ชีวิตดีสังคมดี

อัปเดตเส้นทาง พายุโซนร้อน 'โคอินุ' พายุลูกที่ 14 จะเข้าไทยหรือไม่

อัปเดตเส้นทาง พายุโซนร้อน 'โคอินุ' พายุลูกที่ 14 จะเข้าไทยหรือไม่

30 ก.ย. 2566

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตเส้นทาง พายุโซนร้อน 'โคอินุ' พายุลูกที่ 14 คาดเคลื่อนตัวถึงประเทศเวียดนามตอนบน จะเข้าไทยหรือไม่

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตสถานการณ์ พายุหมุนเขตร้อน ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก เช้าวันนี้ (30 ก.ย. 2566) พายุดีเปรสชัน ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็น พายุโซนร้อน 'โคอินุ' (KOINU) แล้ว มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวทางทางตะวันตกเฉียงเหนือในระยะแรก ทิศทางไปยังเกาะไต้หวัน และเคลื่อนตัวตามแนวขอบชายฝั่งของประเทศจีนมาทางเกาะไหหลำ คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเมื่อเคลื่อนตัวมาถึงประเทศเวียดนามตอนบน ยังไม่มีผลกระทบกับประเทศไทยในระยะนี้ ซึ่งยังต้องติดตามเป็นระยะๆ ทิศทางยังเปลี่ยนแปลง

 

 

พายุโซนร้อน โคอินุ

 

'โคอินุ' (KOINU) หมายถึง ลูกสุนัข ตั้งชื่อโปยประเทศญี่ปุ่น เป็นพายุลูกที่ 14 ตามการนับจำนวนพายุของ RSMC โตเกียว ญี่ปุ่น

 

 

พายุโซนร้อน โคอินุ

พายุโซนร้อน โคอินุ

 

พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 30 ก.ย.-9 ต.ค. 2566 อัพเดทจากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) : วันนี้ (30 ก.ย. 2566) ยังเป็นอีกวันที่ภาคเหนือ ยังมี ฝนตกหนัก บางแห่งโดยเฉพาะบริเวณทางด้านตะวันตกใกล้หย่อมความกดอาากาศต่ำบริเวณประเทศเมียนมา ต้องเฝ้าระวังฝนตกหนักและตกสะสม อาจทำให้เกิด น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ได้ ส่วนภาคอื่นๆ ฝนเริ่มลงลงบ้าง แต่ยังมีเกิดขึ้นได้ เนื่องจากร่องมรสุมยังพาดผ่านบริเวณตอนกลางของไทย เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้  สำหรับภาคใต้จะมีบางแห่งโดยเฉพาะด้านรับมรสุม คลื่นลมจะเริ่มเบาลงในอ่าว แต่ยังมีคลื่นปานกลางในทะเลอันดามัน 

 

 

ช่วง 1-5 ต.ค. 2566 ร่องมรสุมจะสวิงลงมาพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง (กทม.และปริมณฑล) ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณจีนใต้ใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนาม ฝนเกิดขึ้นได้และตกต่อเนื่อง ตามแนวร่องมรสุม และใกล้หย่อมความกดอากาศต่ำ ยังต่อระวังฝนตกสะสม 

 

 

ส่วน 6-9 ต.ค. 2566 สถานการณ์ พายุหมุนเขตร้อน ในมหาสมุทรแปซิฟิกในขณะนี้ พายุดีเปรสชันได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็น พายุโซนร้อน 'โคอินุ' (KOINU) มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวทางทางตะวันตกเฉียงเหนือในระยะแรกไปทางเกาะไต้หวัน และเคลื่อนตัวตามแนวขอบชายฝั่งของประเทศจีนมาทางเกาะไหหลำ คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเมื่อเคลื่อนมาถึงประเทศเวียดนามตอนบน ยังไม่มีผลกระทบกับประเทศไทยในระยะนี้ (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้เงื่อนไขของปีที่เกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ซึ่งทำให้สภาวะฝนและพายุเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)