ชีวิตดีสังคมดี

โลกร้อน เพิ่มฤทธิ์ให้ยุงลายแพร่ 'ไข้เลือดออก' อากาศร้อนเพิ่มยุงเพศเมีย

โลกร้อน เพิ่มฤทธิ์ให้ยุงลายแพร่ 'ไข้เลือดออก' อากาศร้อนเพิ่มยุงเพศเมีย

04 ส.ค. 2566

ภาวะโลกร้อนเพิ่มฤทธิ์เดชให้ยุงลายแพร่เชื้อ 'ไข้เลือดออก' ได้ดีขึ้นอุณหภูมิสูง อากาศร้อน มีผลต่อการฟักตัว ออกหากิน แพร่เชื้อ ซ้ำสร้างประชากรยุงเพศเมียตัวนำเชื้อมากขึ้น

สถานการณ์ "ไข้เลือดออก" ในประเทศไทยมีแนวโน้มรุนแรงและพบผู้ป่วยไข้เลือดออกเพิ่มสูงมากขึ้น ล่าสุด กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุถึงแนวโน้มผู้ป่วย "ไข้เลือดออก" ที่ยังคงมีตัวเลขสูงมากขึ้นอยู่ที่สัปดาห์ละประมาณ 4,000-5,000 ราย กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย โดยตัวเลขดังกล่าวเพิ่มสูงอย่าต่อเนื่อง

 

 

 

เมื่อเทียบกับช่วง 10 ปีที่ผ่านที่พบว่ามีอัตราผู้ป่วย "ไข้เลือดออก" ประมาณ 67,000 ราย เสียชีวิต 71 ราย แต่ขณะนี้ข้อมูลล่าสุดในเดือน ก.ค. 2566 มีผู้ติดเชื้อไปแล้ว 46,855 ราย เสียชีวิตอีก 5 ราย ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก เพราะเพิ่งผ่านไปเพียงแค่ 7 เดือน และเป็นช่วงเริ่มต้นของฤดูไข้เลือดออกเท่านั้น เพราะโดยปกติไข้เลือดออกจะระบาดในช่วงฤดูฝนเดือนก.ค.-ส.ค. ตัวเลขผู้ป่วยที่สูงมากขึ้นแสดงให้เห็นว่า การระบาดของไข้เลือดออกเริ่มต้นก่อนที่จะถึงระบาดปกติ

หากดูข้อมูลผู้ติดเชื้อย้อนหลังจะพบว่าผู้ป่วย "ไข้เลือดออก" สูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างมีนัยสำคัญ การเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยแสดงให้เห็นว่ามีคนถูกยุงกัดเพิ่มมากขึ้น  หากมีผู้ป่วยไข้เลือดออก 7 หมื่นราย หมายถึงมีคนถูกยุงลายกัดประมาณ 7 แสนคน ข้อมูลจาก   คณะกรรมการติดตามผลกระทบด้านสุขภาพจากภาวะโลกร้อน กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ตั้งแต่ปีที่แล้วจำนวนตัวเลขผู้ป่วยไข้เลือดออกเพิ่มสูงขึ้นในระดับน่าเป็นห่วง ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ประเทศแถบเอเชียทั้งหมดเพิ่มขึ้นด้วย ได้แก่ ลาว กัมพูชา เวียนาม ฯลฯ งานวิจัยหลายชิ้นระบุถึงสาเหตุของ อุณหภูมิโลกที่สูงอย่างรวดเร็ว โดยปกติอุณหภูมิโลกจะสูงขึ้นประมาณ 0.5 องศาทุกๆ 50 ปี แต่ขณะนี้พบว่า อุณหภูมิของโลกมีแนวโน้มจะสูงขึ้นประมาณ 1.5 -2 องศา ส่งผลให้ยุงลายแพร่พันธุ์ได้มากขึ้น และอายุยืนกว่าในอดีตด้วย ที่สำคัญประเทศในเขตหนาวเย็นหรือภูเขาสูงที่มีหิมะตลอดปี ซึ่งไม่เคยมียุงลายมาก่อน เริ่มตรวจพบผู้ป่วยไข้เลือดออกจากยุงลายเป็นครั้งแรก ตัวอย่างเช่น ประเทศภูฏาน พบผู้ป่วยไข้เลือดออกรายแรกในปี 2547 ปัจจัยดังกล่าวชี้ให้ห็นว่า ภาวะโลกร้อน มีผลต่อการขยายพันธุ์ การเจริญเติบโตของยุงลาย และการมีชีวิตที่ยาวนานมากขึ้นของยุงลาย 

ข้อมูลจากกลุ่มกีฏวิทยาทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มีการศึกษา ภาวะโลกร้อน และวงจรการเจริญเติบโตของลูกน้ำ ยุงลาย ว่า อากาศร้อนชื้นจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของลูกน้ำ เหมือนเป็นการเร่งให้วงจรชีวิตมันโตเร็วขึ้น จากเดิมที่ไข่กลายเป็นตัวยุงใช้เวลาอย่างน้อย 7 วันขึ้นไปอาจถึง 10 วัน แต่เดี๋ยวนี้ใช้เวลาเพียงไม่ถึง 7 วันก็เป็นตัวแล้ว ทั้งนี้ยุงลายในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ยุงลายบ้าน และ ยุงลายสวน  ทั้งนี้มีงานวิจัยหลายชิ้นอธิบายภาวะโลกร้อนทำให้ยุงเติบโตเร็วขึ้น และทำให้ไวรัสที่อยู่ในตัวยุงแพร่เชื้อเร็วขึ้นด้วย ที่ผ่านมาพบว่าเมื่อยุงไปกัดคน เชื้อไวรัสเดงกีจะใช้เวลา 10-14 วัน รอให้ไวรัสที่อยู่ในเซลล์กระเพาะอาหารเดินทางไปฝังตัวที่ต่อมน้ำลายยุง แต่ ภาวะโลกร้อน กลายเป็นปัจจัยเพิ่มฤทธิ์ใช้ไวรัส เข้าไปอยู่ในต่อมน้ำลายยุงได้เร็วมากขึ้น ซึ่งหมายความว่า ยุงลายจะสามารถแพร่เชื้อไข้เลือดออกให้คนได้จำนวนมากขึ้น โดยปกติยุงลาย 1 ตัว สามารถแพร่เชื้อให้คนได้ประมาณ  4-5 คน แต่หากระยะทางระหว่างกระเพาะไปยังต่อน้ำลายยุงสั้นลง นั้นหมายถึงว่าการแพร่เชื้อจะทำได้ไวมากขึ้น 

 

 

ยุงลาย

 

 

หากสงสัยว่าภาวะโลกร้อนเกี่ยวข้องและมีผลทำให้การเจริญเติบโตของ ยุงลาย การแพร่เชื้อ "ไข้เลือดออก" ได้เร็วขึ้นอย่างไร โดยงานวิจัย ระบุเอาไว้ว่า 

-ยุง หรือ ยุงลายจะมีวงจนชีวิตประมาณ  76 วัน ในอากาศที่ร้อนชื้น ซึ่งเป็นอากาศที่ยุงชอบ โดยอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้ยุงลายมีวงจรชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้นโดยปกติยุงจะมีอายุประมาณ 30 วัน แต่จะสามารถอยู่ได้นานถึง  40 วันขึ้นหากอุณหภูมิของโรคเพิ่มสูงมากขึ้นต่อเนื่อง

 

-ตามธรรมชาติแล้วจะออกหากินในช่วงเวลากลางวัน ที่มีอุณหภูมิสูง ดังนั้นเมื่อโลกร้อนขึ้นจะทำให้อุณหภูมิช่วงเวลากลางคืนใกล้เคียงกับตอนกลางวัน ซึ่งจะทำให้ ยุงลาย สามารถออกหากินในเวลากลางคืนได้ด้วย 

 

-อุณหภูมิมีผลต่อการฟักตัวของยุงราย โดยมีงานวิจัยจากประเทศฝรั่งเศส ระบุเอาไว้ว่า อุณหภูมิตั้งแต่ 32 องศาขึ้นไปจะทำให้ยุงลายสามารถเพิ่มจำนวนการกัดคนได้ 2 เท่า รวมทั้งจะทำให้ยุงลายโตเต็มวัยได้ภายใน 1 วัน จากเดิมที่จะต้องใช้เวลาโตเต็มวัย 3-4 วัน โดยปกติแล้วการแพร่เชื้อไข้เลือดออกจะเกิดจากยุงตัวเมีย เป็นส่วนแต่ในภาวะโลกร้อนซึ่งส่งผลกระทบต่ออาหารและพัฒนาการของลูกน้ำ อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้เกิดยุงลายเพศเมียมากกว่าเพศผู้ 

 

-โลกร้อนทำให้ระยะการฟักตัวของเชื้อในคนสั้นลง โดยปกติผู้ที่ได้รับเชื้อจะแสดงอากาศประมาณ 10-14 วัน แต่อุณภูมิที่สูงมากยิ่งขึ้น ทำให้อาการของไข้เลือดออกแสดงอาการได้ภายใน 7 วัน 

 

ดังนั้นภาวะโลกร้อนจึงเป็นตัวแปรที่สำคัญที่ทำให้เกิดการระบาดของ "ไข้เลือดออก" เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการระบาดมัดจะเกิดในพื้นที่ที่ไม่เคยเกิดโดยเฉพาะในฝพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น เพราะโดปกติยุงลายจะชุมในบริเวณที่มีอาการร้อนชื้นเท่านั้น