เมนูเครื่องดื่มจากพรรคการเมืองสร้าง 'ขยะพลาสติก' ให้อยู่กับโลกอีก 450 ปี
เมนูเครื่องดื่มสุดช็อกจากพรรคการเมืองสร้าง 'ขยะพบาสติก' เพียบ คนแห่กินตามไม่สนโรดแมปจัดการขยะพลาสติกระยะ 2 ทิ้งแก้วกาแฟให้อยู่กับโลกไปอีก 450 ปี
หลังจากจบการเลือกตั้งไปเมื่อเดือนพฤษภาคมสิ่งที่ได้รับความสนใจมากกว่าตัวนักการเมือง และกลายเป็นกระแสฟีเวอร์อยู่พักใหญ่คงหนีไม่พ้นเมนูเครื่องดื่มของนักการเมืองจากพรรคต่างๆ เริ่มตั้งแต่กาแฟส้ม เครื่องดื่มประจำตัวของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เมนูช็อกมิ้นต์ ของ อุ๊งอิ๊ง แพรทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย ที่ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า นอกจากนี้ยังมีเมนูเครื่องดื่มอื่นๆ ออกมาเสียดสีการเมืองหลังจากที่ตั้งรัฐบาลไม่สำเร็จอีกมากหมาย
ท่ามกลางเมนูช็อคทั้งหลาย เมนูกาแฟที่เหล่าคาเฟ่ประจำพรรคการเมืองขยันออกมาไม่ได้สร้างแค่ความอร่อย หรือความสะใจทางการเมืองเท่านั้น แต่เมนูเหล่านี้กลับสร้าง "ขยะพลาสติก" จากแก้วพลาสติกเพิ่มมากขึ้น ที่ผ่านมาเราพบว่าประเทศไทยมีขยะพลาสติกจากแก้วกาแฟราวๆ 400 ล้านชิ้นต่อไป ในขณะนที่ประเทศไทยเพิ่งจะคลอด Roadmap แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) ซึ่งมีเป้าหมายที่จะนำพลาสติกภายในประเทศกลับไปใช้ประโยชน์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
- แต่เมื่อช่วง 4 เดือน ที่ผ่านมาดูเหมือนว่า "ขยะพลาสติก" จากแก้วเครื่องดื่มตามร้านคาเฟ่จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพราะแน่นอนว่าการซื้อเครื่องดื่ม 1 แก้วนั้นสามารถเพิ่มขยะพลาสติกมากได้ที่สุดถึง 4 ชิ้น โดยข้อมูลจาก กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ระบุว่า โดยปกติแล้วคนเราจะดื่มกาแฟเฉลี่ยวันละ 1 แก้วต่อคน และจะดื่มต่อเนื่องเป็นเวลา 40 ปี ตลอดช่วงอายุวัยทำงาน เฉลี่ย "ขยะพลาสติก" ประมาณ 58,400 ชิ้น/คน การที่้เราดื่มกาแฟ 1 แก้วทำให้เกิดขยะพลาสติก ดังนี้ 1.แก้วพลาสติก 2.ฝากครอบแก้วกาแฟ 3.หลอดดูด 4.ถุงหูหิ้ว ซึ่งขยะพลาสติกจากแก้วกาแฟเหล่านี้จะอยู่กับโลกไปประมาณ 450 ปี
- ขณะนี้ข้อมูลประมาณ "ขยะพลาสติก" ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จากสำนักสิ่งแวดล้อม (นับรวมขยะพลาสติกทุกประเภททั้งแบบรีไซเคิลได้และรีไซเคิลไม่ได้) โดยข้อมูลขยะรายเดือนปี 2566 มีปริมาณขยะพลาสติกแบบรีไซเคิลได้เข้ามาในระบบ 19.10 ตัน แบ่งเป็น ขยะพลาสติกรีไซเคิล 1.23 ตัน ขยะพลาสติกรีไซเคิลไม่ได้ 17.88 ตัน
- แม้ว่าที่ผ่านมาประเทศไทยจะมีโรดแมพการจัดการ "ขยะพลาสติก" ระยะที่ 1 ซึ่งมีการกำหนดมาตรการลดปริมาณการใช้ขยะพลาสติก และจำกัดการใช้ขยะพลาสติก 4 ประเภท ได้แก่ พลาสติกหูหิ้ว แบบบาง ถุงพลาสติกหูหิ้ว ความหน้าน้อยกว่า 36 ไมครอน, กล่องโฟมบรรจุอาหาร ไม่รวมโฟมที่ใช้กันกระแทกในภาคอุตสาหกรรม, แก้วพลาสติกบาง แก้วพลาสติก ความหน้าน้อยกว่า100 ไมครอน, หลอดพลาสติก ยกเว้นการใช้กรณีจำเป็น ในเด็ก คนชรา ผู้ป่วย โดยแผนระยะแรกนั้นสามารถลดปริมาณขยะพลาสติกทำให้สามารถลดการใช้ถุงพลาสติกในภาพรวม ลดลง 43% หรือ 148,699 ตัน (ข้อมูลจากการประเมินผลการดำเนินงานตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการฯ จนถึงปี 2564 ร่วมกับสถาบันพลาสติก โดยใช้ฐานข้อมูล Material Flow of Plastics)
- สำหรับก้าวต่อไปในการลดปริมาณ "ขยะพลาสติก" ในประเทศไทยคือ การเดินทางแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติกระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) โดยเป้าหมายให้ปริมาณ "ขยะพลาสติก" เป้าหมาย (เช่น ขวดพลาสติก ฝาขวด และถุงพลาสติกหูหิ้ว) ที่เข้าสู่ระบบฝังกลบขยะลดลง 100% และผลิตภัณฑ์พลาสติกเป้าหมายเข้าสู่ระบบรีไซเคิล 100% รวมถึงลดปริมาณขยะพลาสติกที่มีโอกาสหลุดรอดลงสู่ทะเล 50% ไม่ว่าจะเป็นขวดพลาสติก (ทุกชนิด) ฝาขวด บรรจุภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกชั้นเดียว ถุงพลาสติกหูหิ้วและถ้วย/แก้วพลาสติก