมให้สมาชิกบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในกิจกรรมของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้ในทิศทางการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์  การแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต การจัดการหาทุนสำหรับต่อยอดธุรกิจ ผ่านกลไกลการสนับสนุนร่วมกับธนาคาร โดยที่ผ่านมาเครือข่ายได้ร่วมมือกับ EXIM Bank ส่งเสริมเอกชนให้เข้าถึงทุน ซึ่งหากธุรกิจที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก TCNN จะทำให้มีโอกาสมากยิ่งขึ้น

 

 

  • สร้างความรู้สู่การแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตระดับชุมชน 

ไม่ใช่แค่การส่งเสริมภาคเอกชนเท่านั้น แต่ TCNN ยังมองการณ์ไกลไปถึงการส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้าในใจการปลูกต้นไม้ เพื่อแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตมากยิ่งขึ้น  โดยนายวรพงษ์ อธิบายว่า นอกเหนือไปจากภาคเอกชน เราต้องารที่จะส่งเสริมให้ภาคประชาชนเกิดความเข้าใจในกระบวนการแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต เพราะที่ผ่านมาประชาชนยังไม่มีความเข้าในกระบวนการแลกเปลี่ยน ดังนั้น การให้ความรู้ เพื่อให้ชุมชน ชาวบ้าน ได้รู้หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนที่แท้จริง

 

 

“ที่ผ่านมามีชาวบ้านเดินเข้ามาหาเรา และบอกว่ามีต้นไม้ต้องการเอาต้นไม้มาซื้อขายคาร์บอนเครดิต เพื่อเปลี่ยนเป็นเงิน ตามหลักความเป็นจริงกระบวนการซื้อขายนั้นมีความซับซ้อน การจะแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตให้มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องทำผ่านองค์การที่ได้รับการรับรอง เพราะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ดังนั้น TCNN จึงต้องการที่เร่งสร้างความรู้ และสร้างให้ประชาชนเข้าใจกระบวนการมากขึ้น สร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคงจากการขายคาร์บอนเครดิต เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการเปลี่ยนคาร์บอนเป็นเงิน และเพื่อชดเชยการปล่อยคาร์บอนของภาคเอกชนให้ได้มากที่สุด”

 

 

 

  • เครือข่ายสาธารณะเพื่อลดการปล่อย "ก๊าซเรือนกระจก"

นายวรพงษ์ ยังบอกอีกว่า เครือข่าย TCNN เปรียบเสมือนเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่ได้มีการเก็บเงินกับสมาชิก เราต้องการให้เครือข่ายของเราเป็นส่วนหนึ่งของประเทศในการขับเคลื่อนภาระกิจ Carbon Net Zero และเป็นประเทศที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน Carbon Neutrality  ตามเป้าหมายของประชาคมโลกในเวทีการประชุม COP และข้อตกลงปารีส ดังนั้น สิ่งที่เราต้องทำคือไม่ใช่การมองหากำไร หรือการมองหาการลงทุน แต่เป็นการส่งเสริมความรู้ นำเอานวัตกรรมมาใช้ในกระบวนทำธุรกิจ เพื่อให้เกิดกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุด เป้าหมายคือ เราจะเป็นเครือข่ายหลักที่จะเข้าไปมีบทบาทในการขับเคลื่อนภาระกิจสำคัญของประเทศ

 

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการที่ประเทศไทยมีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม จะทำให้เรามีสมาชิกที่เพิ่มมากขึ้น และจะทำให้เราขับเคลื่อนการทำงานเพื่อโลกได้เป็นวงกว้างมากขึ้นด้วย