WMO เตือนทั่วโลกเตรียมรับมือ 'เอลนีโญ' ป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน
WMO ส่งสัญญาณถึงรัฐบาลทั่วโลกเตรียมแผนรับมือ 'เอลนีโญ' หลังพบอากาศจะเปลี่ยนแปลงแบบรุนแรง ร้อนจัด แล้งหนัก น้ำท่วม แนะเร่งหาทางป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชากรในประเทศ
กรมอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) เตือนถึงความอันตรายของปรากฎการณ์เอลนีโญ ซึ่งอาจจะมีความรุนแรงและผลกระทบต่อชีวิตของมนุษย์ โดย "เอลนีโญ" ส่งผลกระทบทำให้สภาพอากาศร้อนขึ้น และทำให้อุณภูมิของน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกอุ่นมากขึ้นกว่าปกติ
WMO ระบุต่อว่า ตลอดช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมาโลกเผชิญกับสภาพอากาศเย็น เนื่องจากปรากฎการณ์ ลาณีญา แต่ ณ ขณะนี้ โลกได้เข้าสู่ภาวะ "เอลนีโญ" อย่างเต็มรูปแบบและมีความไเป็นไปได้กว่า 90% ที่จะเกิดเอลนีโญกำลังปานกลาง หรือ สูงมากกว่านั้นต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี ส่งผลให้ที่ผ่านมาอากาศมีอุณหภูมิที่ร้อนมากขึ้นจนสามารถทำลายสถิติเดิมลงไป และเอลณีโญกำลังจะสร้างสถิติใหม่ โดยการผลักให้อุณหภูมิที่ร้อนมากขึ้น
คาร์โล บูออนเทมโป ผู้อำนวยการโคเปอร์นิคัส หน่วยงานบริการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ EU ระบุว่า 'ปรากฎการณ์ "เอลนีโญ" มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการทำให้อุณหภูมิของโลกสูงมากขึ้นจนสามารถทำลายสถิติเดิมที่มีอยู่ โดยคาดว่าสถิติใหม่จะเกิดขึ้นในช่วงปี 2566 หรือ ราวๆ ปี 2567 แต่เขาคาดการณ์ว่าอาจจะไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนั้น'
เหตุการณ์ทางภูมิอากาศที่ร้อนขึ้น มีผลกระทบทำให้เกิดคลื่นความร้อนที่รุนแรง รวมไปถึงการก่อให้เกิดพายุที่รุนแรงมากขึ้นด้วย อุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นกำลังคุกคามประชากรสัตว์น้ำในหมู่เกาะกาลาปาโกส ความเด่นชัดของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากปรากฎการณ์ "เอลนีโญ" เหล่านี้มาจากคำเตือนของนักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศ ที่มีการทำนายว่า "เอลนีโญ" จะส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิโลก สภาพอากาศ และสิ่งมีชีวิตในทะเล
ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันความสูญเสียต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน WMO ได้เรียกร้องให้รัฐบาลของแต่ละประเทศหาดำเนินการหามาตรการป้องกันเพื่อป้องกันการสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยภาครัฐจะต้องมีการเตือนภัย และการดำเนินการล่วงหน้าสำหรับเหตุการณ์ทางสภาพอากาศที่รุนแรงมากขึ้น เพราะแน่นอนว่าความแปรปรวนทางสภาพอากาศมีความสำคัญต่อการช่วยชีวิตและดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในโลกใบนี้
- "เอลณีโญ" ส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศ ระบบนิเวศ อย่างไรบ้าง
"เอลณีโญ" เป็นกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิก ที่มีการเคลื่อนตัวทางฝั่งตะวันออกของมหาสมุทราแปซิฟิกจากตำแหน่งเดิมที่อยู่ตรงกลาง ส่งผลให้เกิดสภาพอากาศที่แห้งแล้ง และกระแสน้ำที่อุ่นขึ้นในทางตะวันออกเฉียงเหนือ และทำให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมในแถบสหรัฐฯ ทางฝั่งยุโรบจะเกิดสภาพอากาศที่หนาวเย็นและแห้งบริเวณยุโรปเหนือ และทางฝั่งใต้เกิดฝนตกชุกในช่วงฤดูหนาว
นอกจากนี้ตามรายงานของ สำนักงานบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NOAA) ระบุด้วยว่าในช่วงที่เกิดปรากฎการณ์เอลนีโญอุณภูมิของโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณประมาณ 0.2 องศาเซลเซียส ซึ่งอาจจะเป็นตัวเลขที่ทำลายตัวเลขที่ระบุว่าในช่วง 5 ปี โลกจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส โดยมีโอกาสเป็นไปได้มากกว่า 50:50
รวมทั้งส่งผลให้โลกต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนที่รุนแรงมากขึ้น ฤดูร้อนที่ยาวนานมากขึ้น โดยกลุ่มประเทศแรกที่จะได้รับผลกระทบเป็นประเทศที่อยู่ใกล้กับมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ชายฝั่งอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ โดยเฉพาะออสเตรเลีย และอินโดนีเซียมีแนวโน้มที่จะเจอกับอากาศร้อน และแห้ง จนส่งผลทำให้เกิดไฟป่ามากยิ่งขึ้น
ขณะเดี่ยวกันมรสุมจะเริ่มส่งผลกระทบต่อประเทศอินเดีย และแอฟิกาใต้ จะลดลง แต่กลับไปมีฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมในแอฟิกาตะวันออก อย่างไรก็ตาม เอลนีโญ ยังเพิ่มความรุนแรงขอพายุเฮอริเคนในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งจะส่งผลกระทบในพื้นที่มี่เกิดพายุหมุนเขตร้อน เช่น ฮาวาย
ไม่เพียงแค่นี้ เพราะปรากฎการณ์ "เอลณีโญ" ยังส่งผลกระทบและเป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเลตามแนวชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่าน้ำไหลขึ้น หรือการนำพาน้ำเย็นที่อุดมสมบูรณ์ด้วยสารอาหารจากทะเลลึกขึ้นมา แต่ปรากฏการณ์ "เอลณีโญ" ทำให้ปรากฏการณ์น้ำไหลขึ้นหยุดชะงักไป ส่งผลให้แพลงตอนซึ่งเป็นอาหารของปลาลดน้อยลง
นักวิทยาศาสตร์พบว่า "เอลณีโญ" ทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และมีโอกาศมากกว่า 56% อุณหภูมิน้ำทะเลจะสูงกว่าปกติประมาร 1.5 องศาเซลเซียส โดยรายงานของ NOAA ระบุว่า น้ำอุ่นทำให้เกิดการฟอกขาวในแนวปะการัง