ชีวิตดีสังคมดี

เตือน 'อากาศแปรปรวน' เดือนตุลาคม ช่วง ปลายฝนต้นหนาว ทั้ง ฝนตกหนัก - อากาศเย็น

เตือน 'อากาศแปรปรวน' เดือนตุลาคม ช่วง ปลายฝนต้นหนาว ทั้ง ฝนตกหนัก - อากาศเย็น

05 ต.ค. 2566

กรมอุตุนิยมวิทยา เตือน 'อากาศแปรปรวน' 5-14 ต.ค. 2566 ช่วง ปลายฝนต้นหนาว เจอทั้ง ฝนตกหนัก และ มวลอากาศเย็น ขณะ 'พายุโคอินุ' เตรียมขึ้นจีน 7-8 ต.ค. 2566

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 5-14 ต.ค. 2566 อัพเดทจากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) พบ 'อากาสแปรปรวน' ในช่วง ปลายฝนต้นหนาว โดยวันนี้ (5 ต.ค. 2566) ทิศทางลมยังแปรปรวน หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคกลาง ประกอบกับร่องมรสุมได้เลื่อนลงมาพาดผ่านภาคอีสานตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน ฝนยังเกิดขึ้นได้ตามแนวร่องมรสุมและหย่อมความกดอากาศต่ำ ต้องระวัง ฝนตกหนัก บริเวณภาคอีสานตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง (กทม.และปริมณฑล) ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน ในระยะนี้ คลื่นลมมีกำลังอ่อนถึงปานกลางโดยเฉพาะทะเลอันดามัน คลื่นสูง 1-2 เมตร

 

ส่วน 6-9 ต.ค. 2566 ร่องมรสุมจะสวิงขึ้นมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลางตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น และตกหนักบางแห่ง เป็นช่วงท้ายๆ ของฝนที่จะเกิดขึ้นในบริเวณประเทศไทยตอนบน ช่วง ปลายฝนต้นหนาว 'อากาศแปรปรวน' สูง ภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบนเริ่มมีมวลอากาศเย็นแผ่ซึมลงมาปกคลุมแล้ว

 

 

ช่วง 10-14 ต.ค. 2566 มวลอากาศเย็น (ความกดอากาศสูง) เริ่มแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนแล้ว ทำให้มีอากาศเย็นในตอนเช้า ทิศทางลมเริ่มเปลี่ยนเป็นลมตะวันออกเฉียงเหนือ ปกคลุมภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน ฝนยังเกิดขึ้นบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคอีสานตอนล่าง ภาคตะวันออกและภาคใต้ ตอนบน

 

สำหรับสถานการณ์ พายุหมุนเขตร้อน ในมหาสมุทรแปซิฟิก พายุไต้ฝุ่น 'โคอินุ' (KOINU) มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปทางตอนใต้ของเกาะไต้หวัน หลังจากนั้นเคลื่อนตัวทางตะวันตก จะขึ้นฝั่งประเทศจีนดอนใต้ในวันที่ 7-8 ต.ค. 2566 และจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ พายุ นี้จะไม่มีผลกระทบกับประเทศไทย แต่ฝนที่เกิดขึ้นมาจากร่องมรสุมและหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมในขณะนี้ ปลายช่วง ติดตามหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้เงื่อนไขของปีที่เกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ซึ่งทำให้สภาวะฝนและพายุเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)