ชีวิตดีสังคมดี

วิจัยสำเร็จ 'ดอกไม้กินได้' มาตราฐาน GAP เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจ คู่สุขภาพดี

วิจัยสำเร็จ 'ดอกไม้กินได้' มาตราฐาน GAP เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจ คู่สุขภาพดี

23 ส.ค. 2566

ฝีมือคนไทย วิจัยปลูกดอกไม้ปลอดสารสำเร็จ สามารถกินได้ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจภาคใต้ ผู้บริโภคได้สุขภาพดี

เทรนด์การดูแลสุขภาพด้วยการบริโภคอาหารปลอดภัยกำลังได้รับความนิยม หลายฝ่ายเกี่ยวข้องต่างมุ่งเป้าไปที่เกษตรปลอดภัย (GAP) ตอบโจทย์ความต้องการ เพื่อการพัฒนาก้าวหน้าทันโลกความเปลี่ยนแปลง

 

 

 

ล่าสุดมีงานวิจัยของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (มรภ.วไลลงกรณ์) ค้นพบ "การพัฒนาระบบการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับในระบบเกษตรปลอดภัยเพื่อการบริโภค" ประสบความสำเร็จ จนได้ "ดอกไม้กินได้" ปลอดภัยตามมาฐาน GAP

 

 

 

ดอกไม้กินได้

 

 

 

"ดอกไม้กินได้" ที่ทำการวิจัย เช่น ดอกดาหลา กระทือ เบญจมาศ เป็นต้น ซึ่งเป็นพรรณไม้พื้นถิ่นและพรรณไม้เศรษฐกิจสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจภาคใต้

 

 

 

ดอกดาหลา เป็นดอกไม้พื้นถิ่นภาคใต้

"ดอกไม้กินได้" ปลอดภัยตามมาฐาน GAP เป็นผลงานของ "ดร.อนันต์ พิริยะภัทรกิจ" ล่าสุดได้นำองค์ความรู้จากงานวิจัยมาถ่ายทอดวิธีการผลิตไม้ดอกไม้ประดับสำหรับการบริโภคอย่างปลอดภัย ตั้งแต่กระบวนการผลิตในระบบเกษตรปลอดภัย การนำผลผลิตไปใช้ประโยชน์

 

 

 

ดร.อนันต์ พิริยะภัทรกิจ

 

 

 

เมล็ดพันธุ์ดอกไม้กินได้

 

 

 

รวมทั้ง การยกระดับมาตรฐานการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการโรงแรม ร้านอาหารในพื้นที่ จ.ภูเก็ต และพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน 

 

 

 

ทีมนักวิจัยถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ธุรกิจ

"ดนัย สุนันทารอด" รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต บอกว่า ความรู้เหล่านี้ก่อประโยชน์ในด้านการนำไปประดับในเมนูอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ สร้างมูลค่าเพิ่มโดยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เอกลักษณ์ท้องถิ่น นอกเหนือจากแค่การนำไปใช้ตกแต่งตามอาคารและสถานที่เพื่อความสวยงาม 

 

 

 

นอกจากนี้ ยังเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างโรงแรม ร้านอาหารและเกษตรกร เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อธุรกิจไม้ดอกไม้ประดับในพื้นที่

 

 

 

"ดอกไม้กินได้" ปลอดภัย นำไปสู่การต่อยอดงานวิจัย "การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าไม้ดอกเขตร้อนในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย" โดยมี "ดร.นุชรัฐ บาลลา" นักวิจัยจาก มรภ.วไลลงกรณ์ และเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย

 

 

 

แปรรูปดอกไม้กินได้เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

 

 

 

"ดอกไม้กินได้" ถูกผลักดันให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นทางเศรษฐกิจภาคใต้ ด้วยการแปรรูปเป็นอาหารและเครื่องดื่ม

 

 

 

"ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง" ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) บอกว่า ปัจจุบันผู้บริโภคมีแนวโน้มให้ความใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น การบริโภคดอกไม้ที่สามารถรับประทานได้ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้บริโภคให้ความสนใจ 

 

 

 

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง

 

 

 

"ดอกไม้ที่เอาไปบริโภคจะต้องมีมาตรฐานปลอดภัย จึงต้องมีระบบปลูกเลี้ยงที่ปลอดภัยตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ถึงปลายน้ำ" "ดร.วิภารัตน์" กล่าวในที่สุด 

 

 

 

วว. ลงพื้นที่ จ.ภูเก็ตติดตามการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับในระบบเกษตรปลอดภัย เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2566

 

 

 

ความสำเร็จของทั้ง 2 งานวิจัย ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก วช. และในอนาคต วช.เตรียมจะใช้พื้นที่ จ.ภูเก็ตเป็นต้นแบบสู่การเรียนรู้เชื่อมโยงไปยังพื้นที่จังหวัดอื่นๆ