ชีวิตดีสังคมดี

สรุปสาเหตุ 'แผ่นดินไหว' เกิดจากแขนง รอยเลื่อนเชียงตุง สาเหตุไทยรับแรงสั่น

สรุปสาเหตุ 'แผ่นดินไหว' เกิดจากแขนง รอยเลื่อนเชียงตุง สาเหตุไทยรับแรงสั่น

17 พ.ย. 2566

สรุปสาเหตุ 'แผ่นดินไหว' เกิดจากแขนง รอยเลื่อนเชียงตุง เผยสาเหตุภาคเหนือ อีสาน ได้รับแรงสั่นสะเทือนเพราะคลื่นพลังงานอยู่ลึกแค่ 5 กิโลเมตร เฝ้าระวังอาฟเตอร์ช็อกต่อเนื่อง 1-2 เดือน

จากเหตุการณ์ "แผ่นดินไหว"  ในช่วงเช้าบริเวณประเทศเมียนมา ส่งผลให้ประเทศไทยได้รับแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ตั้งแต่บริเวณภาคเหนือ ต่อเนื่องภาคอีสาน ส่งผลให้เกิดความเสียหายโดยเฉพาะในพื้นที่จ.เชียงราย ที่ได้รับผลกระทบมากกว่าจุดอื่นๆ เนื่องจากอยู่ใกล้กับจุดเกิด "แผ่นดินไหว" 

 

แผ่นดินไหว

 

 

นายประสาน สังวาลเดช ผู้อำนวยการกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา  กล่าวว่าให้สัมภาษณ์กับ คมชัดลึก ว่า กรมอุตุนิยมวิทยาได้รับรายงานเหตุ 'แผ่นดินไหวทางตะวันออกของเมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศเมียนมา  โดยจากการตรวจสอบพบว่า "แผ่นดินไหว" เกิดในเวลา 08.37 น. ที่ละติจูด 21.189 องศาเหนือ ลองจิจูด 99.344 องศาตะวันออกขนาด 6.4 ความลึกกิโลมตร ห่างจากจ.เชียงราย ประเทศไทยประมาณ 100 กิโลเมตร ทำให้ได้รับแจ้งรู้สึกสั่นไหวบริเวณ จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่ จ.แม่ฮ่องสอน จ.พะเยา จ.ลำปาง จ.ลำพูน จ.น่าน จ.อุดรธานี จ.ขอนแก่น  และกรุงเทพมหานคร ซึ่งการเกิดแผ่นดินในครั้งนี้มาจากการเคลื่อนตัวของ รอยเลื่อนเชียงตุง ซึ่งเป็นรอยเลื่อนในประเทศเมียนมาที่อยู่ใกล้กลับประเทศไทย

 

แผ่นดินไหว

นายประสาน อธิบายเพิ่มเติมว่า โดยกรมอุตุฯ ได้รับรายงานว่าหลังจากเกิด "แผ่นดินไหว" ไปแล้วพบว่ามีอาฟเตอร์ช็อกตามมากว่า 60 ครั้ง แต่เป็นการสั่นสะเทือนขนาด 3-4 ริกเตอร์เท่านั้น สำหรับสาเหตุที่การเกิด "แผ่นดินไหว" ในครั้งนี้ทำให้หลายพื้นที่ในประเทศไทยได้รับแรงสั่นสะเทือนกินบริเวณค่อนข้างกว้าง เนื่องจากความลึกของการคลื่นพลังงานอยู่ที่ 5 กิโลเมตรเท่านั้น จึงทำให้แรงสั่นสะเทือนเดินทางได้ค่อนข้างไกล เบื้องต้นคาดการณ์ว่าการเหตุการณ์ "แผ่นดินไหว" ในครั้งนี้จะทำให้เกิดอาฟเตอร์ช็อกต่อเนื่องๆ ราวๆ 1-2 เดือน แต่ไม่ได้มีพลังงานมากพอ ทั้งนี้กรมอุตุฯ จะต้องเฝ้าระวังตลอด 24 ชม. เพื่อติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามขณะนี้ได้รับรายงานความเสียหายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น 

 

แผ่นดินไหว

 

 

สำหรับเหตุการณ์ "แผ่นดินไหว" ในครั้งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากรอยเลื่อนในประเทศไทยโดยตรง แต่เกิดจากรอยแขนงของ รอยเลื่อนเชียงตุง ซึ่งเป็นรอยเลื่อนที่เกิดการสะสมพลังงานในประเทศเมียนมา

 

 

นายประสาน กล่าวต่อวา ประชาชนสามารถแจ้งเหตุ และติดตามเหตุการณ์ "แผ่นดินไหว" เว็บไชต์ www.earthquake.tmd.co.th และทางโทรศัพท์ ว่ารับรู้ถึงแรงสั่นไหวชัดเจนเบื้องต้นจากการตรวจสอบพบว่า เกิดจากกลุ่มรอยเลื่อน Keng tung ในประเทศเมียนมา มีการเลื่อนตัวแนวระนาบเหลื่อมขวา (Right lateral, Strike-Sip) โดยเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ขนาด 5.0 มีศูนย์กลางที่ประเทศเมียนมาในบริเวณใกล้เคียงกัน รู้สึกสั่นไหวที่ จ.เชียงใหม่จ.เชียงราย