ชีวิตดีสังคมดี

บทเรียนไฟป่าฮาวายความสูญเสียที่ประเมินมูลค่าไม่ได้ ประเทศไทยควรเรียนรู้

บทเรียนไฟป่าฮาวายความสูญเสียที่ประเมินมูลค่าไม่ได้ ประเทศไทยควรเรียนรู้

10 ก.ย. 2566

"ไฟป่าฮาวาย" ให้บทเรียนอะไรไทยควรเรียนรู้ รับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพภูมิอากาศระบุ ปีหน้าสถานการณ์ไม่ปกติ

"รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์" ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำของไทย บอกถึงภัยพิบัติไฟไหม้ฮาวาย ว่า ทั้งๆ ที่หมู่เกาะฮาวายอยู่ใจกลางมหาสมุทรแปซิฟิก ละติจูดใกล้เคียงกับประเทศไทยตอนบน ซึ่งถือว่าเป็นภูมิภาคเขตร้อน ความชื้นสูง แต่เหตุการณ์ไฟไหม้หลายพื้นที่บนเกาะแห่งนี้ต้องเผชิญกับไฟป่าครั้งรุนแรง มีผู้เสียชีวิต

 

 

 

 

ภาพภายหลังไฟป่าทำลายล้างเกาะฮาวายสงบลง กินพื้นที่จำนวน 5,490 ไร่ มีผู้เสียชีวิต 115 ราย สูญหาย 338 ราย

 

 

 

 

 

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์

 

 

 

 

คงปฏิเสธไม่ได้ว่านี่คือ ผลพวงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากภาวะโลกเดือด กว่า 90% ปริมาณฝนบนเกาะลดลงจากเมื่อ 100 ปีที่แล้ว (30% ลดลงในฤดูฝน) 

ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้วิเคราะห์เหตุการณ์ครั้งนี้และพบว่า 4 ปัจจัยหลักนอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ 1. เริ่มจากการเกิดไฟใหม้ในพื้นที่แคบๆ เหนือการควบคุม 2. เกิดลมแรงจากอิทธิพลพายุเฮอริเคน Dora ทำให้การลุกลามของไฟป่าเป็นไปอย่างรวดเร็ว

 

 

 

 

8 ส.ค. 2566 เกิดไฟป่าที่หมู่เกาะฮาวาย

 

 

 

 

3. เป็นช่วงฤดูแล้งที่มีความชื้นต่ำ 4. การเพิ่มขึ้นของจุดติดไฟ (tinderbox) จากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน เช่น กรณีการปลูกหญ้า Guinea เป็นต้น

"รศ.ดร.เสรี" เล่าต่อว่า ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ประกาศยกระดับแผนงานการต่อสู้กับภาวะโลกเดือด ในประเทศ US ซึ่งต้องติดตามกันต่อไป

 

 

 

 

บทเรียนไฟป่าฮาวายเป็นเครื่องเตือนสติประเทศไทยในช่วงฤดูแล้งหน้าที่จะมาถึง ประกอบกับอิทธิพลของปรากฏการณ์เอลณีโญที่จะทำให้มีอุณหภูมิสูงขึ้น ทั้งร้อน และแล้ง โดยเฉพาะตั้งแต่เดือน ก.พ. ถึงเดือน เม.ย. 2567 

 

 

 

 

เหตุไฟป่าฮาวายมีบ้านไม่กี่หลังคาที่รอดพ้นจากเปลวไฟ

 

 

 

 

จากข้อมูล GISTDA พบว่าตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบัน จำนวนจุดความร้อนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในพื้นที่ภาคเหนือ ที่ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำปาง และ จ.ตาก ภาคตะวันตก ที่ จ.กาญจนบุรี 

 

 

 

 

สภาพภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูง และมีที่ราบคล้ายแอ่งกระทะ และเอื้อต่อการเกิดไฟป่า เมื่อเผชิญกับสภาพอากาศร้อนในพื้นที่ทำให้เกิดการสะสม และไม่สามารถถ่ายเทไปยังพื้นที่อื่นได้ หากเกิดการลุกไหม้ของไฟแล้ว ใบไม้แห้งจะกลายเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี และลุกลามไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัญหาที่จะตามมานอกเหนือจากเรื่องการท่องเที่ยว คือ สุขภาพจาก PM2.5 

 

 

 

 

ดังนั้น รัฐบาลใหม่จึงต้องเร่งเข้ามาวางแผนเตรียมความพร้อมให้ดีกว่าเดิม เพราะสถานการณ์ปีหน้าไม่ใช่สถานการณ์ปกติ