20 ปี 'กระเช้าขึ้นภูกระดึง' ปัดฝุ่นโครงการยักษ์ หลังในอดีตโดนค้านอย่างหนัก
20 ปีก่อสร้าง "กระเช้าขึ้นภูกระดึง" รัฐบาลเศรษฐาปัดฝุ่นโครงการยักษ์ ที่ในอดีตโดนคัดค้านอย่างหนัก จับตาออกแบบ ศึกษาผลกระทบ EIA ใช้งบมากกว่า 28 ล้านบาท
ปัดฝุ่นก่อสร้าง "กระเช้าขึ้นภูกระดึง" อีกรอบหลังจากที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ในจ.หนองบัวลำภูไปวานนี้ (3 พ.ย. 2566) ล่าสุด นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ก็เตรียมเสนอที่ประชุม ครม. เพื่อของบประมาณจำนวน 28 ล้านบาท สำหรับออกแบบ "กระเช้าขึ้นภูกระดึง" และประกอบการทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA โดยผลการศึกษา EIA จะต้องเสนอกลับไปที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เห็นชอบ EIA ก่อนส่งเรื่องกลับไปให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอเข้าครม.ต่อไป
สำหรับเส้นทางการก่อสร้าง "กระเช้าขึ้นภูกระดึง" เป็นโครงการที่แนวคิดเอาไว้ในปี 2547 สมัยที่นายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้เดินทางไปตรวจรราชการในพื้นที่จ.เลย ดังนั้นเลยมีคำสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาการสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึงแบบไม่ทำลายธรรมชาติ ไม่ตัดต้นไม่ อนุรักษ์สัตว์ป่า เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่ขึ้นกระเช้าไปสามารถมองเห็นสัตว์ป่าในมุมสูงได้
ในช่วงนั้นไม่ค่อยมีคนเห็นด้วยกับการก่อสร้าง "กระเช้าขึ้นภูกระดึง" มากหนัก เพราะนอกจากการก่อสร้างที่อาจจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อิาชีพลูกหาบ ซึ่งเป็นอาชีพดั่งเดิมของคนในย่านนั้นด้วย โดยเมื่อปี 2559 นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนในขณะนั้ ออกแถลงการณ์คัดค้านการก่อสร้าง กระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง หากสร้างจริงจะทำลายพื้นที่ป่าอนุรักษ์และแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อของชาติจนย่อยยับ เพราะอุทยานแห่งชาติภูกระดึงมีสภาพพื้นที่ป่าที่มีความหลากหลายทั้งป่าสนเขา ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง รวมถึงสัตว์ป่าอีกหลายชนิด นอกจากนี้ยังมีพ่อค้าแม่ค้าในย่านนั่นออกตัวคัดค้านโครงการสร้างกระเช้าภูกระดึง เพราะกลัวว่าจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้ประกอบการบนอุทยานหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องอนาคต อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการก็ต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น นี่คือความคิดเห็นจากคในพื้นที่เมื่อ 10 ปีก่อน
แต่ปัจจุบันทุกอย่างเปลี่ยนไปแม้แต่หอการค้าจ.เลยยังเคยให้ข้อมูลว่าต้องการให้ก่อสร้าง "กระเช้าขึ้นภูกระดึง" เพราจะได้กระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวภายในจังหวัด จากรายละเอียดแผนการก่อสร้าง "กระเช้าขึ้นภูกระดึง" มีการศึกษาความคุ้มค่ และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ตามแผนยุทธสาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเลยปี 2565-2570 โดยมีการกำหนดว่าภายในปี 2570 จ.เลยจะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 6.5% เติบโตเฉลี่ยรปีละ 15% คิดเป็นเงินประมาณ 35.5 ล้านบาท แน่นอนว่ากระเช้าขึ้นภูกระดึงจะกลายเป็นแม่เหล็กในการดึงดูดนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอีก
สำรวจออกแบบของบ 28 ล้านบาท ก่อนสร้างจริง
อย่างไรก็ตามการก่อสร้าง "กระเช้าขึ้นภูกะดึง" ไม่ใช่โครงการที่จะสามารถดำเนินการได้เลยทันที เพราะจะต้องมีการสำรวจออกแบบ ประกอบการทำ EIA เสียก่อน โดยรายละเอียดในการดำเนินการนั้นจะต้องมีการออกแบบก่อสร้าง"กระเช้าขึ้นภูกะดึง" เก็บรายละเอียดโครงการ และจัดทำข้อมูลแบบ One Scale เพื่อใช้ในการพิจารณาตามข้อกำหนดในการจัดทำรายงาน EIA ใช้งบประมาณ 28 ล้านบาท เพื่อดำเนินการจ้างสำรวจจ่ายเพื่อดำเนินการจ้างสำรวจออกแบบก่อสร้างโครงการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าภูกระดึง โดยครม. ระบุในเอกสารข้อมูล "กระเช้าขึ้นภูกระดึง" ว่า มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการและต้องใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันงบประมาณโดยเร็วเพื่อสำรวจออกแบบคู่ขนานไปกับการศึกษาและจัดทำรายละเอียดไป
ด้าน นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ให้สัมภาษณ์กับ คมชัดลึก ถึงโครงการก่อสร้าง "กระเช้าขึ้นภูกระดึง" ว่า กรมอุทยานฯ จะต้องพิจาณารายละเอียดข้อมูลเบื้องต้นก่อนว่า การก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าจะเป็นไปในรูปแบบใดการออกแบบมีความเหมาะสมกับพื้นที่หรือไม่เหมาะสม เพื่อหาแนวทางร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพราะกรมอุทยานฯ ไม่ได้เป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินการก่อสร้าง อย่างไรก็ตามที่ผ่านมามีการอนุญาตให้องค์การบริหารพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) เข้าไปสำรวจ ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สัตว์ป่าภายในอุทยานฯ ภูกระดึง ตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย.2566-ก.ย.2568 หรือประมาณอีก 2 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตามยืนยันว่าการเข้าพื้นที่ในครั้งนี้ ไม่ใช่การทำการศึกษาผลกระทบ EIA และกรมอุทยานฯยังไม่ได้อนุมัติการก่อสร้างแต่อย่างใด
สำหรับยอด ภูกระดึง ตั้งอยู่บนความสูง 1,288 เมตรจากระดับน้ำทะเล นักท่องเที่ยวต้องเดินเท้าขึ้นไปบนยอดเขาสูงในระยะทางประมาณ 7 กม.โดยได้เปิดฤดูกาลท่องเที่ยวตั้งแต่ 1 ต.ค.-31 พ.ค.ของทุกปี ซึ่งแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวมากกว่า 50,000-60,000 คนขึ้นกับสัมผัสธรรมชาติ