พายุโซนร้อน 'โคอินุ' จ่อเป็น พายุไต้ฝุ่น เช็กเส้นทางล่าสุด เข้าไทยหรือไม่
พายุโซนร้อน 'โคอินุ' จะทวีกำลังแรงขึ้นอีกเป็น พายุไต้ฝุ่น เช็กเส้นทาง พายุ ล่าสุด มีแนวโน้มเข้าไทยหรือไม่ ขณะที่ ทั่วไทยยังเจอ ฝนตกหนัก บางแห่ง
อัปเดตสถานการณ์ พายุหมุนเขตร้อน ในมหาสมุทรแปซิฟิกเช้าวันนี้ (2 ต.ค. 2566) : พายุโซนร้อน 'โคอินุ' (KOINU) จะทวีกำลังแรงขึ้นอีกเป็น พายุไต้ฝุ่น แล้ว มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวทางตะวันตกเฉียงเหนือมุ่งไปทางตอนใต้ของเกาะไต้หวัน (5 ต.ค. 2566) และเคลื่อนตัวตามแนวขอบชายฝั่งทางด้านตะวันออกของประเทศจีนไปทางเกาะฮ่องกงและเกาะไหลหลำ คาดว่าจะอ่อนกำลังก่อนจะเคลื่อนเข้าสู่อ่าวตังเกี๋ย จะไม่มีผลกระทบกับประเทศไทย เนื่องจากมีมวลกาศเย็นแผ่ลงมาปกคลุมประเทศจีนตอนใต้ทำให้พายุอ่อนกำลังลงในช่วงดังกล่าว
ส่วนฝนที่จะเกิดขึ้นมาจากร่องมรสุม หย่อมความกดอากาศต่ำ และลมพัดเข้าสู่ พายุ ยังต้องติดตามเป็นระยะ แต่ไม่น่ากังวล (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้เงื่อนไขของปีที่เกิด ปรากฎการณ์เอลนีโญ ซึ่งทำให้สภาวะฝนและพายุเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)
'สภาพอากาศ' 24 ชั่วโมงข้างหน้า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจาก ฝนตกหนัก และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิด น้ำท่วมฉับพลัน และ น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มี ฝนฟ้าคะนอง และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย
สำหรับทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
'พยากรณ์อากาศ' เวลา 06:00 น.วันนี้ - 06:00 น. วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ
มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมี ฝนตกหนัก บางแห่ง
บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน และตาก
อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ลมแปรปรวน ความเร็ว 5-15 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดบึงกาฬ นครพนม สกลนคร มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ภาคกลาง
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร
อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร
กรุงเทพและปริมณฑล
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.