ปัญหา 'PM2.5' รุกรานสุขภาพ ตัวแปรสำคัญทำให้หาสาเหตุของโรคได้ยากขึ้น
ปัญหา 'PM2.5'รุกรานถึงระบบสุขภาพ ฝุ่นพิษกลายเป็นตัวแปรสำคัญทำให้หาสาเหตุของโรคได้ลำบากมากขึ้น ซ้ำเจอผลกระทบต่อระบบสมองทำให้เสี่ยงเป็นซึมเศร้าได้ง่ายกว่าปกติ
ความเข้มข้นของ "PM2.5" ในอากาศมีผลอย่างชัดเจนต่อสุขภาพของผู้ที่สูดดมเข้าไป โดยองค์การอนามัยโลก (WHO)ระบุว่า ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีคุณภาพที่อากาศที่ปนเปื้อนมลพิษเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด ส่งผลให้ที่ผ่านมามีคนเสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศจำนวนมาก สอดคล้องกับข้อมูลจากกระทรวงสาธารณะสุขที่พบว่าสถานการณ์ฝุ่น "PM2.5" หมอกควัน ไฟป่า ที่ผ่านมาทำให้ประเทศไทยมีผู้ป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจที่เกี่ยวข้อกับมลพิษทางอากาศกว่า 1.7 ล้านราย โดยโรคที่พบมากที่สุด คือ กลุ่มโรคทางเดินหายใจ กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ และกลุ่มโรคตาอักเสบ
ด้านสถาบันวิจัยมะเร็ง IARC องค์การอนามัยโลก ยืนยันว่ามลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุการเกิดโรคมะเร็ง และ PM2.5 มีสารก่อมะเร็ง กลุ่มที่ 1 ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความอันตรายมากที่สุด และยังมีงานศึกษาที่ระบุว่า การรับหรือสัมผัส ฝุ่น PM2.5 ที่ระดับ 22 ไมโครกรัมต่อตารางเมตร เท่ากับสูบบุหรี่ 1 มวน นอกจากนี้ข้อมูลจากโรงพยาบาลมหาราช พบว่า ประชาชนในภาคเหนือป่วยเป็นมะเร็งปอดสูงกว่าภาคอื่น 3-4 เท่า
ข้อมูลข้างตนสอดคล้องกับข้อมูงจาก Dr.Richard A.Muller นักวิจัยชาวอเมริกันจากสถาบันวิจัยสภาพอากาศ Berkeley Earth แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ได้คำนวณเปรียบเทียบปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศหรือ PM2.5 กับการสูบบุหรี่ เอาไว้ว่า ค่าฝุ่น "PM2.5" จำนวน 22 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) เท่ากับการสูบบุหรี่ 1 มวน เท่ากับว่าหาก ฝุ่น PM2.5 ช่วงพีกอยู่ที่ 200 ไมโครกรัม/ ลบ.ม. เท่ากับว่าเราสูบบุหรี่ไปมากถึง 9 มวน แต่อย่างไรก็ตามการสูบบุหรี่ยังคงมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้มากที่สุด
สำหรับสถานการณ์ฝุ่น "PM2.5" ในช่วงฤดูแล้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น PM2.5 ที่มาจากการเผาป่า เผาพื้นที่ภาคเกษตร รวมทั้งปัญหาสภาพอากาศปิด ความแห้งแล้ง อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นในฤดูแล้งปีนี้คนไทยจึงไม่สามารถเลี่ยงมลพิษทางอากาศที่มีผลต่อสุขภาพได้อย่างแน่นอน
ดร.นพ.วิรุฬ ลิ้มสวาท หัวหน้ากลุ่มวิจัยสังคมและสุขภาพ สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หนึ่งในผู้ก่อตั้งเครือข่ายอากาศสะอาด ให้สัมภาษณ์กับ คมชัดลึก ถึงผลกระทบของ "PM2.5" ต่อสุขภาพของคนไทย ว่า ฝุ่นPM2.5 จัดว่าเป็นมลพิษทางอากาศอีกหนึ่งประเภทที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ เพราะ PM2.5 มีความสามารถในการดูดจับคาร์บอนไดอ็อกไซด์ในอากาศ ดังนั้นจึงสามารถดูดเอาสารพิษอื่นๆ ที่ปนเปื้อนในอากาศติดมาด้วย อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่าฝุ่น PM2.5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยในระยะสั้นจะแสดงออกทางผิวหนัง แสบตา และก่อให้เกิดการระคายเคืองตา กระตุ้นให้หายใจลำบากมากยิ่งขึ้น ส่วนผลกระทบระยะยาวนั้น PM2.5 ซึ่งมีขนาดเล็กมากสามารถเดินทางเข้าสู่ปอด และกระแสเลือดได้อย่างง่ายดาย ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายเกิดการอักเสบ และกระตุ้นให้เกิดโรคอื่นๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หลอดเลือกหัวใจ มีผลกระทบต่ออย่างเฉียบพลันต่อผู้ป่วยในกลุ่มโรคดังกล่าว และเป็นสาเหตุให้ทำเสียชีวิตโดยเฉียบพลันได้
นอกจากนี้เรายังพบงานวิจัยเพิ่มเติมด้วยว่าฝุ่น "PM2.5" สามารถเดินทางเข้าสู่สมองของเราได้และมีโอกาสทำให้สมอเกิดการอักเสบ และมีผลในการกระตุ้นให้เกิดภาวะโรคซึมเศร้าได้ง่ายมากขึ้น รวมไปถึงมีผลต่อกลไกการควบคุมน้ำตาลในร่างกายจะก่อให้เกิดโรคเบาหวานได้มากยิ่ขึ้งด้วยเช่นกัน
- "PM2.5" ทำให้การวินิจฉัยหาสาเหตุของโรคลำบากมากยิ่งขึ้น
ดร.นพ.วิรุฬ อธิบายเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาเราพบว่า "PM2.5" เป็นอีกหนึ่งตัวแปลที่มีผลต่อการก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อ หรือในบางครั้งก็อาจจะมีเชื้อโรคเช่น เชื้อวัณโรคปะปนมาด้วย นอกจากนี้ยังมีผลต่อระบบการรักษา ดูแล วินิจฉัยโรค และการหาสาเหตุของโรคก็จะทำได้อยากขึ้น เพราะการที่ผู้ป่วยเข้ามารักษาหนึ่งครั้งแพทย์จะต้องหาต้นตอของการเกิดโรคนั้นๆ ว่าเกิดจากอะไรซึ่งที่ผ่านมาเราสามารถหาสาเหตุของโรคได้จากปัจจัยสิ่งแวดล้อม คนรอบข้าง แต่ปัจจุบัน PM2.5 กลายมาเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่หมอจะต้องนำมาวินิฉัยร่วมด้วย โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นโรคปอด โรคหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ ดังนั้น PM2.5 จึงมีผลต่อการหาสาเหตุของโรคอย่างมีนัยสำคัญ
"PM2.5" นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพแล้วยังมีกระทบต่อเนื่องไปถึงงบประมาณในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยด้วย ดร.นพ.วิรุฬ กล่าวต่อว่า แน่นอนว่าแต่ละปีเราสูญเสียงบประมาณไปกับการดูแลผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น โดยในด้านเศรษฐศาสตร์สุขภาพมีการจ่ายค่าดูแลผู้ป่วยราวๆ 1 แสนล้านบาท/ปี นอกจากนี้ยังพบว่ามีค่าเสียโอกาสในการทำงาน เพราะป่วยจาก PM2.5 เพิ่มขึ้นด้วย แต่ถึงอย่างนั้นภาครัฐก็จะเป็นจะต้องมีระบบการดูแล ตรวจสุขภาพ ให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก PM2.5 โดยเฉพาะ ซึ่งปัจจุบันมีการตั้งคลีนิกฝุ่นขึ้นมาเพื่อดูแลประชาชน ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางที่ดี แต่จะให้ดีไปกว่านี้เราอยากเห็นคลินิกมีประชาชนมาใช้บริการมากขึ้น เพราะนั้นแสดงให้เห็นว่าประชาชนใส่ใจสุขภาพตัวเอง
อย่างไรก็ตาม ศ.นพ.วิรุฬ ยังคงมีข้อกังวลถึงสถานการ์ฝุ่นPM2.5 ในช่วงฤดูแล้งนี้ เนื่องจากแนวโน้มสถานการณ์ที่อาจจะรุนแรงมากขึ้นซึ่งอาจจะมีผลทำให้ประชาชนเจ็บป่วยจาก "PM2.5" เยอะกว่าที่ผ่านมา ดังนั้นสิ่งที่จะต้องทำคือการแจ้งเตือน และให้คำแนะนำด้านสุขภาพอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบางที่ควรจะได้รับข้อมูลการดูแลสุขภาพอย่างรวดเร็วและถูกวิธี นอกจากนี้ยังมีข้อกังวัลที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่าคือ ตนเกรงว่าคนจะชินชาว่า "PM2.5" ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดความประมาท ทำให้คนไม่ป้องกันตัวเอง จนเกิดผลกระทบต่อสุขภาพในที่สุด ข้อกังวลสุดท้ายคือความใส่ใจในการแก้ปัญหาอย่างจริงจังของรัฐบาล ที่จะต้องวางโครงสร้างเพื่อแก้ปัญหาทั้งระบบเพิ่มบทลงโทษทางกฎหมาย และสร้างกลไกทางเศรษฐกิจกับผู้ที่ก่อมลพิษให้มีส่วนในการรับผิดชอบกับกิจกรรมที่ก่อให้เกิด PM2.5