อัปเดตเส้นทาง 'พายุโคอินุ' - พายุ 'บอละเวน' พายุลูกที่ 15 จะเข้าไทยหรือไม่
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศ 'พายุโคอินุ' ฉบับที่ 6 อัปเดตเส้นทาง พายุไต้ฝุ่น 'โคอินุ' - พายุ 'บอละเวน' พายุลูกที่ 15 มีผลกระทบต่อไทยหรือไม่
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศ เรื่อง 'พายุโคอินุ' ฉบับที่ 6 เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (8 ต.ค. 2566) พายุไต้ฝุ่น 'โคอินุ' บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 21.4 องศาเหนือ ลองจิจูด 114.9 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุ นี้เกือบไม่เคลื่อนที่ คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีนในช่วงวันที่ 8-9 ต.ค. 2566 และจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ โดยพายุไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย
อัพเดทสถานการณ์ พายุหมุนเขตร้อน ในทะเลจีนใต้ตอนบน พายไต้ฝุ่น 'โคอินุ' (KOINU) ยังไม่สลายตัวง่ายๆ มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกตามแนวชายฝั่งตอนใต้ของประเทศจีนในวันที่ 8-9 ต.ค. 2566 แต่เมื่อปะทะกับมวลอากาศเย็นจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ พายุ นี้จะไม่มีผลกระทบกับประเทศไทย แต่ฝนที่เกิดขึ้นมาจากร่องมรสุมและหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมในขณะนี้
ขณะที่ในมหาสมุทรแปซิฟิกมี พายุโซนร้อน 'บอละเวน' (BOLAVEN) ก่อตัวคาดว่าจะแรงขึ้นอีก แต่อยู่ห่างจากประเทศไทยมาก จึงไม่มีผลกระทบ ส่วนหย่อมความกดอากาศต่ำทางด้านตะวันออกของฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มจะเคล่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ ในช่วงวันที่ 12-15 ต.ค. 2566 แต่ก่อตัวในช่วงที่มี มวลอากาศเย็น แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนแล้ว จึงไม่มีผลกระทบกับประเทศไทย แต่ยังต้องติดตามเป็นระยะๆ (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้เงื่อนไขของปีที่เกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ซึ่งทำให้สภาวะฝนและพายุเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)
พายุ 'บอละเวน' (BOLAVEN) หมายถึงที่ราบสูลทางตอนใต้ของ สปป.ลาว ตั้งชื่อโดย สปป.ลาว เป็นพายุลูกที่ 15 จากการนับจำนวนพายุของ RSMC โตเกียว