ชีวิตดีสังคมดี

5 ปี 'ธนาคารปูม้า' ปูชุมใกล้ฝั่งมากขึ้น ประมงไม่ต้องออกเรือไกล

5 ปี 'ธนาคารปูม้า' ปูชุมใกล้ฝั่งมากขึ้น ประมงไม่ต้องออกเรือไกล

18 ก.ค. 2566

เปิดความสำเร็จ 5 ปี 'ธนาคารปูม้า' แห่ง "มทร.ศรีวิชัย" คืนปูม้าสู่ทะเลไทย ก้ามข้ามวิกฤตประมงล่าทรัพยากรเหลือน้อย ออกเรือใกล้ฝั่งกว่าเดิมก็มีปูม้าให้จับ จากใช้น้ำมัน 2 แกลลอนต่อวัน ปัจจุบัน 1 แกลลอนใช้ได้ 2 วัน

ไม่ว่าจะอยู่ภูมิภาคไหน หรือแม้แต่ต่างประเทศก็สามารถหากิน "ปูม้า" ได้ง่าย เพราะมีการนำปูม้ามาต้มและแกะเนื้อส่งจำหน่ายทั่วประเทศ ภาคอุตสาหกรรมแปรรูปส่งออก ที่สำคัญมีการพัฒนาเครื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพจับปูม้าขนาดเล็กและใหญ่ขึ้นได้ ทำให้มีปูม้าขนาดเล็กขึ้นมาใช้ประโยชน์จำนวนมาก รวมถึงชาวประมงทั่วไปจับปูม้าที่มีไข่นอกกระดองในปริมาณมากด้วยเช่นกัน ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.ศรีวิชัย) ค้นพบว่า ประชากรปูม้าในทะเลลดลงอย่างต่อเนื่อง
  

ดร.วิกิจ ผินรับ รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มทร.ศรีวิชัย ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย  (ที่ 4 จากซ้าย)

 

 

 

"ดร.วิกิจ ผินรับ" รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มทร.ศรีวิชัย ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย "การฟื้นฟูทรัพยากรปูม้าและเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนธนาคารปูม้าพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดตรังและกระบี่" ภายใต้ "โครงการขยายผลธนาคารปูม้าเพื่อคืนปูม้า สู่ทะเลไทย" หรือ "ธนาคารปูม้า" เล่าว่า "ธนาคารปูม้า" เริ่มตั้งแต่ปี 2561 แต่ทีมวิจัยได้ศึกษาอยู่ก่อนที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้ทุนวิจัยอยู่แล้ว แต่ทุนนี้ทำให้พัฒนางานวิจัยครอบคลุมทั่วประเทศ ปัจจุบันมีธนาคารปูม้าชุมชนจำนวน 64 แห่ง และศูนย์เรียนรู้จำนวน 13 ศูนย์ รวมทั้งหมด 77 แห่ง (9 อำเภอ 54 ชุมชน)

มทร.ศรีวิชัยวิชัย ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ขับเคลื่อนโครงการขยายผลธนาคารปูม้าเพื่อ คืนปูม้าสู่ทะเลไทย สร้างจิตสำนึกการทำธนาคารปูม้า และปลูกหญ้าทะเลให้กับเยาวชน ใน จ.ตรัง เมื่อปี 2564

 

 

 

"ธนาคารปูม้า" มีกรอบดำเนินงาน คือ การนำแม่ปูม้าที่มีไข่แก่ติดหน้าท้องมาฝากไว้ในกระชังที่อยู่ในทะเล หรือถังน้ำในโรงเรือน เมื่อแม่ปูม้าเขี่ยไข่ออกจากหน้าท้องแล้วจึงนำแม่ปูไปขาย ไข่ที่ถูกเขี่ยออกจากแม่ปูก็จะฟักเป็นตัวอ่อน จากนั้นจะถูกปล่อยลงสู่ธรรมชาติ จนเติบโตเป็นปูม้าขนาดใหญ่

 

 

 

ติดตามผล "ธนาคารปูม้า" ที่บ้านคลองยวน อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ และบ้านหาดยาว อ.กันตัง จ.ตรัง เมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2566

 

 

 

"ผมติดตามสำรวจมาตลอด 5 ปี ชาวประมงบอกว่า ตอนนี้พบปูม้าได้ตื้นขึ้น ไม่ต้องเสียค่าน้ำมันออกไปไกลๆ เมื่อก่อนออกจับปูม้าแต่ละทีต้องใช้น้ำมัน 2 แกลลอน แต่ทุกวันนี้ 1 แกลลอนใช้ได้ 2 วัน ประหยัดค่าน้ำมัน แต่ได้ปูม้าเหมือนเดิม" "หัวหน้าโครงการวิจัย" เล่าด้วยความปลื้มใจ

 

 

 

"หัวหน้าโครงการวิจัย" เล่าต่อว่า ชัดเจนว่าจำนวน "ปูม้า" มากขึ้น ขณะเดียวกันจำนวนเรือประมงก็เพิ่มขึ้น ทำให้จำนวนปูม้าที่ชาวประมงจับได้ลดลง แต่ก็ยังอยู่ในจำนวนที่รับได้หากเปรียบเทียบก่อนมี "ธนาคารปูม้า"

 

 

 

ลูกปูม้าในธนาคารปูม้า เพื่อเตรียมปล่อยลงสู่ทะเล

 

 

 

เพื่อต่อยอด "ธนาคารปูม้า" ทีมวิจัยได้เป็นศูนย์เรียนรู้ และติดตั้งชุดสื่อการเรียนรู้ รวมถึงนิทรรศการในการขับเคลื่อนธนาคารปูม้าชุมชนสู่ความยั่งยืน ใน 13 "ธนาคารปูม้า" ล่าสุดที่ 2 "ธนาคารปูม้า" ได้แก่ บ้านคลองยวน อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ และบ้านหาดยาว อ.กันตัง จ.ตรัง

 

 

 

ใน 2 "ธนาคารปูม้า" นี้ได้นำโมเดลเศรษฐกิจ BCG หรือโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเข้ามาพัฒนา โดยสนับสนุนคนในชุมชนแปรรูปปูม้าและจำหน่าย เพื่อช่วยเหลือให้มีรายได้ และกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

 

 

คนในชุมชนให้ความร่วมมือแปรรูปปูม้า ตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG

 

 

 

ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่แปรรูปจากปูม้า ทีมนักวิจัยจะนำมาจัดแสดงนิทรรศการและจัดจำหน่ายในงาน "มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2566" ระหว่างวันที่ 7 – 11 ส.ค.ที่จะถึงนี้ ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ 

 

 

 

ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปูม้า

 

 

 

ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปูม้า

 

 

 

"เมื่อก่อนชุมชนมีรายได้จากการขายปูม้าอย่างเดียว เราต้องการให้เกิดความยั่งยืน จึงคิดเพิ่มมูลค่าจากปูม้า สนับสนุนให้แปรรูป จะได้มีรายได้อีกทาง สิ่งที่เราทำทั้งหมดนี้ เราพยายามดึงเยาวชนเข้ามาร่วมด้วย เพราะคนที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่อายุ 40 ปีขึ้นไป เราให้เขาได้ปล่อยลูกปูม้าคืนสู่ทะเล อนุรักษ์ทรัพยากรปูม้าให้ยั่งยืน ด้วยจิตสำนึกของคนในชุมชน" "หัวหน้าโครงการวิจัย" กล่าวในที่สุด

 

 

 

เยาวชน จ.ตรัง ช่วยกันปล่อยลูกปูม้าลงสู่ทะเล เมื่อปี 2564

 

 

 

ข้อมูลจากศูนย์เรียนรู้ "ธนาคารปูม้า" บนบก อ.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี ระบุว่า ชาวประมงได้จับปูม้าที่ท้องนอกกระดองมาให้จำนวน 457 ตัว เพื่อเพาะเป็นลูกปูม้า ปรากฎว่า ศูนย์ฯ สามารถดูแลปูไข่จนลูกปูม้าถึง 565,219,724 ตัว เฉลี่ยแม่ปูม้า 1 ตัวมีไข่จำนวน 1,236,804 ฟอง และแม้ลูกปูม้าจะมีเปอร์เซนต์รอดชีวิตที่ 40-60% ศูนย์ฯ ก็ยังสามารถเอาลูกปูม้าไปปล่อยในทะเลได้เป็นพันตัว 

 

 

 

ปูม้า

 

 

 

นับตั้งแต่เดือน ม.ค. (ปี 2563) หลังจากที่ชาวประมงเริ่มมีการนำปูท้องนอกกระดองมาเข้า "ธนาคารปูม้า" เหล่านี้คือตัวเลขที่มหัศจรรย์ที่ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบก กำลังทำให้เกิดในทะเลไทย และทำให้ความกังวลว่า ปูม้าไทยจะสูญพันธ์ ผู้บริโภคไทยจะขาดแคลนปูม้าที่เป็นอาหารทะเลยอดนิยมได้หมดไป

 

 

 

ปูม้านึ่ง