สรุป 'เขื่อนแตกในลิเบีย' มหันตภัยรุนแรง ฝีมือธรรมชาติหรือเพราะความสะเพร่า
สรุปเหตุการณ์ 'เขื่อนแตกในลิเบีย' มวลน้ำมหาศาลซัดเมืองราบเป็นหน้ากลอง มหันตภัยรุนแรงของโลกคร่าชีวิตนับหมื่น เกิดจากธรรมชาติพิโรธหรือความสะพร่าของทางการลิเบีย
เขื่อนขนาดใหญ่ 2 แห่งใน ลิเบีย ที่เกิดการวิบัติจนแตก ทนต่อปริมาณน้ำมหาศาลที่เกิดจากพายุแดเนียลไม่ได้กลายเป็นเหตุการ์มหันตภัยครั้งยิ่งใหญ่ของโลกอีกครั้ง หลังจากที่มีการรายงานว่าพบชาวลิเบียเสียชีวิตจำนวนมากถึง 13,000 คน เจ้าหน้าที่กู้ภัยต้องลงไปจมศพในทะเลขึ้นมาจำนวนมาก
"เขื่อนแตกในลิเบีย" กลายเป็นข่าวใหญ่ที่ทำให้กลายคนสะเทือนใจ และเริ่มหวาดกลัวภัยธรรมชาติมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสาเหตุที่ทำให้เขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 2 แห่ง ในเมืองเดอร์นา ประเทศลิเบีย เกิดจากพายุแดเนียลที่พัดถล่มในช่วงคืนวันอาทิตย์ที่ 9 ก.ย. 2566 ที่ผ่านมาจนทำให้เกิดน้ำทะลักเข้าท่วมเมือง ตึกพังถล่ม ประชาชนหนีตายจำนวนมาก
1.เริ่มต้น "เขื่อนแตกในลิเบีย" พายุแดเนียล ฆาตกรทางธรรมชาติ
พายุแดเนียลเริ่มถล่มลงมาอย่างหนักประเทศลิเบีย ส่งผลให้คืนวันอาทิตย์เกิดการพิบัติของเขื่อน 2 แห่งในเมืองเดอร์นา เพราะไม่สามารถรองรับปริมาณน้ำที่ไหลเข้ามาอย่างมหาศาลได้ โดย เขื่อนแตกในลิเบีย 2 แห่งนั้นคือ เขื่อน Wadi Jaza เขื่อน Wadi Qatara โดยเขื่อนทั้ง 2 แห่งมีปริมาณน้ำประมาณ 30 ล้านลูกบากศ์เมตร (ลบ.ม.) หรือเทียบเท่าปริมาณน้ำของสระว่ายน้ำโอลิมปิก
ประชาชนในเมืองลิเบียเล่าว่า ‘ช่วงเวลาประมาณตี 3-ตี 4 เราได้ยินเสียงระเบิดขนาดใหญ่ แน่นอนว่าหากที่อาศัยในเมืองเดอร์นา จะต้องได้ยินเสียงนี้แน่นอน หลังจากเสียงดังขึ้นเพียงไม่นานเมืองทั้งเมืองก็ถูกคลื่นน้ำขนาดใหญ่ซัดจนราบเป็นน่ากลอง’
2. "เขื่อนแตกในลิเบีย" คร่าชีวิตคนนับหมื่น
หลังจากที่เขื่อนขนาดใหญ่ 2 แห่งที่ตั้งอยู่เหนือเมืองเดอร์นา ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ของลิเบีย แตกทั้งเมืองเกิดน้ำท่วมใหญ่ ตึกพังถล่ม ผู้คนเสียชีวิตจำนวนมาก โดยรายงานของสภาพเสี้ยววงเดือน ลิเบียรายงานว่า ความสูญเสียเริ่มชัดเจนมากขึ้นและพบว่ามีคนเสียชีวิตราวๆ 13,000 คนจาเหเหตุการ์ "เขื่อนแตกในลิเบีย" ครั้งนี้
นอกจากนี้ UN ยังได้รายงานด้วยว่า หลังจากที่เมืองเดอร์นา ถูกกระแสนน้ำโหมกระหน่ำพบว่ามีตึก และสิ่งปลูกสร้าง ราวๆ 2,000 แห่งเสียหาย และถูกน้ำท่วม โดยเฉพาะอาคารที่ตั้งอยู่ริมน้ำที่เสียหายอย่างหนักจนเหลือแค่ฐานของอาคารเท่านั้น
3. "เขื่อนแตกในลิเบีย" กับภาระกิจกู้ร่างชาวลิเบียที่เสียชีวิต
ประเทศลิเบีย ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการสูญเสียประชากรจากเหตุการณ์ "เขื่อนแตกในลิเบีย" ไปได้ โดยหลังจากที่เกิดเหตุการณ์สถานการณ์เริ่มชัดเจนในช่วงวันพฤหัสบดีที่ 14 ก.ย. 2566 เริ่มชัดเจนถึงจำนวนผู้เสียชีวิต ทั้งนี้พบว่ศพส่วนใหญ่ถูกซัดจมอยู่ใต้ทะเล โดยทีมดำน้ำนานาชาติ ระบุว่า พวกเขาเจอศพมากกว่า 200 ศพที่ห่างจากท่าเรือเดอร์นาไปทางตะวันออกประมาณ 15-20 กิโลเมตร ศพเหล่านี้เป็นคนที่เคยอาศัยอยู่ในอาคารและถูกซัดตอนที่น้ำจากเขื่อนใหญ่ทะลักเข้ามาในเมืองเดอร์นา ศพทั้งหมดที่ถูกพบถูกนำไปฝั่ง และยังเหลืออีกหลายร่างที่อยู่ในห้องดิบจิตของโรพยาบาล อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าทียังคงเร่งค้นหาผู้สูญหายที่คาดว่าจะมีนับ 10,000 กว่าชีวิต เหตุการณ์ "เขื่อนแตกในลิเบีย" ครั้งนี้ไม่ได้มีเฉพาะคนที่เสียชีวิตหรือสูญหายเท่านั้น แต่ยังทำให้ประชาชนที่อาศัยในเมืองเดอร์นากลายเป็นผู้ประสบภัย และไร้บ้านหลายหมื่นคน
4. ผู้เชี่ยวชาญเตือนลิเบียให้ระวังและดูแลเขื่อน 2 แห่งให้ดี
เหตุการณ์ "เขื่อนแตกในลิเบีย" หากจะโทษที่ภัยธรรมชาติก็อาจจะไม่ถูกต้องหนัก ในปี 2011 ที่ผู้เชี่ยวชาญเตือนทางการลิเบียไปแล้วหลายต่อหลายครั้งว่าใกล้เมืองเดอร์นาจะแตกแต่ทางการก็ไม่ได้มีใครทำอะไรเลย
นอกจากนี้ อาห์เหม็ด มาดรูด รองนายกเทศมนตรีเมืองเดอร์นา ให้สัมภาษณ์กับ Al Jazeera ว่า เขื่อนไม่ได้รับการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสมมาตั้งแต่ปี 2002 นั่นหมายความว่าทั้งรัฐบาลของมูฮัมมาร์ กัดดาฟี เผด็จการที่ปกครองลิเบียมายาวนาน และฝ่ายบริหารที่เกิดขึ้นหลังจากที่เขาถูกโค่นล้มในการปฏิวัติ ปี 2554 ล้มเหลวในการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เมื่อปีที่แล้ว บทความจากนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัย Omar Al-Mukhtar เตือนว่าเขื่อนทั้ง 2 แห่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน
5. เหตุการณ์ "เขื่อนแตกในลิเบีย" ปัจจัยหลายอย่างเร้าทั้งธรรมชาติ และการเมืองในประเทศ
เป็นความจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ว่าปัจจัยหลักที่ทำให้ "เขื่อนแตกในลิเบีย" มาจากพายุแดนียล ซึ่งเป็นภัยธรรมชาติที่เหลือการควบคุม แต่การดูแลโครสร้างพื้นฐานระบบสาธาณูปโภค รวมไปถึงระบบการเตือนภัยในประเทศก็จำเป็นที่ทางการลิเบียต้องให้ความสนใจเช่นกัน
เลสลี มาบอน อาจารย์สิ่งแวดล้อม กล่าวกับ Science Media Center ว่า การเมืองที่ซับซ้อนของประเทศก่อให้เกิดความท้าทายในการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารความเสี่ยงและการประเมินอันตราย การประสานงานปฏิบัติการกู้ภัย และอาจรวมถึงการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น เขื่อน
ขณะที่ในมุมของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พายุร้ายแรงนี้เกิดขึ้นในปีที่เกิดภัยพิบัติทางสภาพอากาศและสภาพอากาศสุดขั้วที่ทำลายสถิติ ตั้งแต่ไฟป่าทำลายล้างไปจนถึงความร้อนจัด อุณหภูมิของมหาสมุทรทั่วโลกพุ่งสูงขึ้นจากเนื่องจากมลภาวะที่ทำให้โลกร้อนขึ้น อุณหภูมิของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนก็สูงกว่าค่าเฉลี่ยมาก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าเป็นสาเหตุให้เกิดพายุที่ทำให้ฝนตกหนัก
“น้ำอุ่นไม่เพียงเติมพลังให้กับพายุในแง่ของความเข้มข้นของฝนเท่านั้น แต่ยังทำให้พายุรุนแรงยิ่งขึ้นอีกด้วย” คาร์สเทน เฮาชไตน์ นักวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศและนักอุตุนิยมวิทยาจากมหาวิทยาลัยไลป์ซิก เยอรมนี กล่าวกับ Science Media
ขอบคุณข้อมูล : ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ขอบคุณภาพจาก : ห้องอัศวินภัย