ชีวิตดีสังคมดี

น้ำปนเปื้อนจากโรงไฟฟ้าญี่ปุ่น สะเทือนอาหารทะเลไทย

น้ำปนเปื้อนจากโรงไฟฟ้าญี่ปุ่น สะเทือนอาหารทะเลไทย

27 ส.ค. 2566

"โรงไฟฟ้าญี่ปุ่นปล่อยน้ำปนเปื้อน" ลงทะเล ไทยกังวลพบในอาหารทะเลนำเข้า จึงกำหนดมาตรการตรวจสอบก่อนถึงมือผู้บริโภค ขณะจีน-ฮ่องกงห้ามนำเข้า

"ภก.เลิศชาย เลิศวุฒิ" รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พร้อมด้วย "ดร.ถาวร ทันใจ" รองอธิบดีกรมประมง ร่วมประชุมกับผู้แทนจากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติและสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทน.) เพื่อกำหนดมาตรการเฝ้าระวังและตรวจสอบอาหารทะเลนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น หลังจาก "โรงไฟฟ้าญี่ปุ่นปล่อยน้ำปนเปื้อน" ใน จ.ฟุกุชิมะลงสู่ทะเล เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2566 ถึงแม้ว่าน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจะมีปริมาณสารกัมมันตรังสีต่ำกว่าเกณฑ์กำกับดูแล (Regulatory Standards) 

"โรงไฟฟ้าญี่ปุ่นปล่อยน้ำปนเปื้อน" และเกณฑ์แนะนำ (Guideline Level) ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในน้ำดื่ม รวมถึงได้รับความเห็นชอบจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศให้สามารถปล่อยน้ำปนเปื้อนที่ผ่านการบำบัดลงสู่ทะเลได้

 

 

 

 

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ใน จ.ฟุกุชิมะ ญี่ปุ่น

"ภก.เลิศชาย" ขอผู้บริโภคอย่าวิตกกังวลเกี่ยวกับความไม่ปลอดภัย เพราะการนำเข้าอาหารทะเลเจ้าหน้าที่ด่านประมง กรมประมงและด่านอาหารและยาของ อย.มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดร่วมกับสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เพื่อไม่ให้มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีในอาหารเกินมาตรฐานที่กำหนด หากพบจะสั่งเรียกคืน และระงับการนำเข้าทันที

 

 

 

ภาพประกอบ

 

 

 

 

"ดร.ถาวร" บอกว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กำหนดมาตรการในการเฝ้าระวังและตรวจสอบ ขอให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นในระบบตรวจสอบสินค้าเกษตรและอาหารทะเลที่มีการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่ง กษ. มุ่งเน้นที่จะยกระดับความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหาร

 

 

 

รายงานว่า สำนักงานศุลกากรจีน ได้สั่งระงับนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่น จากปม "โรงไฟฟ้าญี่ปุ่นปล่อยน้ำปนเปื้อน" เช่นกัน โดยออกแถลงการณ์ว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำจากญี่ปุ่น และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 24 ส.ค. 2566

 

 

 

การตัดสินใจครั้งนี้คือ การป้องกันความเสี่ยงในการปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีจากน้ำเสียนิวเคลียร์ และรับประกันความปลอดภัยของอาหาร

 

 

 

จีนให้คำมั่นเมื่อต้นสัปดาห์นี้ว่า จะดำเนินการขั้นตอนที่จำเป็น โดยไม่ระบุรายละเอียด เพื่อปกป้องความปลอดภัยของอาหารและสิ่งแวดล้อมทางทะเล 

 

 

 

ก่อนหน้านี้ในวันพฤหัสบดี กระทรวงนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมของจีน บอกว่าจะเพิ่มการติดตามรังสีในพื้นที่ทะเลของประเทศ และคอยติดตามผลกระทบจากการปล่อยก๊าซดังกล่าว

 

 

 

ทั้งนี้ จีนสั่งห้ามนำเข้าอาหารจาก 10 จังหวัดรอบๆ โรงงานฟุกุชิมะ แล้วในสัปดาห์นี้ 

 

 

 

ขณะที่รัฐบาลฮ่องกงประกาศห้ามนำเข้าอาหารทะเลจากจังหวัดเดียวกัน 

 

 

 

อย่างไรก็ตาม การ "ปล่อยน้ำปนเปื้อนลงสู่ทะเล" ในครั้งนี้ เป็นการปล่อยเพียงแค่ 3 ใน 500 ส่วนที่มีอยู่เท่านั้น